มาถึงจุดปัจฉิมบท Final Chapter รีวิวหลักสูตร MS IT จุฬา ตอนสุดท้ายของเรา ปราการด่านสุดท้ายก่อนจบ ความจริงผมก็อยากพูดลงดีเทลคนที่เลือกทำ IS เหมือนกันนะคร้าบ แต่ก็ว่าไป เพื่อนๆ ลองไปประสบเองน่าจะสนุกกว่า ดังนั้นตอนนี้ผมจะพูดถึงประสบการณ์การทำ Thesis หรือ วิทยานิพนธ์ ที่คนไม่ค่อยเลือกทำกัน ซึ่งส่วนนี้จะได้ช่วยเป็นตัวเลือกให้ เพื่อนๆ ให้หันมาทำ Thesis ไม่มากก็น้อยนะคร้าบบ โดยผมจะพยายามอัพเดทตอนนี้ไปเรื่อยๆ จะจบจริงๆก็น่าจะช่วงเดือน พ.ค. 63 ครับ (สรุปของจริง คือ ก.ค. ครับ 55+)
“ จุดสำคัญ คือ การมองภาพธุรกิจ |
IT เป็นเพียงแค่เครื่องมือเพื่อช่วยไปให้ได้ถึงจุดนั้นเอง”
ทำไมต้องทำให้ชีวิตยุ่งยากเพื่อมาทำ Thesis
แน่นอนสำหรับคนไม่มีประสบการณ์การทำงานหรือทำไม่ถึง 1 ปี ในหลักสูตรนี้จะโดนบังคับมาทำ Thesis อัตโนมัติครับ และเป็นอย่างยิ่งสำหรับ Thesis ที่เป็นการวิจัยการค้นพบสิ่งใหม่ โดยจะเป็นอะไรที่ Suffer ในการคิดหัวข้อการวิจัยสำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาเป็นอย่างมากครับ เหมือนเป็นอะไรที่ขัดกับ Requirement ดังนั้นหลายๆครั้งจะเห็นงานวิจัยของนิสิตไทยที่ค่อนข้างไปทาง Academic อย่างเดียว ไม่ค่อย Practical นำไปใช้ต่อได้ รวมถึงเส้นทางการวิจัยก็ไม่ค่อยสวยหรู มันจึงไม่ค่อยนิยมกันครับ และด้วยความที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม นโนบายของคณะนี้จึงไม่ค่อยส่งเสริมการวิจัยของนิสิตมากนัก ( ที่เยี่ยมก็มี คือ Database ค้นงานวิจัย นอกนั้นยังไม่ค่อยเห็นอะไรเป็นรูปธรรมจากคณะ จะมีแต่ของมหาวิทยาลัย) ก็หวังว่าคณะจะมีคนมาดูส่วนนี้มากขึ้นครับ
พูดมาขนาดนี้ไม่มีชมสักนิด จะพูดไปทำไม 55+ ไม่ใช่อะไรครับ ที่พูดมาอย่างนี้ เพื่ออยากให้เตรียมใจมาก่อนครับ คนที่ไม่มี Passion หรือต้องการความ Challenge จริงๆ ไม่แนะนำว่าควรมาทำ Thesis ครับ สำหรับคนที่ไม่มีประสบการณ์ แนะนำว่าไปทำงานก่อน แล้วค่อยกลับมาเรียนครับ แต่สำหรับคนที่คนคิดว่าพร้อมบอกได้เลยว่า สนุก ครับ และถ้าจบแล้วได้ประสบการณ์ใหม่ที่มีประโยชน์อย่างแน่นอน
การทำ Thesis ในหลักสูตรนี้ประมาณแนวไหน
เนื่องจากหลักสูตรนี้อยู่ในคณะบริหาร แนวงานวิจัยส่วนมากต้องค่อนไปทาง Social Science ครับ โดยหัวข้อที่เลือกต้องอิงทั้งด้าน IT และ Business ดังนั้นแนวทางวิจัยที่เป็นไปได้ของหลักสูตรนี้ที่ชอบทำกัน คือ การทำแบบสอบถาม ไม่ก็ใช้ Data จากสาธารณะครับ เช่น การดึงข้อมูล API จาก Twitter และ WRDS เป็นต้น ถ้าชอบแบบไหนก็เลือกได้เลยครับ มันจะค่อนข้างต่างกับงานวิจัยของทางสาย Com Sci หรือการทำ IS หน่อยนะครับ ที่ไม่ใช่เพียงแค่เน้นการทำพวกแอปพลิเคชัน หรือการหาผลลัพธ์ทางเทคนิคอย่างเดียว แต่สิ่งที่เน้นเลยคือการหา ตัวแปร และคำถามการวิจัยเพื่อหาคำตอบในสิ่งใหม่ ว่าสิ่งที่ทำมาต้องมี Impact และสามารถนำไป Apply ต่อกับธุรกิจได้จริง ดังนั้นต้องมองภาพมองกว้างทางธุรกิจออกครับ “IT เป็นเพียงแค่เครื่องมือประกอบเพื่อไปให้ได้ถึงจุดนั้นเท่านั้นเอง” ซึ่งสิ่งที่หนักของการทำวิจัยไม่ใช่การพัฒนาแอปพลิเคชันมาทดสอบเลยนะครับ ถ้ากินเวลาตรงนั้นเยอะแสดงว่าอาจมาผิดทาง แต่สิ่งต้องเน้นจริงเลย คือ การทำเล่ม หรือ Documentation ครับ โดยพวกวิธีทำเล่มอะไรก็จะมีแนะนำพร้อมหมดครับในวิชา RES METH IT BUS ซึ่งอาจารย์สอนดีมาก สามารถกลับไปย้อนไปอ่านได้ในตอนที่แล้ว โดยยกตัวอย่างของผมนะครับ ผมก็ทำวิจัยเรื่อง Chatbots ในอุตสาหกรรม E-commerce ครับ ซึ่งบอกได้เลยว่าการพัฒนา Chatbots นี้ผมลงเวลาไม่ถึง 5% ในการวิจัย ส่วนใหญ่เวลาที่ลงจะเป็นการค้นคว้าและการทำเล่มหมดครับ
อันนี้ Process การทำ Thesis คร่าวๆนะครับ (อาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามกลยุทธ์ของแต่ละคน)
หาหัวข้อ >> หาอาจารย์ที่ปรึกษา >> ทำ Proposal (3 บท) >> สอบ Defend ครั้งที่ 1 >> ทำ Thesis พร้อมเก็บข้อมูลส่วนที่เหลือ (5 บท) >> สอบ Defend ครั้งที่ 2 >> Conference หรือตีพิมพ์
Challenge ของการทำ Thesis
การ Manage ตัวเอง และการหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่เข้ากันได้ครับ โดยต้องเข้าใจก่อนครับว่าอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาไม่ได้เป็นที่ปรึกษาแค่คนเดียว และอาจารย์ก็ไม่ได้มีเวลาว่างมากครับ ดังนั้นอาจารย์จะไม่ได้มาตามเราให้ส่งงานเหมือนสมัยมัธยม เราต้องเป็นคนเข้าหา และจัดการตัวเองให้ดีครับ ช่วงไหนที่อาจารย์ว่าง ควรจะให้เวลาเข้าไปคุยให้ได้มากที่สุด เพราะช่วงตอนใกล้จบ ทุกคนจะรีบเข้าไปหาอาจารย์ ทำให้เราไม่มีโอกาสเข้าไปปรึกษาอาจารย์เท่าที่ควรครับ และมากไปกว่านั้นอาจมีปัจจัยภายนอกไม่คาดคิดอื่นๆอีก ดังนั้นควรเผื่อเวลาการทำ Thesis เยอะๆครับ และอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรเร่งรีบในการเลือก พยายามเข้าไปคุยกับทุกคนก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ เหมือนกับการเลือกแฟน เพราะ เราต้องอยู่ยาวกับอาจารย์คนนี้แน่นอน
การเลือกหัวข้อวิจัยนี้ส่วนตัวผมแนะนำว่าพยายามรีบๆเลือกให้ลงตัวให้เร็วที่สุด อย่างน้อยอาจจะกว้างๆก่อน เราจะได้ไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาถูกคนครับ และการเลือกหัวข้อมันเหมือนเป็นสิ่งที่ทำให้เราเริ่มต้นทุกอย่าง อย่าไปเสียเวลาทำอะไรอย่างอื่นก่อนครับ และการเลือกหัวข้อ คือ ควรเลือกสิ่งที่เราค่อนข้างเชี่ยวชาญอยู่แล้ว อย่าไปหวังทำเรื่องที่เราแบบเริ่มตั้งแต่ศูนย์ เพราะว่ามันจะหนักมาก และต่อให้เราพยายามขยันศึกษาแค่ไหน มันก็จะไม่รู้จริงเหมือนสิ่งที่เราเชี่ยวชาญหรือมี Passion อยู่แล้ว ทำให้สุดท้ายงานมันจะออกมาไม่ค่อยดี
สอบ Defend ครั้งแรก…
กว่าจะลงตัวนัดวันสอบได้ ใช้เวลา 2 เดือนครับตั้งแต่ผมส่ง Proposal ให้อาจารย์ที่ปรึกษาไป
นี่คือเหตุการณ์ไม่คาดคิดแรกครับ!!
ซึ่งเอาจริงก็ดีครับ 2 เดือน ทำให้ผมมีเวลาการเตรียมตัวค่อนข้างมาก และทำให้ผมค่อนข้างมั่นใจ และคิดว่าสามารถผ่านการสอบ Proposal ไปได้ไม่ยากเย็น
แต่โลกก็ไม่ได้สวยอย่างที่คิด ทุกงานวิจัยย่อมมีจุดอ่อน ต่อให้เราคิดมาเยอะขนาดไหน สุดท้ายมันก็จะมีจุดที่เราคิดไม่ถึง ซึ่งหน้าที่ของเรา คือ Defend และอธิบาย Logic ให้มากที่สุด โดยส่วนตัวผมก็ผ่าน แต่ก็โดนให้ไปแก้งานค่อนข้างเยอะเหมือนกัน ซึ่งส่วนที่โดนแก้คือแนวที่ตอนแรกจะทำอะไรให้ล้ำๆ ให้กลับไปทำ Back to basic หมดเลยครับ บทเรียนนี้จึงสอนให้รู้ว่าถ้าจะทำอะไรแปลกๆ ก็ควรเลือกเฉพาะทำแค่บางจุดครับ ถ้าเป็นไปได้ให้พยายามเลือกตัวแปรที่คุ้นเคยก่อน และเน้นให้พยามยามทำลึกมากกว่าทำกว้าง ซึ่งผมก็ต้องไปแก้ไปตัวแปรที่วิจัยบางส่วน และไปเก็บแบบสอบถามตัวจากกลุ่มตัวอย่างที่แก้เพิ่มเติมครับ
แล้ว…เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น Covid-19 ระบาด!! และจุฬาก็ออกมาตรการเข้ม แทบจะปิดมหาวิทยาลัย นั่นเป็นเหตุให้ทำให้อะไรที่ต้องออกไปทำข้างนอกต้องหยุดหมด จะเก็บข้อมูลหรือไปมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ วันที่ส่ง Paper ให้ Conference ก็เริ่มใกล้ เป็นสิ่งไม่คาดคิดที่ทำให้ผมต้องหยุดทำแทบทุกอย่าง มีสิ่งเดียวที่ไม่หยุด คือ เวลาที่นับถอยหลังที่บอกว่าถ้าส่งช้าแล้วจะไม่จบ ในใจก็แอบคิด ว่าถ้าทำเร็วกว่านี้สัก 1 เดือน ก็คงไม่เป็นอย่างงี้ ดังนั้นเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าถ้าจะทำอะไรตอนนี้ก็ควรรีบทำตั้งแต่เนิ่นๆเลย อย่าไปหวังทำอะไรตัวเองในอนาคตที่ไม่รู้เลยว่าจะเจอมรสุมอะไรข้างหน้า (ไม่ใช่เราที่พบปัญหาอย่างเดียวนะครับ ที่ปรึกษาของเราก็เช่นกัน)
แต่ทุกอย่างมีทางออก แม้จะไปมหาวิทยาลัยไม่ได้, Covid-19 ระบาด หรือ Conference เลื่อน
- ต้อง Social Distant เก็บข้อมูลไม่ได้>>เปลี่ยนเป็นเก็บข้อมูลช่องทาง Online
- Conference เลื่อน >> เปลี่ยน Conference และดู Conference ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนเป็นการสัมนาออนไลน์
- ไปหาอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ได้ มหาวิทยาลัยปิด>>ติดต่อช่องทางออนไลน์หรือคุยโทรศัพท์แทน
- อื่นๆมากมาย
ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะยอมแพ้ทนอยู่กับข้ออ้าง หรือกัดฟันสู้ต่อจนจบ
แน่นอนทางจุฬาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ไม่ได้ให้เราพยายามอยู่ฝ่ายเดียว ด้วยสถานการณ์ Covid-19 โชคดีทางจุฬาก็ได้เลื่อน Deadline การส่ง Thesis รวมถึงยังอนุโลมให้สามารถสอบ Defend ออนไลน์ได้อีกด้วย ก็นับได้ว่าเป็นโอกาสในวิกฤต จนพูดได้ว่าอาจจะดีกว่าสถานการณ์ปกติก็เป็นได้
แต่ผมก็แนะนำว่าอย่าไปหวังปาฏิหาริย์เหล่านี้ให้มากครับ เราควรจะพยายามทำสิ่งที่พอทำให้ได้ทั้งหมดก่อน แล้วถ้าปาฏิหาริย์เกิดขึ้นจริงก็ถือว่าส้มหล่นครับ
หลังจากนั้นผมก็ได้ทำการสอบ Defend รอบ 2 !!!
รอบนี้เป็นการสอบแบบ Online ถามว่ากดดันไหม ค่อนข้างกดดันครับ เพราะถ้าพลาดก็อาจหมายถึงว่าอาจต้องเรียนต่ออีกเทอม
ครั้งนี้ก็ถือผมว่าเตรียมตัวกับอาจารย์ที่ปรึกษามาค่อนข้างเยอะครับ ซึ่งบางสิ่งก็มีเชื่อแก และมีบางสิ่งที่ผมก็ไม่ได้เชื่อเต็มที่
โดยการสอบรอบ 2 นี้ เป็นการรายงานผลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากการวิจัย ซึ่งถ้าเราเตรียมตัวมาดีและมีการปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำของกรรมการตั้งแต่ตอนทำ Proposal ผลที่ได้ออกมาจะไม่ค่อยมีปัญหามากครับ การสอบนี้จะอารมณ์เหมือนไป Discuss คุยเกี่ยวกับผลงานวิจัยของเรามากกว่า
แต่ถามว่างานของผมมีประเด็นตอนสอบไหม ก็มีเยอะเหมือนกันครับ แต่หลักๆก็จะเป็นจุดที่เคยคุยกับปรึกษามาแล้ว แต่ผมดันไม่ยอมทำตาม สิ่งนี้สอนให้ผมรู้ว่าสิ่งที่ได้จากคนที่เคยอาบน้ำร้อนมาก่อนเป็นอะไรที่น่าเชื่อถือที่สุดแล้วครับ
หลังจากที่ Defend จบนะครับ คณะกรรมการก็จะให้ผมออกจากห้อง แล้วทุกคนก็จะ Discuss กัน แล้วให้เรารอผลสัก 10 นาที บอกได้เลยครับ ช่วง 10 นาทีนั้น เป็นอะไรที่ลุ้นมาก ซึ่งหลังจากที่ได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วพูดว่า “ผ่าน” วินาทีนั้น ผมพูดได้เลยว่าปลื้มปิติสุดๆครับ เพื่อนๆต้องลองรู้สึกบ้าง
สุดท้ายทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดีครับ สอบ Defend ผ่าน แก้ไขเล่มส่งเข้าระบบ iThesis และ Conference ผ่านช่องทางออนไลน์ก็เรียบร้อย สิ่งเหล่านี้ผมก็เสร็จช่วงกลางๆ มิ.ย. หลังจากนั้นทำการส่ง และรอ Process ของมหาวิทยาลัย ก็เสร็จสิ้นทั้งหมด ช่วง ก.ค. นับว่าเกือบเป็น Deadline การส่ง Thesis ของมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว
นี่ขนาดผมเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆยังเกือบๆจะไม่ทัน ดังนั้นเพื่อนๆอย่านิ่งนอนใจ และรีบเริ่มทำเร็วๆครับ เพราะ มั่นใจได้เลยว่าเราจะเจอเหตุไม่คาดฝันอยู่ตลอดเวลา และทำให้เวลาการส่งของเราล่าช้ากว่าที่คาดไว้
นี่ก็จะเป็นบทความเพิ่มเติมที่ผมเขียนรายละเอียดกระบวนการทำวิจัยและผลงานวิจัยของผมลงดีเทลคร่าวๆครับ เผื่อใครสนใจ
สรุปข้อแนะนำการทำ Thesis ให้จบทันเวลา
- รีบหาหัวข้อให้ลงตัว โดยเป็นสิ่งที่เราเชี่ยวชาญ และไปลงเวลาที่วิจัยให้มากๆ
- งานหลักคือการวิจัยและเขียนเล่ม ไม่ใช่การเขียนโปรแกรม
- Manage ตัวเองดีๆ วางแผนไว้ล่วงหน้า เผื่อเวลาเยอะๆ อย่าไปหวังอะไรกับตัวเราในอนาคต รีบทำสิ่งที่ทำได้ก่อน ก่อนที่จะไม่ได้ทำ อย่ารอปาฏิหาริย์
- เลือกที่ปรึกษาที่เหมาะกับเรา และมีเวลาเยอะๆครับ
- ควรจะ Active เป็นคนเข้าหาที่ปรึกษา ไม่ใช่ให้ที่ปรึกษามาตามเรา
- เชื่อที่ปรึกษา
- เนื้อหาของ Thesis ควรเน้นทำลึกมากกว่าทำกว้าง และควรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เอาไปใช้ต่อได้
- เริ่มต้นช่วง Proposal ให้ดี แล้วตอนทำวิจัยจะไม่ค่อยมีปัญหา
- ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข แล้วแต่เราจะเลือกใช้เป็นข้ออ้าง หรือเลือกจะหาทางแก้ไขมัน
- ท้อได้แต่อย่าถอย แก้ปัญหาเฉพาะหน้า พยายามให้ถึงที่สุด
จบทุกตอนแล้วนะครับ เป็นไงบ้างครับเพื่อนๆ ความจริงแล้วหลักสูตรนี้ยังมีอะไรอีกเยอะแยะ นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่าน้้นเอง ก็ถ้าเพื่อนอยากรู้มากกว่านี้ว่าเป็นอย่างไรก็คงต้องลองไปสัมผัสเองนะครับ ซึ่งผมก็หวังว่าบทความทั้ง 5 นี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆไม่มากก็น้อย
ถ้าใครอยากสอบถามผมเพิ่มเติมก็สามารถส่งมาที่อีเมลผม panmanotham@gmail.com หรือทักแชท FB : Nut Panmanotham ก็ได้ครับ
นี่ลิงค์ตอนเก่าๆครับ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามมาจนจบครับ :)