สวัสดีฮะ พอดีช่วงเช้านี้ได้โอกาสเข้าไปที่ตอนเปิดงานของ SPARC ที่เป็นงาน Open House อุตสาหกรรมอวกาศครั้งแรกของไทย เลยอยากลองมาอัปเดตให้เพื่อนๆไวๆกันครับ ว่าตอนนี้วงการ Space ของไทยเป็นไงบ้าง ในงานก็จัด 2 วันนะครับ ในวันที่ 8–9 ก.ค. 23 ก็มีทั้งที่เป็น Stage และบูทเล็กๆน้อยๆ โดยรายละเอียดเพิ่มเติมหรือดูงานย้อนอะไร สามารถไปติดตามได้ในเพจ Facebook SRARC นี้ฮะ🚀
“การหาคำตอบในโลกอวกาศเป็น Long term game ที่อาจจะไม่ออกผลวันนี้ แต่เมื่อไรออกผล จะเป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ”
วงการในอวกาศไทยในอาจพูดได้ว่าค่อนข้าง Unique มากนะครับ ปัจจุบันยังคนมีคนในวงการเพียงหยิบมือ ไปงานไหนๆก็คุ้นหน้ากันแทบทุกคน จนเขาว่ากันว่าคนในวงการเจอกันจะชูนิ้วกางใส่กันก็ไม่แปลก
ไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทย แต่ทั่วโลก การที่จะผลักดันให้ธุรกิจและอุตสาหกรรม Space เติบโตได้ ล้วนเริ่มต้นจากงานวิจัย เนื่องจากเรื่องอวกาศยังคงเป็นสิ่งใหม่ และหลายๆสิ่งยังคงอยู่ในโลกจินตนาการ แม้จะมีการวิจัยมายาวนาน ตั้งแต่เริ่มส่งคนไปอวกาศครั้งแรกได้ในสมัยปี 1961 จนถึงปัจจุบันสิ่งที่มนุษย์ค้นพบเกี่ยวกับอวกาศก็ยังเป็นก้าวเล็กๆเท่านั้น ซึ่งการที่จะผลักดันงานวิจัยอวกาศได้ Factor หลักๆ คือ เงินทุน และทรัพยาการ ที่ต้องได้การผลักดันอย่างยิ่งยวดจากทั้งจากภาครัฐ และหน่วยงานเอกชน
อวกาศอยู่ด้วยตัวคนเดียวไมไ่ด้
การหาคำตอบในโลกอวกาศเป็น Long term game ยกตัวอย่างการเช่นส่งยาน Voyager ไปศึกษาอวกาศตอนนี้ก็กินเวลาไป 45 ปีแล้วตั้งแต่ปี 1970 ซึ่งองค์ความรู้พวกนี้คงไม่จบภายในสมัยเดียว แต่คงเป็นการส่งไม้ต่อไปเรื่อยๆ และต้องให้หลายคนมาช่วยหาคำตอบกัน เพราะ เราเชื่อว่า
อวกาศ คือ พรมแดนสุดท้าย
การที่เราเข้าใจอวกาศได้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่าอะไรคือเหตุผลที่เราอยู่ตรงนี้
อะไรเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรม
เราใช้ชีวิตอย่างอยากลำบาก เพื่อหาคำตอบกับสิ่งนี้
ถ้าเราสามารถหาคำตอบในโลกอวกาศได้ ก็จะเป็นอีกสิ่งที่ปลดล๊อกสำหรับมนุษยชาติ
ตัวอย่างหน่วยงานและธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับเรื่อง Space ของไทย
- NIA : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
- NSTDA : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- GISTDA : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
- NARIT : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
- CU : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- MU : มหาวิทยาลัยมหิดล
- Spaceth.co : Content creator เกี่ยวกับสื่อด้านอวกาศ
- Dark-Sky Thailand : Content creator เกี่ยวกับสื่อด้านอวกาศ
- The Principia : Content creator เกี่ยวกับสื่อด้านอวกาศ
- FutureTales Lab : ศูนย์วิจัยอนาคต
อย่างไรก็ดีถึงแม้จะมีหน่วยงานและภาคธุรกิจที่ผลักดันอุตสาหกรรมอวกาศในไทย แต่สุดท้ายแล้วความเจริญก้าวหน้าและทุนผลักดันก็ยังห่างไกลกับระดับโลก เช่น NASA, MIT หรือพวก SpaceX ยิ่งนัก ก็ต้องดูนโยบายของรัฐและแรงขับเคลื่อนขององค์กรของไทยในอนาคตอีกต่อๆไปว่าจะให้ความสำคัญเรื่องอวกาศเพิ่มขึ้นขนาดไหน
เนื่องจากเรื่องของอวกาศยังคงเป็นเรื่องของจินตนาการในอนาคตอีกมาก ดังนั้นเรามาดูเทรน์ของโลกอวกาศใน 40 ปีข้างหน้าดีกว่าว่าตอนนี้เรามองกันอย่างไร
หลักๆการวางแผนรับมือกับอนาคตของเราจะมี 2 แบบ
- แบบ Push: ให้อนาคตเดินมาถึงก่อน แล้วเราค่อยตัดสินใจว่าจะทำอะไร
- แบบ Pull: วาดภาพอนาคตที่อยากให้เป็น แล้ววางกลยุทธ์เดินไปให้ถึงจุดนั้น
เรื่องของอวกาศมักเป็น Pull แบบหลัง เนื่องจากถามว่าในปัจจุบันถ้าเราไม่ศึกษาเรื่องอวกาศเลย มนุษยชาติยังคงอยู่ได้ปกติไหม ก็อยู่ได้ แต่หารู้ไม่ว่าอีก 40 ปีข้างหน้า น้ำอาจจะท่วมทั้งกรุงเทพ มนุษย์ล้นโลก จนเราอาจต้องย้ายไปอยู่ดาวอื่นก็เป็นได้ ซึ่งถ้าถึงจุดนั้น แล้วเราไม่ได้เตรียมตัวอะไรเลยมาล่ะ จะเป็นอย่างไร มนุษย์ทั้งโลกคงจะสูญสิ้นใช่ไหมครับ
FutureTales Lab มองว่าอีก 40 ปีข้างหน้าเริ่มตั้งแต่ปี 2061 มันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Space Economy ที่มนุษย์สามารถเดินทางและขนส่ง Resource ไปแต่ละดาวได้แบบไม่ติดขัด สามารถเอา Resource จากนอกโลกมาช่วยการดำรงอยู่ได้ ซึ่งการ Predict พวกนี้ใช้หลัก Horizontal scanning เอา Signal ในแง่มุมต่างๆมารวมกัน ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ, ค่านิยม, การเมือง แล้วสุดท้ายมาสร้างเป็น Assumption Predict เป็น Trend ในอนาคตสิ่งที่จะเกิดขึ้น
ตัวอย่าง Trend ของ Space ในอนาคต
- Art in space >> เรื่องของสร้างศิลปะที่เป็นสิ่งสุนทรีสำหรับมนุษย์มากกว่าคำว่าวิทยาศาสตร์ในอวกาศ เช่น สร้างงานอาคีลิค สร้างไข่มุกจันทราที่เอาไปตกผลึกในสถานีอวกาศนานาชาติ หรือจะเป็นการสร้างกลิ่นในสถานีอวกาศ
- Extraterrestrial Life >> อธิบายง่ายๆคือเรื่องของเอเลี่ยน ถ้าคนดูหนังก็นึกถึงไปถึงเอเลี่ยนหัวโตๆ แต่คำว่าเอเลี่ยนของเราในอวกาศตอนนี้อาจเพียงเป็นแค่จุลชีพตัวเล็กๆที่สามารถสร้างน้ำอากาศก็ได้ ซึ่งตอนนี้ปัจจุบันหลายๆองค์กรก็กำลังหาสิ่งเหล่านี้บนดาวต่างๆอยู่
- Interplanetary Travel >> เรื่องของการเดินทางระหว่างดาว รวมถึงการส่งสินค้า, ต่างๆที่ต้องมีความรวดเร็วในระยะห่างล้านปีแสง จนถึงอาจไปถึงขั้นสร้างแกนวาร์ปได้ในอนาคต
- Satellite Communication >> เรื่องของการ Communication, Internet และการส่งข้อมูลต่างๆระหว่างดาว ที่ต้องมีความรวดเร็วเหมือนการเดินทางระหว่างดาวเช่นกัน
- Planetary Défense >> เรื่องของการปกป้องโลกจากอุกกาบาตและภัยคุกคามต่างที่อาจเกิดขึ้น
- Space Launch System >> เรื่องการปล่อยจรวดขึ้นอวกาศจะทำได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้ Resource น้อยลง
- Artificial Space Station >> เรื่องสถานีอวกาศที่สามารถปรับแรงโน้มถ่วงและสิ่งแวดล้อมให้นักบินอวกาศและคนธรรมดาๆให้อาศัยได้อยู่เสมือนโลก รวมถึงการสร้างลิฟต์อวกาศที่ปัจจุบันยังหาทฤษฏีมาสร้างมันไม่ได้
- Commercialization of Space Station >> ไมว่าจะเป็นเรื่องการตั้งสถานี Research, โรงงาน หรือ Space tourism บนดาว เสมือนเป็น Business district ของโลก สิ่งนี้ก็จะมาแน่นอน เมื่อ Space economy มา
- Space Career >> ก็จะมีงานใหม่ๆ และมีคนเข้ามาทำเรื่อง Space กันมากขึ้น
- Space Mining and Manufacturing >> เมื่อการเดินทางระหว่างดาวเป็นไปได้ เรื่องการขุดหาแร่ และ Resource บนดาวต่างๆก็จะมีเพิ่มขึ้นแน่นอน
- Private Space Flight >> เหมือนนั่งเครื่องบินต่างประเทศ เดี๋ยวธุรกิจนั่งจรวดไปดาวต่างๆทำ Space tour ก็จะมาแน่นอน
- Solar Array and other Renewable Technology >> เรื่องของพลังแสงอาทิตย์ พลังงานนิวเคลีย และพลังงานทดแทนที่เอาใช้ในอวกาศ
- Space Research & Development >> ก็เป็นเรื่องของวิจัยอวกาศที่จะมีให้ความสำคัญ และได้ความร่วมมือจากแต่ละประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
- Advanced Space Telescope >> ก็จะมีกล้อง Telescope ที่สามารถมองไกลได้ข้ามจักรวาล
- In-Situ Resource Utilization (ISRU) >> เรื่องของ Utilize resource บนดาวเพื่อสร้างสิ่งพื้นฐานที่คนอยู่ได้ เช่น ออกซิเจน, น้ำ จากคาร์บอนไดออกไซด์กับดินที่อยู่บนดาวอังคาร
จาก Trend ด้านบนจะเห็นได้ว่าแต่ละเรื่องเป็น Project ที่ใหญ่มาก ซึ่งคนที่ทำก็คงไม่พ้นฝั่งรัฐบาล หรือเอกชนที่ทุนใหญ่ในช่วงเริ่มต้นสร้าง Infrastructure ยกตัวอย่าง ฝั่งรัฐบาลก็เป็น NASA ทำ Apollo ส่วนเอกชนก็เป็น Space X เป็นต้น แต่ไม่ใช่ว่าคนตัวเล็กจะไม่มีโอกาสเลย แต่คนตัวเล็กจะมีช่องว่างเข้าไปมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อหลังจากที่ Infrastructure พร้อมมากขึ้น อย่างของไทยเราตอนนี้ก็เล่นเรื่อง Research อวกาศหลายเรื่องอยู่ ซึ่งนักวิจัยหลายๆคนก็ได้รับสนับสนุนจากการวิจัยจากหน่วยงานไทยและนานาชาติ แต่เป็นปัญหาโลกแตกในโลกของการวิจัย ที่ยังไงก็ไม่เพียงพอ ก็ต้องดูใน Long game ของอุตสาหกรรมอวกาศยาวๆอีกต่อไปว่าจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร
สรุปส่งท้าย
เป็นยังไงบ้างครับเพื่อนๆ อัปเดตเรื่องอวกาศไปสู่จักรวาลอันเวิ้งว้างที่ไกลโพ้นยังครับ ก็ส่วนตัวที่สัมผัสจากวงการอวกาศในฐานะคนภายนอกที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยแล้วมาฟังงานครั้งแรกนะครับ ผมรู้สึกชื่นชมกับคนที่อุทิศอยู่ในวงการอวกาศมาก ไม่ใช่แค่ที่ไทย แต่เป็นทั่วโลก เนื่องจากถึงแม้เรื่องการแก้ปัญหาเรื่องอวกาศ เช่น การย้ายไปอยู่ดาวอังคาร มันเป็นเรื่อง Must have แต่มันไม่ใช่ Must have now ที่ไม่รู้ว่าเราจะทำสำเร็จเมื่อไร และจะทำเสร็จในสมัยเราไหม ซึ่งมันมีคนส่วนน้อยที่จะกล้ามาทำอะไรมืดมน และ Long game แบบนี้ ส่วนใหญ่คนเราจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ชัดมากกว่า ซึ่งมันทำให้ผมนึกถึงฉากในหนัง Interstellar ที่เขาก็ยังเชื่อว่าการแก้ปัญหามลภาวะที่ไร่ข้าวโพด น่าจะดีกว่าการรอคำตอบในการย้ายไปอยู่บนดาวอื่นที่ไม่เห็นหนทาง แต่สุดท้ายตอนจบ Happy ending เป็นยังไงละครับ เราก็กลับมาที่ Long game plan แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนที่ไปแก้มลภาวะที่ไร่ข้าวโพดผิดนะครับ แต่เราต้องทำทั้ง 2 อย่างขนานกันครับ และให้ Long game plan ออกผลเป็นสิ่งใช้แก้ปัญหาท้ายสุด
สำหรับใครที่อยากให้ได้แชร์บทความดีๆแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกด Follow กันนะครับ วันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ🙌🙌