กลุ่ม Alternative Lending หรือแปลเป็นไทยว่า กลุ่มการให้ยืมเงินทางเลือกใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ Fintech ในต่างประเทศหลายตัวได้โตกลายเป็นยูนิคอน ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ค่อยมี Fintech ที่ทำแนวนี้ โดยรูปข้างล่างเป็น Ecosystem ของ Fintech ไทยเมื่อประมาณ 3 ปีก่อน จะเห็นได้ว่าแทบจะไม่มีสตาร์ทอัพไทยที่ทำกลุ่มนี้เลย
พอผ่านมาถึงปัจจุบัน จำนวนสตาร์ทอัพไทยที่ทำกลุ่มนี้ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมามากนัก โดยจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนสัมผัส ผู้เขียนคิดว่ามันเกิดจากที่กฏหมายไทยยังไม่ค่อยเอื้อต่อต่อการสร้างผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ๆของรายย่อยสักเท่าไร ซึ่งมันก็คืออุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการทำธุรกิจ Fintech นั่นแหละครับ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ยังดีที่มีสมาคม Thai Fintech ที่ช่วยค่อยผลักดันเหล่าสตาร์ทอัพ Fintech ไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสนอการเปลี่ยนกฏหมาย การเข้า Regulatory Sandbox และอื่นๆ แต่ก็ต้องทำใจว่าเรื่องพวกนี้ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง
แน่นอนว่าใครที่มาสายนี้ แล้วผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปได้ รับรองว่าไปได้ใกล ซึ่งตัวโมเดลธุรกิจ Fintech กลุ่ม Alternative Lending มีหลายตัวที่น่าสนใจมาก ถ้าใครสนใจก็ไปติตตามอ่านต่อกันได้เลย
“กลุ่ม Fintech ที่ถ้าทำได้ โตไปถึงสุดขอบฟ้าแน่นอน”
1) Point-of-sale
“ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” วิธีการจ่ายเงินแบบใหม่ที่มีจะมา Disrupt บัตรเครดิต โดยใน ตปท. มีสตาร์ทอัพในกลุ่มนี้หลายตัวที่เป็นยูนิคอน ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจของวิธีการจ่ายเงินใหม่นี้ คือ คนที่ไม่มีบัตรเครดิตก็สามารถซื้อของแบบไม่มีเงินก่อนได้ หรือกรณีการยกเลิกซื้อสินค้า ลูกค้าก็ไม่ต้องไปทำเรื่องขอเงินคืนแบบบัตรเครดิตเลย
คอนเซปต์ของโมเดล คือ ธุรกิจทำตัวเหมือนบริษัท Finance ออกเงินให้ลูกค้าซื้อสินค้าไปก่อน แล้วเก็บ % จากร้านค้าเอา ถ้าลูกค้าไม่มาจ่ายตามเวลาที่กำหนดก็โดนหัก % แบบบัตรเครดิตไป หรือจะผ่อนต่อไปก็ได้ตามเงื่อนไขตกลง ถือว่า Win Win ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งฝั่งลูกค้าเองที่สามารถซื้อของได้แบบไม่ต้องกั๊ก และฝั่งร้านค้าก็ขายสินค้าได้ง่ายขึ้นด้วย
ธุรกิจนี้ก็กระจายไปในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบริการ, ท่องเที่ยว แต่ตัวที่ไปได้ใกลที่สุดก็จะอยู่ในกลุ่ม eCommerce ซึ่งในประเทศไทยก็เริ่มมีทำบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น Shoppee ที่เริ่มการปล่อยผ่อนให้วงเงินเอง โดยตัวอย่างสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ
Klanar
เป็น Finance จ่ายให้ร้านขายสินค้าออนไลน์ก่อน 14 วัน แล้วเก็บเงินจากร้านที่ลงทะเบียน
Uplift
จองเที่ยวก่อน จ่ายทีหลัง รับผ่อนค่าเที่ยว
2) Personal Loans
กลุ่มเงินกู้ส่วนบุคคล ตัวที่น่าสนใจที่สุดและทำให้สตาร์ทอัพหลายตัวเป็นยูนิคอนกันระนาว คือ การปล่อยเงินกู้แบบ P2P (Peer to Peer) หรือที่เราเรียกกันว่าการปล่อยกู้ระหว่างคนกันเองโดยไม่ผ่านสถาบันทางการเงิน ซึ่งที่ไทยก็มีสตาร์ทอัพหลายตัวที่อยากทำมานานแล้ว แต่ที่น่าเสียดายกฏหมายยังไม่ผ่าน ทำให้ไม่มีใครทำไรได้ แต่ก็ยังดีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้กฏหมายไทยก็เริ่มอะลุ่มอล่วยให้เริ่มทำ P2P ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังไม่ 100% ทำให้ปัจจุบันนี้ P2P ในไทยนี้จึงยังไม่บูม
นอกจากนี้กลุ่มนี้ตัวที่น่าสนใจอีกตัวก็มีพวกธุรกิจเป็นโบรกเกอร์ตัวกลางขายเงินกู้สถาบันการเงิน ซึ่งในไทยก็มีแพลตฟอร์มคล้ายแบบนี้ที่เป็นการเปรียบเทียบเงินกู้ เช่น Rabbit Finance, Masii
Prosper
ปล่อยกู้แบบ P2P
Smava
โบรกเกอร์เงินกู้
Neyber
ปล่อยกู้แบบหักจากเงินเดือน ทำให้เครดิตดีกว่ากู้แบบปกติ
3) Automotive
สำหรับตลาดกลุ่มรถก็เป็นอะไรที่น่าสนใจมากเหมือนกัน ยิ่งในเมืองไทยที่เป็นประเทศที่รถติดระดับท๊อปๆลองโลกก็คงรู้ว่าธุรกิจรถบูมขนาดไหน มีทั้งบริษัทรับเช่าซื้อรถเองและรับไฟแนนซ์บินกันว่อน ทั้งยังมีธุรกิจเช่ารถอีก โดยในในบริษัทรุ่นเก๋าๆที่อยู่ในกลุ่มนี้หลายบริษัทก็เริ่มก้าวมาออนไลน์กันแล้ว โดยถ้าเป็นในของของ ตปท สตาร์ทอัพที่น่าสนใจก็จะเป็นตัวที่เป็นตัวกลางหาไฟแนนซ์รถให้ Dealer และการปล่อยเช่ารถออนไลน์แบบเต็มรูปแบบที่เขาว่ากันว่า คนในอนาคตจะมีแนวโน้มซื้อรถเป็นของตัวเองลดลง แล้วมาหันมาเปลี่ยนเป็นเช่ารถระยะสั้นๆหลายๆคันแทน
AutoFi
แพลตฟอร์มเชื่อม Dealer กับบริษัทไฟแนนซ์รถ
Fair
แพลตฟอร์มเช่ารถมือ 2 ครบจบแบบออนไลน์
4) Trade Finance
อีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจที่สตาร์ทอัพต่างประเทศหลายตัวกำลังฮอต แต่ในประเทศไทยยังไม่เห็นสตาร์ทอัพที่ทำอะไรในกลุ่มนี้ออกมาอย่างชัดเจนสักเท่าไร โดยกลุ่ม Trade Finance คือ กลุ่มธุรกิจที่ทำการนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมันจะมีเรื่องพวกสัญญา, วิธิการจ่ายเงิน, ออก Invoice, LOC อะไรมากมาย โดยสตาร์ทอัพกลุ่มที่สำเร็จคือกลุ่มที่มาแก้ปัญหาความยุ่งยากนี่แหละ ยิ่งประเทศไทยก็รู้กันอยู่ว่าเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกนำเข้าเยอะ ดังนั้นจึงเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก ซึ่งตอนนี้เทคโนโลยีที่น่าสนใจในกลุ่มนี้คือการใช้ Blockchain
TradeIX
แพลตฟอร์ม Trade Finance ที่ใช้ Blockchain
Tradeshift
แพลตฟอร์ม Trade Finance ครบวงจร
5) Student
อีกกลุ่มหนึ่งกลุ่มที่น่าสนใจ แต่ในประเทศไทยไม่บูม เพราะ ประเทศไทยมีระบบเงินกู้ กยศ. ที่เป็นเงินกู้การศึกษาที่ดีที่สุดในโลกแล้ว แตกต่างจากต่างประเทศที่เขาจะไม่ได้หรือมีทุนอะไรให้ขนาดนี้ โดยสตาร์ทอัพที่ทำกลุ่มนี้ก็จะเป็นการปล่อยเงินกู้ให้เด็กนักเรียนที่ยังไม่มีรายได้และบัตรเครดิตเพื่อนำเอาไปจ่ายค่าเทอม หรือใช้จ่ายส่วนตัวก็ว่ากันไป โดยสิ่งที่ใช้ตรวจสอบเครดิตเด็กนักเรียน เช่น พวกเกรดการเรียน, สถานที่เรียน หมายความว่ายิ่งเด็กเรียนเก่ง และอยู่สถาบันศึกษาชื่อดังมากเท่าไร ก็จะยิ่งได้วงเงินกู้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยบางที่ก็อาจมีเช็คเครดิตถึงฐานะการเงินของผู้ปกครองด้วยนะ
SoFi
สตาร์ทอัพปล่อยเงินกู้นักเรียน
CommonBond
สตาร์ทอัพปล่อยเงินกู้นักเรียน
6) Real Estate
ตลาดยอดฮิตการกู้ถ้าพูดถึงรถแล้ว เราก็คงลืมการกู้บ้านไม่ได้ แล้วธุรกิจอะไรที่มา Disrupt การกู้ซื้อบ้านแบบเก่าละ นั่นก็คือธุรกิจการปล่อยบ้านแบบ Home Equity หมายความยังไง หมายความตอนช่วงต้นตอนซื้อบ้าน ธุรกิจจะช่วยออกเงินค่าบ้านไปให้ส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้มาของหุ้นบ้าน พอในอนาคตมูลค่าบ้านเพิ่มขึ้น คนที่ซื้อบ้านขายบ้านทิ้ง คนที่ลงทุนก็ได้กำไรจากส่วนต่างมูลค่าไป
แล้วทำไมเรายังไม่เห็นโมเดลการซื้อบ้านแบบ Home Equity นี้ที่ไทยละ? เหตุผลนั่น เพราะ วัฒนธรรมการการซื้อบ้านของเราไม่เหมือนต่างประเทศนะสิ เพราะ ส่วนมากเราอยู่บ้านหลังหนึ่งกันยาว พอเสียชีวิตก็ส่งต่อให้ลูกหลาน ต่างจากต่างประเทศที่มีเรื่องทั้งกฏหมายภาษีมรดก และก็เรื่องการแยกกันอยู่ของครอบครัว ที่พอลูกโตก็จากบ้านดังนั้นพ่อแม่ที่อยู่ช่วงบั้นปลายชีวิตสุดท้ายก็จะขายบ้านออกเป็นเงินสดทิ้งกันหมด
นอกจากนี้ก็มีสตาร์อัพอีกตัวที่น่าสนใจที่ทำเรื่องช่วยในการหาเงินด่วนจากบ้าน โดยใช้คอนเซปต์ขายบ้านให้ แล้วให้เช่าอยู่ต่อ มีเงินเมื่อไร ค่อยมาซื้อบ้านคืน ข้อดี คือ เงินที่ได้คือเงินที่มากกว่าการจำนอง รวมถึงกรณีที่ย้ายบ้านสร้างบ้านใหม่ ก็สามารถใช้บริการนี้เพื่อได้เงินไปสร้างบ้านทันที พร้อมทั้งเช่าอยู่ที่เดิมระหว่างสร้างบ้านใหม่ได้เลย
Hometap
หาคนมาหุ้นช่วยซื้อบ้าน ตอนขายบ้านค่อยจ่ายเงินคืน
EasyKnock
ขายบ้านเอาเงิน แล้วให้เช่าอยู่ต่อได้ไปถึง 5 ปี แล้วซื้อคืนเมื่อไรก็ได้ในช่วงนั้น
7) SMB (SME บ้านเรา)
กลุ่ม Fintech ที่โฟกัสไปในกลุ่มการให้แหล่งเงินทุนในธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งมีสตาร์ทอัพหลายๆตัวที่ประสบความจากสำเร็จจากสายนี้เหมือนกัน เพราะ เป็นสายที่ตลาดค่อนข้างใหญ่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปล่อยกู้ให้สินเชื่อทางธุรกิจ, การทำ Factoring, การลงทุนเข้าซื้อหุ้นธุรกิจ และอื่นๆ โดยตัวอย่างสตาร์ทอัพ เช่น
Fundbox
ปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจ
CircleUp
สตาร์ทอัพที่ไปลงทุนหรือปล่อยกู้ให้กับธุรกิจระยะเริ่มต้น
8) Alternative Credit Score
กลุ่ม Credit Score ประเมินความสามารถในการกู้ทางเลือกใหม่ ด้วยการใช้ AI และ Big Analytic ซึ่งข้อดี คือ สามารถนำมาใช้ประเมินความสามารถในการกู้ของคนมี Credit Score ดั้งเดิมที่มีระดับต่ำได้ อย่างพวกคนไม่มีรายได้ประจำ เช่น คนทำงานฟรีแลนซ์, คนทำธุรกิจส่วนตัว ให้มีโอกาสได้กู้ ซึ่งที่แท้จริงแล้วพวกเขาอาจมีเครดิตดีกว่าพนักงานประจำ แค่วิธีดั้งเดิมมันมีช่องโหว่สำหรับคนกลุ่มเหล่านี้
แต่การประเมิน Credit Score ที่ต้องใช้ AI มันก็เหมือนไก่กับไข่ ที่การประเมินนั้นมันต้องมีการรุกล้ำ Data ส่วนตัวค่อนข้างเยอะ ดังนั้นประเทศที่ห่วงเรื่อง Data Privacy จะใช้วิธีการประเมินนี้ไม่ค่อยได้ โดยก็มีสตาร์ทอัพที่เห็นปัญหานี้และคิดตรงกันข้าม ซึ่งก็ได้ทำระบบ Credit Scoring ที่ใช้ Blockchain มาช่วยเรื่องป้องกัน Data Privacy ที่ไม่เกี่ยวข้องแทน
WeLab
บริษัททำ Credit Scoring จากข้อมูลพฤิกรรมการใช้งานบนสมาร์ทโฟน
Bloom
แพลตฟอร์มการใช้ Blockchain ทำตัวตนทางดิจิทัล ในการสร้าง Credit Score เพื่อป้องกันเรื่อง Data Privacy
9) Credit Health
กลุ่มสตาร์ทอัพที่มาช่วยคนที่มีเครดิตไม่ดี ซึ่งแน่นอนตลาดนี้ใหญ่มาก ถ้าในประเทศไทยถ้าเราอยากเช็ค Credit Score หรือถ้าง่ายๆภาษาบ้านเราเรียกว่า เช็คเครดิตบูโร ต้องทำอย่างไร? ปกติมันก็จะมีสถานที่ให้ตรวจ ซึ่งปัจจุบันดีหน่อยที่ธนาคารไทยบางที่ก็ทำให้เช็คบูโรออนไลน์ได้แล้ว โดยเสียค่าธรรมเนียมการตรวจเล็กน้อย ซึ่งในต่างประเทศ ก็มีคนเห็นการขอ Credit Score ที่ยุ่งยากในลักษณะนี้ ก็เลยทำบริการตรวจ Credit Score เอง พร้อมขายบัตรเครดิตหรือเงินกู้ที่เหมาะกับ Credit Score ที่ตรวจนั้นเลย
คนเครดิตไม่ดี อาจไม่ได้หมายถึงคนที่ติดบูโรอย่างเดียว แต่อาจรวมไปถึงคนต่างประเทศที่ไม่มีประวัติบูโรอะไรทั้งนั้น พอจะไปอยู่ประเทศอื่นยาวๆ ก็กู้อะไรไม่ได้ ก็มีสตาร์ทอัพที่ช่วยแก้ปัญหานี้ด้วยการเปลี่ยน Credit Score บ้านเกิดไปประเทศใหม่ที่อยู่อีกด้วย
และสำหรับคนที่เครดิตไม่ดีก็มีสตาร์ทอัพที่ช่วยสร้างประวัติการกู้ให้ใหม่ ด้วยการปล่อยกู้เงินให้จ่ายคืนแบบระยะสั้นๆให้สร้างประวัติให้ ซึ่งนับได้ว่ากลุ่ม Credit Health นี่ค่อนข้างกว้าง และในประเทศไทยก็ยังมีช่องว่างให้เข้าอีกเยอะ
Credit Karma
เช็ค Credit Scoring ตัวเอง พร้อมกู้เงินหรือหาบัตรเครดิตที่เหมาะกับตัวเองได้เลย
Nova
บริษัททำ Credit Scoring ให้คนต่างประเทศมากู้เงินได้
Self
บริษัทเอาเงินให้กู้โดยไม่ต้องมีเครดิต เพื่อให้คนกู้สร้างประวัติการกู้ให้ดีใหม่
10) Cryptocurrency
ไม่ต้องพูดอะไรมากกับเทรน Bitcoin ที่คนไทยกำลังเทรดอย่างเมามัน ซึ่งถ้าในไทยแพลตฟอร์มการเทรด Cryptocurrency ก็จะมี Bitkub สุดฮอต ส่วนสตาร์ทอัพไทยที่ออกเหรียญ ICO เองก็มี เช่น Carbonium, J Fin Coin แต่เอาจริงๆพวกนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวกับกลุ่ม Alternative Lending เลย เพราะยังไปไม่ถึงขั้นนั้น หมายความว่าอะไร หมายความว่าตลาดไทยยังมีช่องว่างเปิดกว้างให้เล่นอีกมากเมื่อไรที่กฏหมายผ่าน
แล้วในต่างประเทศเล่นเรื่องกู้อะไรในตลาด Cryptocurrency? ก็เล่นท่าปล่อยกู้ใช้ Cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันนะสิ ซึ่งข้อดีคือด้วยการที่ยังไง Cryptocurrency มันก็ใช้ Blockchain จึงเป็นอะไรที่ Secure มาก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การใช้ Cryptocurrency ก็มีข้อกังหาในการใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเยอะค่อนข้างเยอะ เพราะ ด้วยราคาที่แกว่งแบบสุดๆ ซึ่งยังดีหน่อยที่ปัจจุบันมีพวก Stable Coin ที่ราคาค่อนข้างนิ่ง ก็เป็นสายที่มีโอกาสไปได้ใกล แต่ก็ต้องทำใจว่าจะต้องเจอการต่อสู้ที่ดุเดือดระหว่างทางมากมายแน่นอน
Salt Lending
ปล่อยกู้ P2P โดยใช้ Crytocurrency ในแพลตฟอร์มเป็นสิ้นทรัพย์ค้ำประกัน
BlockFi
ปล่อยกู้ โดยใช้ Crytocurrency เป็นสิ้นทรัพย์ค้ำประกัน และมีบริการรูด Credit Card แล้วได้ Crytocurrency เป็น Cash Back
11) Payday Alternatives
ขอเงินก่อน ก่อนเงินเดือนออก ช่องทางได้เงินด่วนทางเลือกใหม่ อีกกลุ่มที่น่าสนใจมาก แต่ก็ยังไม่เห็นในไทย หรือผู้เขียนไม่เคยเห็นเองก็ไม่รู้ ซึ่งถ้าให้เดาน่าจะเป็นเพราะเรื่องกฏหมาย โดยตัวสตาร์ทอัพในต่างประเทศที่สำเร็จในสายนี้ก็จะมีแนวทำตั้งแต่แนวการให้เงินก่อนวันเงินเดือนออก ซึ่งก็จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมบางส่วน หรือจะเป็นคล้ายๆแอปกระเป๋าตังฉุกเฉิน ที่เงินใกล้หมดเมื่อไร ก็จะมีเงินโอนเข้ามาช่วยสมทบให้ พอเงินออกจริงเขาเอาไปตัด ซึ่งแน่นอนในไทยก็มีกลุ่มมีคนที่ทำงานวันชนวัน มีปัญญาการเงินแบบนี้แน่นอน
PayActive
ได้เงินก่อน ก่อนเงินออกสำหรับคนงาน มีค่าธรรมเนียม $5 ต่อครั้ง
Brigit
แอปจัดการการเงินที่เชื่อมบัญชีกับธนาคาร โดยถ้าระบบตรวจเจอว่าเงินในบัญชีจะหมดเมื่อไร ก็จะโอนเงิน $250 ฉุกเฉินไปให้ แล้วนำมาหักคืนวันเงินออกทีหลัง โดยมีค่าลงทะเบียนบริการรายเดือน $9.99
12) Credit Cards
สำหรับกลุ่มบัตรเครดิต ก็เป็นอีกกลุ่มที่มี Solution ออกเป็นผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตใหม่เฉพาะทางมากมาย อาทิเช่น บัตรเครดิตสำหรับทำธุรกิจ, บัตรเครดิตสำหรับนักเรียนต่างชาติ, บัตรเดบิตที่ได้ Cash back เหมือนบัตรเครดิต หรือจะแพลตฟอร์มที่ช่วยให้รูดจ่ายบัตรเครดิตในสิ่งที่จ่ายไม่ได้ก็น่าสนใจ ซึ่งกลุ่มบัตรเครดิตนี้เป็นกลุ่มตลาดที่ค่อนข้างเปิดกว้าง และน่าสนใจมากไม่น้อย
Blex
บัตรเครดิตสำหรับคนทำธุรกิจช่วงเริ่มต้น พร้อมพ่วงด้วยระบบจัดการเรื่องเงิน
Plastiq
แพลตฟอร์มที่ช่วยให้ใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายในสิ่งที่รูดจ่ายไม่ได้ เช่น ค่างวดบ้าน, ค่าเทอม โดยใช้โมเดลแบบหักค่าธรรมเนียม 2.85% ซึ่งถ้าใครไม่อยากเสีย คนจ่ายสามารถทำการหาเพื่อนด้วยการส่ง Referral Link ให้มาสมัครใช้แพลตฟอร์มนี้แทน
Zero
บัตรเดบิตที่รูดแล้วได้ Cash back, ได้แต้ม เหมือนบัตรเครดิต
13) Loan Servicing/Collection
กลุ่มติดตามหนี้ที่เหมือนเป็นกลุ่มตลาดเงียบๆแต่เอาจริงเป็นตลาดที่ใหญ่ มีหลายสตาร์ทอัพที่รุ่งโรจน์ เพราะไปขายระบบติดตามหนี้ให้ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน, โรงพยาบาล และร้านค้า
นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพทำบริการ Refinance ในกลุ่มนี้ที่ประสบความสำเร็จ ถ้าจะเปรียบเทียบกับสตาร์ทอัพไทยบ้านเราก็คือ Refinn และนอกจากนั้นในกลุ่มติดตามหนี้ยังมีบริการติดตามหนี้ที่ผสานเทคโนโลยี AI ให้ติดตามหนี้ได้ดีขึ้นด้วยนะ เพราะในปัจจุบันการติดตามหนี้แบบดั้งเดิมมันอาจจะไปได้ไม่ค่อยได้ผลแล้ว แถมการติดตามหนี้ที่รุนแรงเกินไปก็อาจไปกระทบกับแบรนด์ภาพลักษณ์บริษัทได้ ซึ่งเทคโนโลยี AI จะมาช่วย ณ จุดนี้ ด้วยการใช้ AI วิเคราะห์ว่าแต่ละลูกหนี้ควรรับมืออย่างไรบ้าง และคนติดตามหนี้ก็ใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการติดตามนั้น ซึ่ง Prove ออกมาแล้วว่าได้ผลดีกว่าวิธีติดตามดัังเดิมจริง
Trueaccord
บริการติดตามหนี้ โดยการใช้ AI
Lend Street
บริการ Refinance
14) Lending-as-a-Service
เป็นกลุ่มที่ทำระบบขายให้พวกสถาบันการและธนาคาร เช่น ระบบ Digital Lending นอกจากนี้กลุ่มนี้ยังมีพวกกลุ่ม Factoring อยู่ด้วย
Roostify
ขายระบบ Digital Lending
Market Finance
ทำแพลตฟอร์ม P2P ซื้อขายInvoice (Factoring)
15) Infrastructure
สตาร์ทอัพกลุ่มทำพวกระบบ Back-end ดึง Service ให้ไปพัฒนาระบบการเงินต่อ เช่น ระบบกู้, ระบบจ่ายเงิน และระบบบัตรเครดิต เป็นต้น
Cross River Bank
ทำ Platform หลังบ้านของระบบสถาบันการเงินแบบครบวงจร
Stripe
ทำ APIs ระบบจ่ายเงิน
สรุปส่งท้าย
ในภาพรวมตัว Fintech กลุ่ม Alternative Lending น่าสนใจทุกตัวเลยครับ ผมสนับสนุนให้คนไทยช่วยการสร้างกัน เพราะ มันเป็นอะไรที่สามารถช่วยแก้ Pain เรื่องเงินๆในบ้านเราได้จริง ซึ่งแน่นอนในความเป็นจริงมันอาจไม่ได้โลกสวยอย่างที่คิด เพราะ จะทำอะไรก็ติดเรื่องกฏหมาย แต่ยังไงมันก็ต้องมีจุดเริ่มต้นครับ และรับรองว่าถ้าผ่านอุปสรรคเรื่องกฎหมายนี้ไปได้ก็คุ้ม โอเครก็จบกันไปอีกตอนครับ ซึ่งถ้าใครสนใจทำกลุ่ม Alternative Lending นี้จริง มาชวนผมทำด้วยก็ได้นะครับ 555+ เพราะ ผมเชื่ออย่างสุดใจว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มี Potential และมันเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันผลักดันกันหลายคน ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยจุดประกายไอเดียคนทำ Fintech ไม่มากก็น้อยนะครับ วันนี้ก็ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าครับ สวัสดีครับ