EP 99: Quantum Update 2024 ⚛🚀

Nut P
3 min readJun 2, 2024

จากตอนที่แล้วที่ผมได้มีการอัปเดตเรื่อง ควอนตัม ว่าปัจจุบันเราทำ Quantum ได้เกิน 1,000 Qubit จากเป้าเดิมที่ผมเคยเขียนในบทความเรื่อง Quantum เมื่อ 3 ปีก่อนเท่ากัน EP นี้ผมเลยก็ขอถือโอกาสอีกครั้งในการปัดฝุ่นอัปเดตเรื่องควอนตันที่ผ่านมา 3 ปี ว่ามีอะไรอัปเดตบ้าง และมัน Impact เราอะไรไหม ใครพร้อมแล้วก็ไปติดตามกันต่อได้เลย

“ก้าวเริ่มเล็กๆที่สำเร็จ เพื่อไปสู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่กว่า”

Recap ทำความรู้จัก Quantum อีกทีก่อนสั้นๆ

ควอนตัม คือ สสารหรือพลังงานที่อยู่ในระดับอะตอม หรือต่ำกว่า อารมณ์เหมือนในหนัง Antman ภาค 2 ซึ่งการมาของควอนตัมจะเป็นการ Disrupt การประมวลผลทาง Digital ในปัจจุบัน ที่เป็นแบบ Bit ที่จะประมวลผลได้แค่เลข 0 หรือ 1 เท่านั้น แต่ควอนตัมจะเป็นการประมวลผลโดยใช้ Qubit ทรงกลม ที่สามารถประกอบด้วยเลข 0 และ 1 ในเวลาเดียวกัน และสามารถวิ่งไปไหนในทรงกลมก็ได้ ซึ่งแน่นอนการประมวลผลแบบนี้แบบเร็วขึ้นมหาศาลกว่าการคิดแบบ Bit เดิมแน่นอน เปรียบเทียบเหมือนยุคสมัครที่เราเปลี่ยนถ่ายจากการส่งจดหมายใช้นกพิราบ กลายเป็นการส่ง Email แทน

สำหรับใครที่อยากปูพื้นฐานเรื่องควอนเพิ่มเติมสามารถกลับไปอ่านย้อนตอนเก่าผมได้ครับ

สิ่งที่อัปเดตล่าสุด

ในช่วงปลายปี 2023 มีบริษัทได้ทำชิฟควอมตัมที่มีจำนวนคิวบิตมากกว่า 1,000 ตัวได้เรียบร้อย จากเดิมในปี 2021 ที่ทำสถิติอยู่ที่ 65 คิวบิต โดยบริษัท Atom Computing ทำออกมาได้เป็นที่แรกเป็นจำนวน 1,180 คิวบิต และตามมาด้วย IBM ในช่วงเดือน ธันวาคม จำนวน 1,121 คิวบิต ตามลำดับ ซึ่งปัจจุบันยังเพียงเป็นการใช้ภายใน และยังไม่นำออกมาขายเชิงพาณิชย์

ด้วยข่าวนี้ทำให้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้บริษัทแข่งขันกันทำในเรื่อง Quantum กันในช่วงต้นปี 2024 ทั้ง Google, Amazon, Honeywell, IonQ และ Startup ทำ Quantum ทั้งหลาย

แต่ถึงอย่างก็ดีด้วยเทรนด์ Generative AI ที่มาแรงกว่าในช่วงต้นปี 2024 ทำให้ข่าวของควอนตัมอาจถูกกลบเกือบหมด เราจึงอาจไม่ค่อยได้ยินกัน แต่ก็อย่าลืมการมาของ AI ก็จะเป็นการดันให้ Quantum มาเร็วขึ้นด้วย เพราะ การทำโมเดล AI ที่ใหญ่ขึ้น ก็ต้องพึ่งพาการประมวลที่ใหญ่ขึ้น ซึ่ง Quantum คือคำตอบ

Source: CB Insight 2022

ปัจจุบันจนถึงกลางปี 2024 ยังไม่มี Unicorn Startup ในวงการ Quantum ด้วยที่ Quantum ยังไม่ถึงจุดที่เอาไปใช้เชิง Commercialize ได้ก็ต้องดู Timing ต่อไป ซึ่งเขาว่ากันว่า Quantum จะมาแรงในปี 2030 แต่ด้วยที่การพัฒนาให้ทะลุ 1,000 qubit เร็วกว่าที่คาด เทรนด์ของ Quantum ก็อาจจะมาไวกว่าที่คิด

ตัวอย่าง Quantum Startup ที่น่าสนใจ

  1. Atom Computing >> ผู้พัฒนาชิฟ Quantum ที่ใช้หลัก Neural Atom
  2. Qilmanjaro >> ผู้พัฒนาชิฟ Quantum ที่ใช้หลัก Superconducting
  3. Entropica Labs >> บริษัทชื่อดังที่ทำ Quantum จากสิงคโปร
  4. Multiverse Computing >> บริษัท Quantum จาก EU ที่โฟกัสด้าน AI

Timeline อัปเดตของ Quantum ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว

2021

  • เดือน กรกฎาคม 2022 — PsiQuantum ได้รับการสนับสนุน 450 ล้านดอลลาร์สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัม
  • เดือน ตุลาคม 2021 — IonQ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NYSE
  • เดือน พฤศจิกายน 2021 — IBM เปิดตัวชิป IBM Quantum Processor ใหม่ มีจำนวน 127 คิวบิต พร้อมให้บริการผ่านคลาวด์

2022

  • เดือน กุมภาพันธ์ 2022 — Rigetti Computing เปิดตัวชิปควอนตัมใหม่กว่า 80 คิวบิต
  • เดือน พฤษภาคม 2022 — IonQ เปิดตัว Forte Quantum computer ที่มี 32 คิวบิต
  • เดือน ตุลาคม 2022 — Atom Computing เปิดตัวชิป Phoenix ที่มี 100 คิวบิต
  • เดือน พฤศจิกายน 2022 — Rigetti Computing เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ
  • เดือน พฤศจิกายน 2022 — IBM เปิดตัวชิป Osprey ที่มี 431 คิวบิต

2023

  • เดือน ตุลาคม 2023: Atom Computing ประกาศสร้าง 1,180 คิวบิต บนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ควอนตัมรุ่นใหม่
  • เดือน ธันวาคม 2023 — IBM ประกาศความสำเร็จในการสร้างชิป Condor มีคิวบิตสูงถึง 1,121 ตัว

การทะลุ 1,000 Qubits เป็น Big Change ไหม?

ถ้ามองการนำไปใช้ให้ Commercialized ได้ รอบนี้ก็อาจจะไม่ใช่ Big Change ของ Quantum เพราะ จำนวน Qubit ที่นักวิจัยคาดว่าทำให้การประมวลผลเร็ว และทำแอปดีๆได้ดีกว่าระบบ Bit ของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คือ อยู่ที่อย่างน้อย 1 ล้าน Qubit

จากการเปิดตัวของ IBM และ Atom Computing ที่ Quantum ทะลุ 1,000 Qubits ก็ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอะไรอื่นมากนัก ทั้งเรื่อง Error ที่เป็นจุดอ่อนของเรื่อง Quantum และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งคาดว่าก็ยังเป็นโจทย์ที่ทางองค์กรก็ยังต้องแก้จนกว่าจะสามารถนำเอาไปใช้ได้จริง โดยในปี 2024 จากการประกาศของ IBM ก็คือจะเน้นไปทีการลด Error และเพิ่ม Gate เพื่อให้รองรับ Qubit ที่เพิ่มมากขึ้น

แต่ถึงอย่างไรก็ดีเป้า 1,000 Qubit ก็ถือเป็นเป้าอันยิ่งใหญ่ที่คนในวงการเมื่อ 3–4 ปีก่อนตั้งไว้ และปัจจุบันก็ Achieve เรียบร้อย โดยเป้าในครั้งต่อๆไปก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนกับการเติบโตของคนที่จะมาเป็นนักกีฬาวิ่งทีมชาติ Step นี้ก็เหมือนกับทารกที่เปลี่ยนจากคลาน มาเริ่มเดินได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และภาคภูมิใจมากสำหรับพ่อแม่ โดยต่อๆไปเด็กคนนั้นก็ต้องผ่าน Challenge ใหม่ๆอะไรอีกมากมายจนกลายเป็นคนที่วิ่งได้เร็วและกลายเป็นทีมชาติได้ในที่สุด

ในปัจจุบัน หลายองค์กรคาดว่าปี 2030 จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมจะมีศักยภาพเพียงพอในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขนาดใหญ่ได้จริง ทำให้เริ่มมีการนำมาใช้งานเชิงพาณิชย์ในภาคอุตสาหกรรมหลักๆ เช่น การเงิน พลังงาน ยา และวัสดุศาสตร์

และประมาณปี 2040 หรืออีกประมาน 20 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ควอนตัมน่าจะก้าวหน้าพอที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลาย รวมถึงการใช้งานผสมผสานกับคอมพิวเตอร์ดั้งเดิม

แล้วแบบนี้ Quantum Computer จะมาแทน Classical Computer เลยไหม?

ตามที่อัปเดตก็คืออย่างน้อยเร็วๆนี้ Quantum ยังไม่มา Disrupt เราแน่ๆ อาจจะเป็นอีก 10–20 ปีข้างหน้า ซึ่ง Quantum จะค่อยๆมาเริ่ม Disrupt ในวงการที่ต้องใช้คำนวณอะไรที่ซับซ้อน ที่ลำพังใช้วิธีการคำนวณแบบ Bit ไม่เพียงพอ เช่น การทำแบบจำลอง Prescriptive Model, การทำ Discovery หรือการทำโมเดล AI อะไรที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ทำกันใน Lab ไม่ใช่สิ่งที่คนใช้ปกติแบบทำ Everyday use กัน

โดย Classical Computer แบบระบบ Bit ก็ยังคงอยู่ ในงานที่ทำอะไรแบบง่ายๆ ที่สามารถใช้ Logic คิดเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Excel, ทำ PowerPoint, การเขียนโค้ด แต่อะไรที่เป็น Black Box อยากให้เสกแบบตามตัวอย่างที่ยกมา การใช้ Quantum Computer ก็อาจเป็น Solution ที่เหมาะกว่า

ให้เปรียบเทียบเหมือนเรามีไขควงและค้อน ไขควงคือคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม เหมาะสำหรับการขันสกรู (แก้ปัญหาที่ชัดเจน) ค้อนคือคอมพิวเตอร์ควอนตัม มีพลังในการทุบหิน (แก้ปัญหาซับซ้อนที่คอมพิวเตอร์ดั้งเดิมทำไม่ได้) เราไม่ควรใช้ค้อนกับทุกงาน เช่นเดียวกับที่เราไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมกับงานทั่วไป

ด้วยเหตุนี้ Quantum Computer และ Classical Computer ก็ยังคงอยู่คู่กันต่อไปในอนาคต ด้วยจุดมุ่งหมายการใช้งานที่ต่างกัน เว้นแต่การดำเนินชีวิตของมนุษย์จะเปลี่ยนไปที่แบบไม่ต้องพึ่ง Logic อะไรเลย หรือ Quantum Computer จะถูกพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายและครอบคลุม Classical Computer ทั้งหมด ถ้าเป็นแบบนี้ Classical Computer ก็คงจะถูกแทนที่ 100%

สรุปส่งท้าย

จบไปแล้วนะครับอีกตอน ก็ในช่วง 2–3 ปีนี้ยังคาดว่าเรายังไม่คงเห็น Big Change อะไรจาก Quantum จนกว่าจะมีองค์กรใดที่สามารถทำชิฟควอนตัมได้เกินกว่า 1 ล้านคิวบิก และแก้ปัญหาเรื่อง Error Rate ได้ ก็ต้องลุ้นต่อกันไป ดูกันอีกทีปึ 2030 ว่าจะมี Big Change ไหม ซึ่งผมก็คงยังเชื่อแหละ Quantum จะเป็น Technology เปลี่ยนโลก ยิ่งกว่า Blockchain หรือ Generative AI อะไรที่ผ่านๆกันมา อารมณ์เหมือนที่เราดูหนังโลกอนาคต ก็ Respect คนที่ทำวิจัยด้าน Quantum ด้านนี้มากครับ ที่ยังทนทำแม้จะยังไม่ออกผล ซึ่งโลกเราต้องการคนแบบนี้ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนับสนุน ตื่นเต้นที่จะเห็นโลกเราในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปอีกรูปแบบ

อย่าปล่อยให้น้ำลายของคนอื่นมาดับไฟในตัวเรา

จงเชื่อมั่น และทำตามที่ใจเราต้องการครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณทุกคนที่ติดตามมา ตอนนี้ก็เป็น EP สุดท้ายที่เป็นเลข 2 หลักแล้ว ตอนหน้าก็จะเป็นตอนแรกที่ขึ้นเลข 3 ก็ดีใจที่ได้แบ่งปัน และคิดว่าก็คงแบ่งปันเรื่อยๆต่อไปครับ 🥰🥰

--

--

Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp