สวัสดีครับเพื่อนๆ พอดีว่าช่วงนี้ผมได้ลอง Research เกี่ยวกับสตาร์ทอัพเล่นๆ เพราะ อยู่ดีๆก็สงสัยขึ้นมาว่า เอ้ะ! ในช่วง Covid มันจะมี Startup หาโอกาสโตในช่วงนี้รึเปล่า ซึ่งก็ไม่ผิดคาดครับ ในปี 2021 ที่เพิ่งผ่านไปแค่ครึ่งปี ผลปรากฎว่ามี Startup ที่โตไปถึง Unicorn 242 ธุรกิจ โตมากกว่าเดิมจากของปีที่แล้วที่นับทั้งปีเป็นเท่าตัว!! แถมที่น่าตกใจ คือ ตัวเลขที่กลายมาเป็น Unicorn เยอะๆ หลายคน คงคิดว่าเป็น Health Tech ที่ได้รับผลมาจากวิกฤติโควิด แต่ไม่ใช่เลยครับ แชมป์ยูนิคอนปี 2021 นี้ คือ Fintech ครับ!! เป็นสถิติที่น่าสนใจมากไหมครับ ใครที่อยากตามติดข้อมูลต่อ ไปรับชมเพิ่มเติมได้เลย 🚀🚀
“Fintech เทคโนโลยีที่แซงหน้าทุกกลุ่มธุรกิจในยุคโควิด”
เพื่อนๆรู้จักคำว่า Unicorn กันไหมครับ? มันเป็นศัพท์ทางธุรกิจที่ใครอยู่ในวงการ Startup ผมเชื่อว่าต้องรู้จักมันอย่างแน่นอน
Unicorn คือ Startup ที่มีมูลค่าบริษัท $ 1 พันล้าน ขึ้นไป (ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) โดยในวงการ ส่วนใหญ่ Startup ใดที่เป็น Unicorn แล้ว ก็จะได้รับการยอมรับว่าเป็น Startup ที่ประสบความสำเร็จ
จะเห็นได้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีจำนวน Unicorn เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนในปัจจุบันมี Startup เพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปี ถึง 739 ตัว ซึ่งการเติบโตนี้ถามว่ามาจากไหน ความจริงก็คือมันมากจากการที่คนทั่วโลกเริ่มมีอัตราการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมากนั้นเอง โดยสิ่งนี้ก็เป็นความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้ และยิ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่าน ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่โควิดเริ่มระบาด มันก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องหันมาพึ่งการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีก
ด้วยสิ่งนี้ ทำให้ ยุคโควิด เป็นปีทองของการเติบโตของเหล่า Startup โดย Startup ใดที่สามารถคว้าโอกาสได้เร็ว ก็จะได้กลายเป็น Unicorn อย่างไม่รู้ตัว
จากกราฟก็จะเห็นชัดว่าได้ ตัวเลขการเป็น Unicorn ในปีล่าสุด 2021 โตมากกว่า 2 เท่า ที่ตัวเลข 242 ทิ้งห่างจาก 3 ปีก่อนอย่างเทียบไม่ติด ซึ่งอันนี้ต้องย้ำว่าเป็นตัวเลขเพียงแค่ครึ่งปีเท่านั้นนะครับ โดยถ้าเราคิดถึงปลายปี แบบใช้หลักคณิตศาสตร์อัตราการเติบโตเท่าเดิม ในปี 2021 เราอาจจะได้พบ Unicorn ที่เกิดใหม่ในปี 2021 เกือบถึง 500 ตัว เลยทีเดียว
ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า Covid มันเริ่มตั้งแต่ปี 2020 นิ แล้วทำไมตัวเลข ในปี 2020 มันถึงแทบไม่ต่างกับกับปี 2019 ก็อย่าลืมนะครับว่า Unicorn มันคือบริษัทที่มูลค่ามากกว่า $1 พันล้าน ซึ่งตัวเลขนี้มาจากไหน มันมาจากเงินที่นักลงทุนไปลงทุนใน Startup เพิ่มเติม ในมูลค่าบริษัทสูงกว่า $1 พันล้าน ดังนั้นในช่วงวิกฤต Covid ปี 2020 ช่วงเริ่มต้น ที่อะไรก็ดูแย่ นักลงทุนที่กล้ามาลงทุนใน Startup ก็จะน้อยกว่าช่วงสถานการณ์ปกติแน่นอน
พอถึงปี 2021 ที่ความมั่นใจนักลงทุนกลับมาจากสถานการณ์ Covid ที่ดีขึ้น พร้อมทั้ง Startup ที่ควรได้กลายเป็น Unicorn จากที่สามารถคว้าโอกาสทำธุรกิจในวิกฤตโควิดได้ มันอัดอั้นมาทั้งปี 2020 รวมถึงการที่คนเริ่มคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีในยุคโควิดมากขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ตัวเลขในครึ่งปี 2021 แรก จะเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยในไทยปี 2021 ก็มี Unicorn ตัวแรกด้วยครับ ซึ่งถ้าใครติดตามหน่อยก็จะรู้ว่าคือ Flash Express ธุรกิจบริการด้าน Logistic ของ คุณคมสันต์ แซ่ลี นั่นเอง
พอมาดูลงลึกถึงกลุ่มธุรกิจต่อไป ในยุค Covid หลายคนคงเดาว่า Health Tech น่าจะเป็นกลุ่มที่เป็น Unicorn มากสุดครับ แต่ไม่เลยครับกลับกลายเป็นว่าเป็นกลุ่ม Fintech หรือที่เราเรียกเป็นไทยว่ากลุ่มเทคโนโลยีการเงิน
รองลงมาจากกลุ่ม Fintech ก็จะเป็นกลุ่ม Internet Software & Services หรือกลุ่มบริการ ซึ่งตัวเลขนี้ก็จะพบว่าไม่ค่อยต่างจากกลุ่ม Fintech เท่าไร โดยก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าตัวเลขจะสูง เพราะ กลุ่มบริการเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างกว้าง เทคโนโลยีอะไรที่สามารถแก้ปัญหา Covid และไม่สามารถจำแนกหมวดหมู่ได้ ส่วนใหญ่ก็จะมากองอยู่กลุ่มนี้ครับ
ต่อมาเป็นกลุ่ม Heath ที่มาเป็นอันดับ 3 ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า ตลาดยัง Mass ไม่พอ เลยแพ้ธุรกิจ 2 กลุ่มแรกไป
สุดท้ายนี้เรามาดูลงลึกถึงกลุ่ม Fintech กันดีกว่าว่าทำ Fintech อะไรในช่วงนี้เขาถึงประสบความสำเร็จกัน ซึ่งพบว่าอันดับ 1 มาในกลุ่ม Cryptocurrency & Blockchain และ Insurance ครับ และตามมาด้วยกลุ่ม Payment และกลุ่ม SME Financial Service ซึ่งหลายคนอาจจะมึนเล็กน้อยว่าแต่ละกลุ่มทำอะไรบ้าง โอเครครับ งั้นเดี๋ยวผมขอยกตัวอย่างธุรกิจแต่ละกลุ่มให้เห็นภาพสั้นๆครับ
- Cryptocurrency & Blockchain : ส่วนใหญ่ก็จะเป็น Crypto Trading Platform คล้ายๆ Bitkub ของไทย และก็จะมีกลุ่ม Defi ที่ปะปนมาเล็กน้อย
- Insurance : มีบริษัทประกันทุกประกันเลยครับ ทั้งประกันสุขภาพ, ประกันสัตว์, ประกันภัย และประกันชีวิต ปนๆกันไป
- Payments : ตามชื่อเลยครับ คนหันมาใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้น ทำให้กลุ่มนี้บูม
- SME Financial Software : กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ขาย Software ให้ใช้ร้านค้า ทั้งในเรื่อง Subscribe, ระบบ Bill Payment, ระบบบัญชี และอื่นๆ
- Retail Investment : กลุ่มแอปเทรดหุ้น, กองทุน และสินทรัพย์ต่างๆ
- Banking Software & Infrastructure : กลุ่มที่ทำระบบให้ธนาคาร
- Digital Banking : ธุรกิจที่ทำตัวเป็นธนาคารออนไลน์เต็มตัว แบบไม่มีสาขา
- Asset Management : กลุ่มธุรกิจที่ทำการจัดการการลงทุนให้องค์กร หรือพวก Wealth Management
- Personal Finance : กลุ่มวางแผนทางการเงิน และจัดการบัตรเครดิต สำหรับระดับลูกค้าบุคคล
- POS & Consumer Lending : กลุ่มไฟแนนซ์ให้ร้านค้าออนไลน์ ทำให้คนสามารถ ซื้อของออนไลน์แบบตัวเปล่า แล้วมาจ่ายทีหลังได้
- Other : พวกกลุ่ม Equity Finance บ้าน, Financial Product Comparison และอื่นๆ
ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจที่กลุ่ม Lending หรือที่เราเรียกว่า ปล่อยกู้ นั้นไม่มี Unicorn ในปีนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นแบบ P2P หรือแบบธรรมดา แม้แต่แบบ Alternative Lending (การกู้ทางเลือกใหม่) ก็มีค่อนข้างน้อยนิด ที่มีเพียงกลุ่ม POS 2 ตัว และ Equity Finance บ้าน 1 ตัวเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเทรนด์ปีนี้ถูก Defi จากเทคโนโลยี Blockchain แย่งเอาไปหมดแล้ว หรืออาจเป็นกลุ่มที่ถูกมองข้าม ก็ต้องดูอนาคตหลัง Covid ต่อไปว่า เทรนด์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไหม หรือจะเป็น New Normal แบบนี้กาลยาวนานไป
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถลองไปดูได้ใน Dataset ด้านล่างนี้ได้ครับ โดยตัวข้อมูลก็จะลงลึกไปถึงระดับชื่อบริษัทเลย ซึ่งหลักๆผมก็เอามาจาก CB Insight ประกอบกับข้อมูล Source อื่นเล็กน้อยครับ
Dataset
สรุปส่งท้าย
เป็นอย่างไรบ้างครับกับเทรนด์ Startup ในปีนี้ ผมบอกได้เลยว่าใครที่ตั้งใจที่จะก้าวเป็น Unicorn ตอนนี้ก็ยังไม่สายเกินไปนะครับ ไม่ว่าจะเป็น Startup กลุ่มไหนๆ ไม่จำเป็นต้องเป็น Fintech ขอให้สามารถคว้าโอกาสทำธุรกิจในช่วงโควิดได้ ก็สามารถประสบความเร็จได้แล้วครับ ไม่เว้นในบ้านเรา ที่เราก็เห็น Use Case แล้วว่าที่ผ่านมาหลายปียังไงก็ไม่มี Unicorn แต่พอโควิดมาที Unicorn ไทยตัวแรกก็โผล่มาเลยครับ ก็ไม่แน่นะครับในไทยปีนี้ก็อาจมี Unicorn เพิ่มอีกก็ได้ ก็มาดูกันต่อไปครับว่า Unicorn รายต่อไปของไทยเราจะเป็น Fintech หรืออะไร ซึ่งด้วยกฎหมายของบ้านเราก็อาจเป็นอุปสรรคหน่อย แต่ก็ต้องมุ่งต่อไปครับ ถ้าไม่รีบโตตอนนี้ ก็ไม่รู้โตตอนไหนแล้ว มีโอกาสทองมา ต้องรีบคว้าครับ
สุดท้ายนี้สำหรับใครที่อยากให้ผมได้แชร์บทความดีๆเหล่านี้ต่อไป ก็อย่าลืมกด Follow ผมกันนะฮะ วันนี้ผมก็ขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ😄😄
(P.S. สำหรับใครที่สนใจ กลุ่ม Alternative Lending เทรนด์ที่ถูกมองข้าม แล้วอยากหาไอเดียทำธุรกิจกลุ่มนี้ สามารถลองไปติดตามอ่านในบทความที่ผมเคยเขียนได้ฮะ)
EP 47: ส่อง Fintech กลุ่ม Alternative Lending | by Nut P | Medium