EP 8 : KITRO สตาร์ทอัพระบบจัดการขยะในห้องครัว

Nut P
2 min readFeb 22, 2020

ใครที่เคยทำงานในครัวร้านอาหารหรือโรงแรมนะครับ ก็จะพบว่าในวันๆนึงจะมีขยะกองเป็นจำนวนมากจากเศษอาหารเหลือทิ้ง ใครๆเห็นก็ต้องปวดหัว นั่นเป็นเหตุให้เกิด KITRO สตาร์ทอัพจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ผู้พัฒนาระบบการจัดการ Food Waste ในห้องครัวโดยเฉพาะ ด้วยเทคโนโลยี AI ที่ทำให้ลด Food Waste กว่า 40%

KIRTO คืออะไร..?

KITRO เป็นระบบจัดการ Food Waste ในห้องครัวแบบครบวงจร โดยการใช้ถังขยะอัจฉริยะที่ติดกับกล้อง AI ทำให้สามารถวัดปริมาณ และชนิดของ Food Waste โดยการประมวลผล Image Processing จากภาพวีดีโอในกล้อง และสิ่งที่เป็นข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาเก็บไว้ในแอปพลิเคชันเพื่อใช้เป็นระบบวิเคราะห์ Food Waste ต่อไป

เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ KITRO ได้ถูกนำไปใช้ในโรงแรม D’Angleterre และทำให้รู้ว่าแขกที่มากินไข่กวนในมื้อเช้า มักไม่กินมะเขือเทศที่วางไว้ประดับจาน ผู้จัดการจึงนำมะเขือเทศนั้นออก จนทำให้ทางโรงแรมสามารถหลีกเลียงการทิ้งมะเขือเทศลงขยะหลายกิโลต่อวันได้ ซึ่งด้วยเทคโนโลยีของ KITRO นี้นอกจากจะช่วยธุรกิจลด Food Waste แล้ว ยังจะช่วยในการจัดการต้นทุนในการซื้อวัตถุดับให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

KIRTO เกิดขึ้นมาได้อย่างไร..?

KITRO ก่อตั้งโดย Anastasia Hofmann และ Naomi MacKenzie ในขณะที่พวกเธอกำลังเรียนเกี่ยวกับธุรกิจด้านบริการ และเกิดปิ้งเจอไอเดียง่ายๆจากการเห็นเชฟเสริฟอาหารในโรงแรม แล้วมีอาหารเป็นจำนวนมาถูกเหลือทิ้ง ดังนั้นมันน่าจะมีวิธีอะไรบางอย่างที่ทำให้รู้ของที่แขกไม่กิน จะได้ช่วยลดอาหารที่ถูกทิ้งไป

Anastasia Hofmann และ Naomi MacKenzie | Swisspreneur

ไอเดียนี้ถูกนำใช้ครั้งแรกในการแข่งขันในมหาวิทยาลัยของพวกเธอ โดยมีโจทย์ให้พวกเธอทำวีดีโอง่ายๆนำเสนอเวลา 2 นาที ในโจทย์ภาพเครื่องจักรในอุตสาหกรรมปี 2025 ซึ่งภาพแรกที่พวกเธอทำออกมาเป็นหุ่นยนต์แยกขยะบนเคาเตอร์เตรียมอาหารง่ายๆ และก็ได้รับรางวัลชนะเลิศไป

หลังจากนั้นทาง Professor ของพวกเธอก็สนับสนุนให้พวกเธอไปทำต่อ แต่ทางเดินการเริ่มธุรกิจก็ไม่ได้สวยอย่างที่คิด หลังจากที่พวกเธอจบ ด้วยปัญหาด้านเงินทุน และประสบการณ์เด็กจบใหม่ที่ยังไม่สามารถโฟกัสไปที่ธุรกิจได้ 100% พวกเธอทั้งสองจึงต้องทำ KITRO ควบคู่ไปกับการทำงานหารายได้ โดยที่ Anastasia ทำงานตอนเช้าที่บาร์ และตอนเย็นจึงมาสร้างตัว KITRO นี้ ซึ่งทั้งคู่กล่าวว่าการทำแบบนี้มันไม่เวิรค์ ที่พอเราโฟกัสกับงานตอนเช้าไปกว่า 80% แล้ว พอมาถึงตา KITRO ก็หมดแรง แต่จุดเปลี่ยนก็เกิดขึ้น เมื่อพวกเธอได้ไปออกบู้ทงานๆหนึ่งด้วยเพียงแค่กระดาษอย่างเดียว ไม่มีทั้ง Hardware หรือ Software อะไรทั้งนาน แต่โชคดีมีคนที่สนใจและกลายเป็นลูกค้าให้พวกเธอในวันนั้น ทำให้พวกเธอตัดสินใจออกจากงาน และทุ่มเทกับธุรกิจ 100%

พอได้ลูกค้ามา ปัญหาก็เริ่มขึ้น เนื่องด้วยที่พวกเธอไม่มี Background ด้านเทคโนโลยีอะไรทั้งสิ้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเธอจะสร้าง Product ขึ้นมาเอง ดังนั้นสิ่งที่พวกเธอทำเลยคือการใช้คอนเนคชันในมหาวิทยาลัย จนสุดท้ายได้เด็กปริญญาโท 2 คน มาช่วยทำ Prototype ให้

ด้วย Prototype นี้ทำให้พวกเธอมีได้โอกาสได้ไปลงตลาด และไป Test สิ่งต่างๆจนพบ Insight มากมาย จนกระทั้งถึงเฟสที่ต้องออก Product จริง ซึ่งเฟสนี้พวกเธอต้องมี Developer ประจำ ในการพัฒนา Software (ส่วนด้าน Hardware ใช้การ Outsource) เพื่อให้มีผู้เชี่ยวชาญในการพาบริษัทไปข้างหน้าต่อได้ แต่ด้วยทุนที่จำกัด ที่พวกเธอไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้ได้ 9 เดือนแรก ดังนั้นการที่จะหาคนที่มี Skill และไม่เอาเงินเดือนจึงเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่ด้วยความขยันของพวกเธอในการหา Developer ทุกช่องทาง จนสุดท้ายได้ด๊อกเตอร์จากอังกฤษมาร่วมงานนี้ ซึ่งพวกเธอก็ได้แบ่งหุ้นบริษัทให้ จนเขาได้กลายเป็น Co-founder มาร่วมกับพวกเธอ

โดย Naomi ได้บอกเคล็ดลับการหา Co-founder คือต้องเป็นคนที่มี Working Style ไปในทางเดียวกัน โดยบางคนบอกว่าเราไม่ควรทำธุรกิจร่วมกับเพื่อน ซึ่งเธอก็ไม่เห็นด้วยเพราะว่าการทำธุรกิจกับเพื่อนก็มีข้อดีคือเราสามารถรู้เขารู้เรา รู้กันหมดไส้หมดพุง สามารถพูดอะไรได้ตรงๆ และจะมีประโยชน์มากในช่วงตอนตัดสินใจ ว่าต่างฝ่ายต้องรีแอคกันอย่างไร ซึ่ง Anastasia และ Naomi ใช้วิธีการแบ่งหุ้นตามเวลาที่เข้ามา โดยที่ทั้งคู่ได้สัดส่วนที่เท่ากัน และด๊อกเตอร์จากอังกฤษก็ได้สัดส่วนที่น้อยลงตามเวลาที่เข้ามาทีหลัง ก็นับว่าเป็นวิธีหนึ่งที่สตาร์ทอัพนิยมใช้กันทั่วๆไป

ในปัจจุบัน KITRO ก็ถูกนำไปใช้ในหลายโรงแรม โดยในในปี 2020 นี้ KITRO คาดว่าจะถูกนำไปใช้ในอีก 8 โรงแรมในสวิสซ์แลนด์ต่อไป

สรุปส่งท้าย

การจะเริ่มทำสตาร์ทอัพ เราไม่จำเป็นต้องพร้อมในทุกด้านเสมอไป เหมือนกับที่ Anastasia และ Naomi ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีใดๆเลย แต่สุดท้ายพวกเธอก็เริ่มทำธุรกิจได้ ไม่มี Dev ก็ขายกระดาษไปก่อน, ถ้าต้องใช้ Dev แล้วยังหาประจำไม่ได้ก็ Outsource และถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆต้องมี Dev ประจำ ก็จะต้องใช้ความพยายามไปเรื่อยๆจนกว่าจะหา Dev ได้ จะเห็นได้ว่าทุกปัญหามีทางออก แต่อย่างแรกเลยขอให้ทุกคนได้เริ่ม พยายามอย่าย่อท้อ และสุดท้ายก็จะได้สิ่งตามที่หวังครับ 👍

สำหรับเพื่อนที่สนใจ KITRO เพิ่มเติม สามารถไปติดตามที่เว็บในลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

No responses yet