เพื่อนๆเคยได้ยินคำว่า Open Banking หรือ Open API ของธนาคารบ้างไหมครับ? บอกได้เลยว่าเป็นเรื่องในวงการเทคโนโลยีของธนาคารระดับโลกที่กำลังบูมมาก ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัวเรา และเข้าไปทำธุรกิจยากมาก แต่หารู้ไม่ว่ามันเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด และเป็นอีกหนึ่งโอกาสธุรกิจที่น่าสนใจ ใครที่อยู่ในวงการ Fintech ห้ามพลาดนะเลยครับ พร้อมแล้วก็ลุยกันต่อไปได้เลย!!
“Open Banking เทคโนโลนีที่ช่วยสร้างธุรกิจ Fintech”
Open Banking คืออะไร..?
การให้ข้อมูลหรือบริการของธนาคาร ผ่าน APIs ไปให้บุคคลภายนอกอื่นไปใช้ประโยชน์ เช่น ธุรกิจ SME, Startup เพื่อเพิ่มความโปร่งใสข้อมูลลูกค้าในการไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการทางธุรกิจใหม่ ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลนั้น นอกจากจะต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารเองแล้ว ยังต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าที่เป็นเจ้าของข้อมูลในการเผยแพร่อีกด้วย
ที่มาของ Open Banking
คอนเซปต์ Open Banking เริ่มต้นบูมที่ทวีปยุโรป เนื่องจาก ประมานปี 2018 ทางยุโรปออกกฏ PSD2 บังคับให้ทุกธนาคารในยุโรปต้องทำการเปิด Open APIs เพื่อแชร์ข้อมูลธนาคารไปภายนอกได้ ซึ่งธนาคารหลายประเทศอื่นในโลกก็เริ่มทำตาม เพราะ ถ้าไม่นับเรื่อง Regulation ที่ออกเรื่องกฎ Open APIs ในประเทศนั้นๆแล้ว มันยังเป็นอีกช่องทางใหม่ของ Bank ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในปัจจุบันด้วย ซึ่งหลังจากนั้นคำว่า Open Banking จึงกลายเป็น Buzz Word ที่คนในวงการธนาคารต่างพูดกัน
ถ้าใครยังนึกไม่ออกว่าทำไมหลายประเทศ ถึงต้องออก Regulation บังคับใช้ ให้นึกถึงการซื้อของออนไลน์โดยการตัดเงินผ่านบัญชีธนาคารในปัจจุบัน ที่มีหลายแพลตฟอร์มทำมากขึ้นเรื่อยๆ โดยถ้าธนาคารไม่ยอมเปิด API เรื่องการตัดเงินในบัญชีไปแพลตฟอร์มภายนอก เราก็จะไม่สามารถตัดเงินออนไลน์ผ่านบัญชีนั้นได้ ซึ่งมันคงเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยปลื้มเท่าไรใช่ไหมครับ กับโลกในปัจจุบันของเราที่เป็นยุคที่ทุกอย่างมันต้องทำผ่านธุรกรรม Real Time แบบออนไลน์
แล้วทำไมต้องเป็น APIs? เพราะว่า การส่งข้อมูลแบบ API ระหว่าง 2 ระบบ เป็นแบบ Real Time และ 2-way Commnication ที่รองรับทั้งขารับและขาส่งข้อมูลให้ 3rd party ไปช่วยลูกค้าในการทำธุรกรรมออนไลน์ พัฒนาจากการส่งข้อมูลสมัยก่อนที่เป็นแค่การส่งข้อมูลทางเดียวจากธนาคาร และเป็นสิ่งที่ไม่อัปเดตนัก
ตัวอย่างข้อมูลที่ให้ธนาคารเผยแพร่ตามกฏ PSD2
- Strong Customer Authentication (ACS) >> EX: การทำ eKYC โดยใช้ข้อมูลลูกค้า จาก APIs ของธนาคาร ในการช่วยยืนยันตัวตนในการสมัครบริการบนแอป
- PIS (Payment Initiation Service) >> EX: การที่เอาไป API ของธนาคารไปให้ผูกกับ Payment Provider เช่น Paypal เพื่อให้ตัดเงินในบัญชีธนาคารได้
- COF (Confirmation of the Availability of Funds) >> EX: การที่เอาไป API ของธนาคารไปให้ผูกกับ Payment Provider เช่น Paypal เพื่อให้ตรวจสอบว่าเงินเพียงพอในการที่จะตัดบัญชี
- AIS (Account Information Service) >> EX: การให้ข้อมูลลูกค้าจาก API ของธนาคารไปตรวจสอบก่อนให้การบริการ เช่น ประวัติการจ่ายเงินในบัญชีลูกค้า, จำนวนสินเชื่อที่มี
Open Banking Ecosystem โลก
Open Banking|Allied Market Research| 2022
Full FI Partner Report | March 2022: https://ftpartners.docsend.com/view/86um5vgxwwz8re72
อย่างที่เห็นในรูปครับ เนื่องจากพอมี Regulation ที่บังคับให้ธนาคารทำ Open Banking จึงมี Fintech หลายเจ้าเห็นโอกาส และมาช่วยธนาคารทำเรื่อง Open Banking กัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าตลาดโลกของ Open Banking เป็นตลาดที่ใหญ่มาก และมีหลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากมาย
กลุ่ม Startup พวกนี้จะเรียกว่า “Tech Enabler” ที่เป็นเหมือนเป็นผู้สนับสนุนให้ธุรกิจในตลาดเดิมเติบโต เช่น ธนาคาร แทนที่จะเป็นกลุ่ม “Disruptor” ที่เป็นผู้ฆ่าธุรกิจเก่า ซึ่ง Startup ในกลุ่ม Fintech จะไม่ค่อยมาโมเดลนี้ เพราะ การทำตลาด Fintech มักจะมีเรื่อง Regulation เป็นสิ่งเคียงข้าง การจะทำอะไรต้องมี License ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เอื้อต่อ Startup ในการทำธุรกิจฉายเดี่ยวมากนัก
ถามว่าแล้วทำไมธนาคารไม่ทำเองทั้งหมดล่ะ? เพราะ บอกได้เลยในฐานะที่ผู้เขียนอยู่ในวงการธนาคารเองเหมือนกัน การจะทำอะไรด้วยตัวเองทุกอย่างคงไม่ไหว รวมถึงพวกระบบ Legacy เดิมที่มี และ Culture ด้านคนของธนาคารที่อาจไม่ค่อยเหมาะในการสร้างสิ่งอะไรใหม่ๆมากนัก ดังนั้นกลุ่มตลาด Tech Enabler จึงเป็นสิ่งที่ธนาคารยังต้องการอีกมาก ซึ่งเป็นโอกาส Startup ใหม่ที่อยากเข้าตลาดนี้
ข้อมูลในกราฟรูปนี้เป็นเพียงแค่ธนาคารทั่วโลกส่วนหนึ่งที่ทำเรื่อง Open Banking นะครับ ก็จะเห็นได้เลยว่ามีธนาคารมากมายที่ทำเรื่อง Open Banking แล้ว และมีหลาย Degree ความตั้งใจในการทำ Open Banking กัน ก็อันนี้ผู้เขียนยกตัวอย่างธนาคารที่ทำเรื่อง API ดังๆกันด้านล่าง ก็ลองไปดูได้ครับว่าเขาทำอะไรกันบ้าง ซึ่งในปัจจุบันนอกจากเรื่อง Financial API ที่เขาเปิดกัน เดี๋ยวนี้ตัวโมเดลเขาขยายไปถึง API เรื่อง อื่นๆแล้วนะ เช่น เรื่อง Social Network และข้อมูล Health ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า
ในอนาคตธนาคารจะไม่ใช่แค่อยู่ Position เป็นผู้ให้บริการ Financial Service อย่างเดียวแล้ว แต่จะกลายเป็น Tech Company ผู้ให้บริการ IT ครบวงจร ที่ถือ License ธนาคาร และให้ Fintech Startup เป็นผู้อยู่ฉากหน้าใช้ License ธนาคาร เป็นมือเป็นเท้าขาย Financial Service และเป็น Tech Enabler ช่วยธนาคารแทน
DBS Bank APIs: https://www.dbs.com/dbsdevelopers/discover/index.html
National Bank of Greece APIs: https://developer.nbg.gr/apiProducts
Vietin Bank APIs: https://developer.vietinbank.vn/apis
Open Banking Ecosystem ไทย
ในส่วนของ Open Banking ไทย ผู้เขียนก็บอกได้เลยว่าของไทยก็มีทำกันมานานแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้าเปรียบเทียบกับจำนวน APIs ที่แชร์ Public บนเว็บไซต์ เทียบกับระดับโลกก็ถือว่ายังน้อย ซึ่งส่วนนี้เป็น API Portal ธนาคารไทยที่ผู้เขียนหาเจอทั้งหมด เพื่อนๆสามารถลองไปเล่นดูกันได้ โดยผู้เขียนเชื่อว่าธนาคารเหล่านี้ก็ยังมี API อื่นที่เปิดให้เชื่อมต่อ หรือขายแบบ Commercial เพิ่มอีกนะ แต่อาจต้องติดต่อไป
- KBank APIs: https://apiportal.kasikornbank.com/
- SCB APIs: https://developer.scb/#/home
- Krungsri APIs: https://developers.krungsri.com/UseCases.html
- Bangkok Bank APIs: https://developer.bangkokbank.com/docs/services/
- TTB APIs: https://developers.ttbbank.com/
- UOB APIs: https://developers.uobgroup.com/en/apis-documentation?country=thailand
จากที่ผู้เขียนมาดูภาพรวมของเว็บ API Portal ของธนาคารทั้งหมด ทาง TTB ดูเหมือนจะเส้น API บริการมากที่สุด ถึงอย่างไรก็ตามส่วนตัวผู้เขียนยังไม่สามารถ Access เข้าไปอ่านเอกสารได้ จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงแล้ว หรือเป็นเพียงสิ่งที่ฝันอยู่ใน Roadmap แต่ที่แน่ๆทาง TTB น่าจะให้ความสำคัญกับ Open Banking ค่อนข้างมาก
ส่วนธนาคารไทยที่ผู้เขียนคิดว่าสามารถเอาไป API ไปใช้ได้กับ Use Case จริงได้ดี คือ 3 เจ้า ได้แก่ KBank, SCB, Krungsri ส่วน KTB เป็นที่น่าแปลกใจที่ผู้เขียนหา API Portal ไม่พบ
ตัวอย่างที่เห็นการนำ API ของธนาคารไทยไปใช้
1) one2Car นำ Lead Submission API ของ Krungsri ไปใช้
2) Chatbot เรียกเก็บเงินขุนทอง ที่นำ Slip Verification API ของ KBank มาใช้
ตัวอย่าง Use Case ที่ธุรกิจนำ Open Banking ไปใช้
- Payment เรื่องการจ่ายเงินออนไลน์ >> Ex: Fena
- eKYC & Authentication เรื่องการยืนยันตัวตนตอนสมัครในแอป >> Ex: IDnow
- Account Aggregators รวมบัญชีหลายธนาคารไว้ที่แอปเดียว >> Ex: Plaid
- Business Accounting & Budgeting เอาทุกบัญชีในธุรกิจมาจัดการในแอปที่เดียว >> Ex: Wave
- Personal Finance ทำพวกแอปจัดการค่าใช้จ่ายส่วนตัว >> Ex: Pocketguard
- Data Analytics รวมข้อมูล API ที่เปิด Public มารวมไว้ในที่เดียว >> Ex: Finicity
- Credit Scores นำข้อมูลเครดิตหลายๆแหล่งมาสร้างเป็น Credit Score ใหม่ >> Ex: Credit Kudos
- Buy Now Pay Later ใช้เรื่อง Approve เครดิตตอนซื้อสินค้าออนไลน์ >> Klarna
- Subscription Management เอาทุก Subscription ทุกแอปมาจัดการที่เดียว >> Bud
- Insurance ใช้ข้อมูล Open Banking ในการประเมินค่าเบี้ยประกัน >> Ex Insurely
- Financial Comparision ทำเว็บนำข้อมูลผลิตภัณฑ์ธนาคารมาเปรียบเทียบไว้ในที่เดียว >> Ex TopBank
Open Banking ไทยในอนาคต
Open Banking ในไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังมีช่องว่างของโอกาสธุรกิจอีกมาก สังเกตได้จากจำนวน API บนเว็บไซต์ และ Fintech ที่เป็น Tech Enabler ที่ยังไม่เห็นตัวเด่นๆออกมาในไทยอย่างชัดเจน โดยจากที่ผู้เขียนได้มีโอกาสคุยกับคนในวงการธนาคาร ก็คาดว่าเราจะได้เห็นการพัฒนาของ Open Banking ธนาคารไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ หลายธนาคารตอนนี้ก็กำลังให้ความสำคัญในการพัฒนา Open API และทาง BOT ก็มีนโยบายสนับสนุนให้ธนาคารทำ Open API เช่นกัน
แต่ถึงอย่างไรก็ดี ด้วย Regulation, โครงสร้างพื้นฐาน และความเชื่อมันของคนไทยในการกล้าที่จะยินยอมเปิดเผยข้อมูล บางสำนัก เช่น PWC ก็กล่าวไว้ว่าการใช้ Open Banking ในไทยแบบเต็มรูปแบบยังคงอีกห่างไกลเป็น 10 ปี โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าอาจจะเร็วกว่า เพราะ ยุคนี้เทคโนโลยีมันเติบโตไวมาก และบางธนาคารไทยก็มีแผนพัฒนา Open API ใน Roadmap อยู่แล้ว ที่เหลือ Adoption Rate จะช้าหรือเร็วมากขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับฝั่ง BOT และ Regulator ไทย ว่าจะมีนโยบายช่วยสนับสนุน Open Banking มากน้อยเพียงใด โดยระหว่างการเติบโตก็จะมี Fintech ที่เป็น Tech Enabler ที่เข้ามาระหว่างทางใหม่เรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นโอกาสอันดีสำหรับคนที่อยากจะมา Join ในธุรกิจ Open Banking นี้
สรุปส่งท้าย
จบไปแล้วครับกับเรื่อง Open Banking ตอนแรกดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องไกลตัวที่เกี่ยวกับเฉพาะธนาคารใหญ่ แต่หารู้ไม่ว่าธุรกิจ Open Banking มีช่องทางให้ Startup เข้ามาเล่นเป็นอย่างมาก ซึ่งเราก็มี Use Case ในระดับ Worldwide Prove แล้วว่ามันมีให้เล่นเยอะ ที่เหลือก็แค่เอามาประยุกต์ใช้ในตลาดไทยที่เรื่อง Open Banking กำลังอยู่ในช่วงเติบโตกัน แล้วเพื่อนๆล่ะครับคิดกันยังบ้างครับ นอกจากเรื่อง Open Banking ที่เป็นเทรนด์ของธนาคารนี้ ก็ยังมีเรื่อง Banking-as-a-service (BaaS) และ Neo Bank อีกนะครับ ซึ่งถ้าว่างๆผู้เขียนก็จะมาแชร์ในอนาคตครับ สามารถติดตามกันได้
สำหรับใครที่อยากให้ผู้เขียนได้แชร์บทความดีๆแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกด Follow ผู้เขียนกันนะฮะ วันนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ