รีวิว หนังสือ Marketing Psychology of Great Customer Experience — สรุป ทริกจิตวิทยาการตลาดในเล่มเดียว
กลับมากับการ Review หนังสืออีกครั้งนึง รอบนี้มีเป็นหนังสือแนวการตลาดที่ผมไม่ได้อ่านมานาน แต่ไปสะดุดถูกใจกับการดีไซน์หน้าปก และบวกกับคนเขียนที่เป็นคนไทยของหนังสือเล่มนี้ เลยลองจัดมาอ่านฮะ ก็เขาว่ากันว่าคนที่เป็นนักการตลาดที่เก่ง ไม่ใช่คนที่รู้ทฤษฎีการตลาดเยอะแยะ แต่เป็นคนที่เข้าใจลูกค้าจากหลักการจิตวิทยาการตลาด ก็หนังสือเล่มนี้ก็จะเป็นการสรุปทริกจิตวิทยาการตลาดมาให้หมดเลย ใครสนใจก็ติดตามต่อได้เลยฮะ 😀
“หนังสือดีไซน์สวย เนื้อหาสรุปสั้นๆออกมาได้ใจความ”
รีวิวหนังสือ
เป็นหนังสือที่แบ่งออกเป็น 20 บท เกี่ยวกับทริกจิตวิทยาการตลาดหน้ารู้ต่างๆ หนึ่งบทเป็นสรุปสั้นๆกระชับๆ มียกตัวอย่างเข้าใจง่ายมีทั้งที่เป็นเคสการตลาดไทย และต่างประเทศ
เนื้อหาไม่ได้ลงลึก หรือเล่าเรื่องอะไรเหมือนหนังสือการตลาดต่างประเทศทั่วไปนัก เหมือนเป็นหนังสือสรุปที่ทริกการตลาดเด่นๆจากหลายแหล่งมายำร่วมกัน
หนังสือทั้งหน้าปก และในเล่มมีการดีไซน์ที่สวยงามน่าอ่าน คนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการตลาดก็อ่านได้ คนที่มีพื้นฐานแน่นอยู่ก็ใช่เป็นตัว Remind เหมือนเป็นสรุปข้อสอบ เหมาะสำหรับทั้งคนทั่วไป ผู้ประกอบการ ซึ่งสำหรับใครต้องการความรู้ในการตลาดเชิงลึกของแต่ละบท อาจต้องหาอ่านแยกเพิ่ม หรือไปเรียนรู้ต่อเองในตลาดจริง
ถามว่าซื้อหนังสือเล่มนี้มารู้สึกคุ้มไหม ส่วนตัวแค่เห็นการดีไซน์หน้าปก เนื้อกระดาษ และการจัดเล่มก็คุ้มแล้วนะครับด้วยราคา 295 บาท ส่วนเนื้อหาอาจจะติดที่น้อยไปนิดนึง อยากให้มีเคสตัวอย่างและลงลึกมากกว่านี้ แต่ก็ว่าไม่ได้ คิดว่าหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนน่าจะมีจุดมุ่งหมายทำเป็นสรุป คัดแต่สิ่งที่เป็นเนื้อมาจริงๆ
แล้วทริกจิตวิทยาการตลาดในแต่ละบทน่าสนใจไหม? ส่วนตัวก็คิดว่าค่อนข้างน่าสนใจนะครับ แต่ละอันที่เอามาก็เหมือนคัดมาแล้ว สามารถเอาไปใช้ได้จริงในบริบทการทำตลาดเมืองไทย ก็ 20 หัวข้อที่คัดมานี้ ก็เป็นสิ่งที่อย่างน้อยควรรู้และตระหนักในการทำการตลาดครับ
ด้านล่างนี้ผมก็เขียนเป็นสรุปของหนังสือจากที่อ่านมา เพื่อนๆลองนำไปใช้ประกอบตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ได้ฮะ
สรุปเนื้อหา
1) Psychology of Waiting
- ประสบการณ์การไม่ดีจากการรอคอย มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง “ระยะเวลา” น้อยมาก ประเด็นหลักๆคือเรื่องของ “ความรู้สึกต่างหาก”
- เช่น ไฮตี้หลา มีบริการขนม นวด ตอนรอคิวหรือดิสนี่แลนด์ มีป้ายบอกเวลารอเร็วกว่า 2–3 นาที
- บริหารความคาดหวังของลูกค้า ชี้เวลาให้ชัดเจน
- หากิจกรรมให้ลูกค้าทำระหว่างรอ
- ออกระบบการบริการให้ชัดเจน แฟร์
2) Mere Exposure Effect
- คนเราจะมีความชอบใน “สิ่งที่รู้จักคุ้นเคยมากกว่า”
- สื่อสารและทำคอนเทนต์กับลูกค้าสม่ำเสมอ
- สื่อสารกับลูกค้าตั้งแต่เนิ่นๆ
- สร้างแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์น่าจดจำ
- ลงโฆษณาหลายแพลตฟอร์ม เพื่อตอกย้ำ
- ใช้เทรนด์ให้เป็นประโยชน์
3) Ikea Effects
- ทำให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม
- เช่น ผงเค้กที่พร้อมทุกอย่างของ Betty Crocker >> ขายไม่ดี >> เปลี่ยนเป็นผงเค้ก ที่ต้องตอกไข่เพิ่ม ขายดีกว่า
- ช่วยให้รู้สึกผิดน้อยลง จากการที่ได้อะไรง่ายเกินไป
- สร้างความรู้สึกเป็น Ownership
4) Androgynous Fashion
- Inclusive ไม่แบ่งลูกค้า ชาย หญิง
- Gen Z มีแนวโน้มเชื่อว่า ชาย หญิงจะใส่เสื้อแบบใดก็ได้
5) Pain of Paying
- ทุกครั้งที่สูญเสีย จะรู้สึกเจ็บปวด ยิ่งเป็นการจ่ายเงิน แล้วของที่ได้มาไม่คุ้ม
- การจ่ายด้วยเงินสด เจ็บปวดกว่าการจ่ายด้วยบัตรเครดิตหรือการตัดบัญชีอัตโนมัติ
- ออกแบบกระบวนจ่ายเงินให้ง่าย เช่น Tik Tok Shop
- ขายสินค้าเป็นเซ็ต
- รวบการจ่ายไว้ที่จุดเดียว
- ทำระบบจ่ายเงินล่วงหน้า หรือรายปี
- มีนโยบายคืนเงิน คืนของ
6) Psychological Pricing
- ตัวเลขส่งผลต่อลูกค้าอย่างมาก
- Charm Pricing: ลงท้ายด้วยเลข 9 ขายดีสุด แต่ไม่ใช่สำหรับสินค้า Luxury ที่เน้นลงเลข 0
- Decoy Pricing: ให้มีขายไซส์กลางหลอก คนจะได้ไม่ซื้อไซส์เล็ก
- Price Appearance: ทำให้สั้นที่สุด ตัดทศนิยม สกุลเงินออก
7) Halo Effect
- เมื่อพอข้อดีอะไรบางอย่างแล้ว ที่เหลือก็จะดูดีไปหมด ตรงกันข้ามถ้าแย่ ก็แย่ไปหมด
- First impression
- สร้าง Hero Product
- ลงทุนกับ Design และ Package
- ใส่ใจกับ Customer Experience
8) Parasocial Partnership
- การ Live ทำให้รู้สึกใกล้ชิด
- Live Shopping คือ 1 ใน 5 activity คนไทยทำมากที่สุด
- ใช้ Framing effect นำเสนอเชิงบวก เช่น ยาสีฟัน 8 ใน 10 ที่ ทันแพทย์แนะนำ แทน 2 ใน 10 ที่ไม่แนะนำ
- ชอบคนไลฟ์, Entertain, FOMO กลัวพลาดได้ของถูก
9) Psychology of Selling
- แทนที่จะเน้นไปให้ลูกค้า “ซื้อ” เน้นไปทำให้ลูกค้า “ประทับใจ” แทนดีกว่า
- ใครๆก็อยากถูกเข้าใจมากกว่าถูกขาย
- Reciprocity ใช้การตอบแทน เช่น Warby Parker ให้ลูกค้าลองใช้แว่น 5 แบบก่อนซื้อ
- Scarcity ยิ่งหายากยิ่งแพง ยิ่งน้อยยิ่งอยากได้
- Liking ขายตัวเองให้คนชอบให้ได้ก่อน แล้วจะขายอะไรคนต่อก็ขายได้ง่ายๆแล้ว
10) Foot in the Door
- เมื่อให้ลูกค้า say yes อะไรเล็กๆน้อยๆก่อน จะมีโอกาสทำ say yes ครั้งต่อๆไปได้ง่ายขึ้น
- เช่น กดติดตาม, Subscribe, ทดลองใช้ของ, กรอกฟอร์ม
11) Door in the Face
- ขอมากหน่อย แล้วต่อรองต่อด้วยคำขอเล็กๆ
- เช่น เสนอราคาสูง แล้วค่อยลดลง หรือขอเป็นแฟนให้คบจริงจัง ถ้าไม่ได้ให้เริ่มจากคุยก่อน
12) Social Proof
- คนส่วนใหญ่ทำอะไรกัน ก็จะรู้สึกว่าสิ่งนั้นถูกต้องไปด้วย มีอานุภาพยิ่งกว่ากฎระเบียบ
- Testimony คอมเมนต์ใช้จริงจากลูกค้า
- ยอดไลท์, ติดตาม, คิวต่อแถว
- การโพสต์หรือแนะนำของคนใกล้ตัว เพื่อน
- รับรองโดยผู้เชี่ยวชาญ
- รีวิว
- รับรองโดยคนดัง
- รางวัล
13) Frequency Illusion
- เมื่อเราสังเกตเห็นอะไรแล้ว เราจะเห็นสิ่งนั้นในชีวิตประจำวันบ่อยขึ้นอัตโนมัติ
- ปกติเราเห็นสิ่งนั้นอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ
- เอา Attention ลูกค้าให้ได้ก่อน แล้วต่อด้วย Retargeting และควรทำหลายแพลตฟอร์ม
14) Paradox of Choice
- ยิ่งตัวเลือกมาก คนยิ่งซื้อน้อย เพราะ ต้องใช้ความคิดและลังเลมากขึ้น
- ลดตัวเลือกสินค้าที่มีฟีเจอร์ใกล้เคียงลง
- ทำให้ฟิลเตอร์เลือกสินค้าได้ง่ายๆ
- คัดเลือก และแนะนำสินค้าตรงๆให้ลูกค้า
- สื่อสารกับลูกค้าหลังการขายว่าเลือกถูก Choice แล้ว
15) Anchoring Bias
- คนมักจะปักใจเชื่อข้อมูลแรกที่ได้รับและใช้สิ่งนั้นอ้างอิง
- เช่น ราคาแรก, รีวิวแรก
- เลือกราคาแรกให้ลูกค้าเห็นอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนด Brand identity เลย เช่น ชูตัวสินค้าท๊อป Hotdog แพงที่สุดในโลก เพื่อให้สินค้าดูราคาต่ำ แต่ยังคงรักษาระดับภาพลักษณ์แบรนด์
- เน้นทำให่ป้ายราคาลด ราคาเต็ม ให้ลูกค้าเห็นอย่างชัดเจน
16) Peak-End Rule
- ส่วนใหญ่คนจำได้อยู่ 2 เหตุการณ์ คือ “จุดพีค” กับ “จุดจบ”
- โฟกัสไปที่การสร้างประสบการณ์ที่โดดเด่นอย่างน้อย 1 อย่างให้ลูกค้าจำได้พอ เช่น โรงแรมมีเสิฟขนมไม่อั้น มาถึงสระว่ายน้ำ
- จบให้สวย เป็นที่น่าจดจำ เช่น Ikea ทางออกเป็นร้านอาหาร
17) Goal Gradient Effect
- ยิ่งใกล้ถึงเป้าหมาย หรือได้รางวัลเท่าไร ยิ่งมีกำลังใจอยากซื้อให้ถึงเป้าไวๆ
- เช่น บัตรสะสมแต้มของ Line OA ร้านกาแฟ
18) Empathy
- สิ่งที่ลูกค้าต้องการ คือ การที่รู้สึกว่าถูกรับฟังและเข้าใจ
- รับฟังลูกค้า ปรับปรุง รักษาสัญญา
19) Filter Bubble
- คนเรามีเวลาเสพคอนเทนต์จำกัด ทุกแพลตฟอร์มต่างป้อนข้อมูล ตามที่เราคิดว่าชอบ
- ลองเสพข้อมูลอื่นๆเยอะ เอาให้ตัวเองออกนอก Algorithm จะได้ไม่ติดกับดักฟองสบู่
20) Pratfall Effect
- คนที่ถูกมองว่าเก่งมากๆ ถ้าทำอะไรผิดพลาดจะดูน่ารักทันที
- ไม่ต้อง Perfect เกินไปจนเหมือน AI เช่น คนชอบคุกกี้แบบขอบหยาบๆ มากกว่าแบบเรียบๆ Perfect
สรุปส่งท้าย
จบกันไปแล้วครับ เป็นอย่างไรบ้างครับเพื่อนๆกับรีวิวของหนังสือเล่มนี้ ส่วนตัวก็คิดว่าเป็นหนังสือการตลาดที่ดีนะครับ ซื้อมาอ่านเก็บไว้ติดตัวก็ไม่เสียหาย มันเป็นหลักการพื้นฐานในการขายของที่ทุกคนควรรู้ แต่ถามว่าหนังสือเล่มนี้เป็นระดับที่ว้าวไหม ก็ไม่ได้ถึงขนาดนั้น เพราะ หนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้มี Insight อะไรใหม่ๆที่โดดเด่น เพราะ อย่างที่บอกว่าหนังสือเล่มนี้เหมือนเป็นสรุปทริกการตลาดจากหลายๆแหล่งมาอีกที แล้วเพื่อนๆล่ะครับคิดยังไงกันบ้าง ก็หวังว่าการรีวิวครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆไม่มากก็น้อยนะครับ
P.S. สำหรับใครที่อยากติดตามบทความผมแบบนี้อีก สามารถกด Follow เพื่อรับบทความไปอ่านก่อนใครได้ ก็ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบครับ