EP 74: อัปเดตโอกาสทางธุรกิจที่ Vietnam แบบถึงที่ 2022

Nut P
5 min readAug 7, 2022

สวัสดีครับ พอดีผมได้มีโอกาสไปดูงานที่เวียดนามในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาครับ เลยอยากมาอัปเดตตอนนี้ Vietnam ว่าเขาไปกันถึงไหนแล้ว ได้แต่ข่าวว่าเวียดนามเป็นน้องใหม่ไฟแรง AEC ที่เศรษฐกิจกำลังแซงหน้าไทย เราจะได้รู้จริงๆกันสักทีว่าประเทศบ้านเขาพัฒนาอย่างที่ว่าบ้างไหมแบบลงพื้นที่จริงเลย พวกตำนานเมื่อก่อนที่ว่าคนเวียดนามจะถือแต่เงินสด ขนาดที่ว่าใช้เงินสดในการซื้อรถ หรือจะเป็นประเทศที่ถนนมีแต่มอเตอร์ไซด์ ยังเป็นแบบเดิมไหม.? ใครพร้อมแล้วก็มาอัปเดตกันได้เลยครับ 👏👏

“เวียดนาม เสือแห่งเอเชีย”

ก่อนที่เข้าไปดูสภาพพัฒนาการจริงของเวียดนาม เรามาดูเหตุผลที่นักวิเคราะห์กล่าวกันดีกว่าทำไมเวียดนามจะแซงหน้าไทย

  1. จำนวนประชากรมากกว่า หนุ่มกว่า ด้วยที่เวียดนามมีประชากรถึงกว่า 98 ล้านคน และอายุเฉลี่ย 32.5 ปี ในขณะที่ประชากรไทยอายุเฉลี่ยถึง 40.1 ปี
  2. ค่าแรงถูกว่า และแรงงานที่มีทักษะก็มีมากไม่แพ้กัน
  3. มีการลงทุนจากต่างชาติที่มากกว่าไทยถึง 3–4 เท่า
  4. การส่งออกแซงหน้าไทย รวมถึงการส่งออกข้าว ไทยก็ถูกแซงหน้าแล้ว
  5. มีการพัฒนาเทคโนโลยีเรื่อยมาในประเทศ ล่าสุดแบรนด์ Vinfast รถ EV เวียดนาม ก็ได้ก้าวสู่ระดับโลกเรียบร้อย
  6. และอื่นๆ

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ก็ไม่น่าแปลกใจที่ใครต่างก็ชูนิ้วให้เวียดนาม และกล่าวว่าอีกไม่นานก็คงแซงหน้าไทย ถามว่าตอนนี้เศรษฐกิจเวียดนาม แข่งแกร่งขนาดไหน ก็อย่างล่าสุดในปี 2020 ที่เป็นช่วงโควิด เศรษฐกิจตกต่ำสุด ที่เกือบทุกประเทศของทั่วโลก GDP ต่างก็เป็นลบ รวมถึงไทย ในณะที่ GDP ของเวียดนาม ยังมีการเติบโตเป็นบวกในปีนั้น

Photo by Kim Hanh Do on Unsplash

แต่ถึงอย่างไรก็ดี สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เขาว่ากันว่าเศษกิจของประเทศ สามารถเทียบได้กับความเจริญของประเทศนั้นๆ ยิ่งเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นมากเท่าไร ความเจริญของประเทศเจริญก็ควรเพิ่มมากขึ้นตามนั้นนั้น

ดังนั้นด้วยที่ผมมีโอกาสได้ไปดูงานที่โฮจิมันห์ ก็มาดูกันครับว่าสิ่งที่ผมสังเกตเห็นมันเจริญเพิ่มขึ้นจากอดีดมากขนาดไหน

1) ความเป็นอยู่ทั่วไป

ตั้งแต่ผมสังเกตุตัวเมืองจากบนเครื่องบิน จะสังเกตุได้ชัดเจนเลยว่า ประเทศเต็มไปพื้นที่สีเขียว แม้เข้ามาในตัวเมืองก็ยังเห็นต้นไม้รอบๆตา ในเมืองอารมณ์เหมือนกรุงเทพฯ เราสักช่วง 10 ปีก่อน ยังไม่มีรถไฟฟ้า ถนนเต็มไปด้วยรถ ยิ่งเป็นรถมอเตอร์ไซด์ที่ค่อนข้างยังคงเยอะมาก มีทั้งคนขับใช้เอง และคนส่ง Food Delivery กันให้ว่อน โดยช่วงที่ผมไป รถไฟฟ้าใต้ดิน กำลังอยู่ในช่วงก่อสร้างอยู่ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จปี 2023 โดยหลังจากที่เปิดใช้รถไฟฟ้า ก็คาดว่าพวก Lifestyle หรือการทำธุรกิจต่างๆก็อาจมีการพลิกโฉมอีกรอบ

ตัวเมืองตั้งแต่ผมเดินทางมาจากสนามบินหลักๆผมจะเห็นอยู่ 2 อย่าง คือ Cafe กับ Bank ที่จะมีอยู่ตามริมถนนมากมาย พวกค่าครองชีพที่ซื้อของ ซื้ออาหาร ไม่ต่างกับที่ไทยมาก เผลอๆของอาจจะแพงกว่าเล็กน้อย ที่นี่จะใช่สกุลเงิน VND (ดอง) ที่ 100K VND จะมีค่าประมาณ 150 บาทไทย อย่างที่ผมไปห้างกิน Pepper Lunch ด้วยเมนู ข้าวแกงกะหรี่เนื้อไข่ข้นเดียวกัน ราคาทั้ง 2 ที่นี่อยู่ที่ 200 ปลายๆแทบไม่ต่างกันเลย

ที่นี่เป็นที่ค่อนข้างมี Night Life ถนนก่อนสักช่วงเที่ยงคืนยังมีรถวิ่งไปวิ่งมาตลอด ยังมีคนเดินไปมา ห้างช่วงกำลังจะปิดสัก 21.30 ก็ยังมีคนยังกินอาหารกันอยู่คึกคัก ส่วน Cafe ก็ปิดดึก ที่เห็นทั่วไปกว่าจะปิดกันก็ 3 ทุ่ม ในขณะที่ไทย Cafe ส่วนใหญ่ไม่เกิน 6 โมงก็ปิดกันหมดแล้ว ส่วนพวก Pub & Bar ก็มีค่อนข้างเยอะ คนเวียดนามหลังจากเลิกงานก็ชอบไปกินกันเป็นวัฒนธรรม ที่นี่นิยมกินเบียร์มาก ขนาดที่ว่าราคาเบียร์ในร้านสะดวกซื้อแทบไม่ต่างกับโค้ก (กระป๋องละประมาน 20 บาท)

Ho Chi Minh City at night | Georgios Domouchtsidis

2) การท่องเที่ยว

GDP การท่องเที่ยวของเวียดนาม อยู่ที่ 7% ของมวลรวมทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าไทยที่ 10% ทำให้เวียดนามได้รับผลกระทบเรื่องท่องเที่ยวในช่วงปิดประเทศน้อยกว่า ซึ่งพวกแหล่งท่องเที่ยวของเวียดนามก็มีอะไรให้เที่ยวสวยๆมากมาย

Saigon Central Post Office | Photo by Lumi W on Unsplash

ผมมาช่วงต้นเดือน ส.ค. ปี 2022 เป็นช่วงที่เวียดนาม เปิดประเทศเต็มที่เรียบร้อย มีคนใส่หน้ากากบ้าง ไม่ใส่หน้ากากบ้าง ถ้าเป็นสถานที่ Landmark ที่เป็นสถานที่ทัวร์ จะเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ รถทัวร์ เยอะแยะมากมายอย่างเห็นได้ชัด

แต่การเดินทางเนื่องจากยังไม่มีรถไฟฟ้าก็อาจมีความลำบากนึดนึง การเรียก Taxi ก็ถือว่ายังมีการโดนโกงคล้ายๆเป็นต่างชาติเรียก Taxi ในเมืองไทย แม้จะพกเงินมาจ่ายพอดีกับมิเตอร์ เขาก็ไม่รับและให้จ่ายแบงก์ใหญ่ และบางทีก็มีการโกงมิเตอร์ ยิ่งเป็น Taxi คันเก่าๆอยู่ในย่านท่องเที่ยว แนะนำว่าให้เรียกจาก Grab จะดีกว่า ส่วนถ้าเป็น Taxi ปกติแบบดีๆหน่อยไม่โดนโก่งราคา นอกจากจ่ายเงินสด สามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิตได้ ในเรื่องราคา ส่วนตัวคิดว่าแพงกว่าเมืองไทย อย่างผมนั่ง Taxi ประมาณ 8 km โดนไปประมาน 250 บาท ขณะที่ไทยน่าจะไม่เกิน 200 บาท อย่างมากสุด

ธุรกิจท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นไกด์ ทัวร์ หรืออะไรเกี่ยวกับท่องเที่ยวต่าง คิดว่าตอนนี้ก็เป็นโอกาสที่เข้ามาทำได้แล้ว หรือถ้ามี Solution อะไรที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการท่องเที่ยวที่เวียดนาม เช่น Belugg พวกบริการขนส่งกระเป๋าไปที่โรงแรม หรือพวก Local Alike บริการแพคเกจเที่ยวกับคน Local เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นโอกาสมาก แต่ก่อนเข้ามาก็อาจต้องดูกฏระเบียบอีกที เพราะ ที่นี่ก็ค่อนข้างเคี่ยวกับการต่างชาติที่มาลงทุน

3) อาหาร

อาหารของเวียดนามจะเน้นไปทางผัก ซึ่งผักบางอันจะมีกลิ่นฉุนมาก และมักใส่ประกอบอาหารแทบทุกอย่าง และเนื้อที่ใช้ชอบเป็นเนื้อวัว โดยอาหารที่นิยมในเวียดนาม เช่น เฟ๋อ, แซนวิชเวียดนาม, ยำเวียดนาม โดยอาหารของเขาจะไม่ค่อยรสจัดเท่าไรถ้าเทียบกับไทย ส่วนถ้าเป็นเครื่องดื่ม กับขนม จะเน้นไปทางหวานมาก คนที่ไม่ชอบหวานบางครั้งอาจถึงกับกินไม่ได้

อาหารที่นี่ค่อนข้างมีความหลากหลาย นอกจากร้านอาหารเวียดนาม ก็มีร้านอาหารหลายสัญชาติเข้ามา ทั้งฝั่งตะวันตก อาหารจีน อาหารไทย อาหารญี่ปุ่น ฯลฯ ที่เป็นที่น่าแปลกใจที่เราจะไม่ค่อยเห็นร้านพวก Fast Food ตามห้าง หรือตามข้างทางสักเท่าไร เพราะ ที่นี่ถ้าเป็นอาหารเวียดนามการทำก็ค่อนข้างจะรวดเร็วอยู่แล้ว และค่อนข้างถูกกว่าพวก Fast Food ด้วยเหตุนี้คนเวียดนามจึงไม่ค่อยนิยมกิน Fast Food กัน

ในขณะที่ถ้าเป็นร้านอาหารที่ให้ความพิถีพิถัน อย่างร้านอาหารไทย คนเวียดนามก็ให้ความนิยม และร้านไหนที่ติดแบรนด์แล้วไม่ว่าของชาติไหน ก็จะมีคนเข้าคิวรอกันตลอด ยกตัวอย่างเช่น ร้าน Local ที่ชื่อว่า Pizza 4P ที่ไม่ว่าผมจะไปสาขาไหนก็จะรู้สึกว่ามีคนเยอะอยู่ตลอดเวลา และร้านไหนดังจากต่างประเทศที่เข้ามา คนก็จะเห่อแห่เข้ามาต่อคิวไม่แพ้เมืองไทยเลย

ส่วนถ้าถามว่าร้านไหนดังๆในเมืองไทย ถ้ามาเปิดในเวียดนามจะดังด้วยเหมือนกันไหม ต้องบอกว่าไม่เสมอไป เช่น Momo ที่ผมเห็นสาขาที่โฮจิมินห์นี่แทบไม่มีใครเข้าร้าน ดังนั้นก่อนเข้าไป อาจต้องศึกษาตลาดกับ Taste คนเวียดนามดีๆ สร้าง Brand ให้ได้ เพราะ บอกได้เลยว่าตลาดอาหารของเวียดนามค่อนข้าง Fierce มาก และที่เช่าก็ค่อนข้างหายาก และราคาแพง

ในด้าน Street Food ก็มีบ้าง แต่ไม่มากเท่าเมืองไทย อย่างผมซื้อแซนวิชเวียดนามข้างทางก็ตกชิ้นละประมาน 30 บาท

ส่วนถ้าถามว่าถ้าอยากไปเปิดร้านอาหารในเวียดนาม เปิดขายอะไรดี? ก็ถ้าแบบไม่คิดอะไรมาก ก็แนะนำให้ไปเปิด Cafe ขายพวกกาแฟ, ชา, ชานมไข่มุก เลย เพราะ ที่นี่นิยมดื่มเครื่องดื่มมากๆไม่แพ้เมืองไทย หรือเปิดเป็นร้านอาหารไทยก็ได้ แต่ต้องทำแบรนด์ดีๆหน่อย หรือถ้าให้ดีสุด คือ ต้องเอาแบรนด์ชื่อดังมาเปิดเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างต้องทำให้ส่ง Food Delivery ได้ เพราะ ที่นี่เป็นเมืองแห่งมอเตอร์ไซด์ที่มีคนใช้แอปสั่งอาหารเยอะจริงๆ

โดยถ้าจะทำอาหารเล่นกับตลาดคนต่างชาติในเวียดนาม แนะนำให้ทำการตลาดบนแอป Tripadvisor ที่เป็นแอปรีวิวพวกร้านอาหารและที่พักครับ ส่วนถ้าจะเป็นร้านกับพวกคน Local ให้ไปเล่นกับพวกแอป Foody ก็ดีครับ

ส่วนถ้าเป็นแอป Food Delivery ที่นี่มีมากมาย แต่ถ้าเป็นคนไทยมาเวียดนามส่วนใหญ่เขาก็จะใช้ Grab กัน เพราะ มันไม่ต้องโหลดผ่าน App Store ของเวียดนาม ส่วนแอปอื่นๆที่นิยมก็มี Go-food, Now- Shopee Food, BAEMIN.

4) การเงิน

อย่างที่บอกก่อนหน้านี้เลยถ้ามองไปที่ถนนนอกจาก Cafe แล้ว ก็จะเห็น Bank ตั้งเกลื่อนกันไปหมด ในเวียดนามปัจจุบันมีแบงก์ที่มาเปิดมากกว่า 60 แบรนด์ทั้งของเวียดนามเอง และของต่างประเทศ โดนแบรน์ไทยที่เข้ามาตอนนี้ก็มีของ SCB และ Bangkok Bank และล่าสุดที่เพิ่งน้องใหม่ที่เข้ามา คือ KBank กับ Exim Bank โดยในทริปนี้ ทางผมก็ได้มีโอกาสเข้าไป Visit ออฟฟิสกสิกรที่เมืองโฮจิมินห์ และได้เข้าร่วมงานพิธีเปิดสาขา

ถามว่าการที่จะมาทำธุรกิจการเงิน การธนาคาร ในประเทศเวียดนาม ยากไหม? บอกได้เลยว่าสำหรับต่างชาติ การได้รับใบอนุญาต License จาก Regulator ถือว่ายากมาก กว่าจะได้ บางทีขอไปอาจต้องรอเกือบถึง 10 ปี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะ เวียดนามก็ยังเปิดโอกาส และตอนนี้เราก็ได้เห็นธนาคารต่างประเทศหลายๆที่เข้ามาทีเวียดนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ส่วนการจ่ายเงิน ที่นี่คือยังใช้เงินสดซื้อรถเหมือนเมื่อก่อนไหม? บอกได้เลยว่าถ้าเป็นช่วง 10 ปีก่อนอาจเป็นแบบนั้น แต่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ เวียดนามพัฒนาตัวเองเร็วมาก แม้ยังอาจไม่ขนาดถึงกับเมืองไทย ที่แทบทุกร้านค้ามี QR Code ให้แสกนจ่ายสบายๆ ซึ่งของเวียดนามการจ่ายเงินถ้าเป็นร้านค้าในห้าง หรือเป็นร้านดีๆหน่อย ก็สามารถรูดบัตรเครดิต และใช้ QR Code แสกนให้จ่ายเงินได้ ขึ้น Taxi ก็รูดบัตรได้ แต่ถ้าเป็นร้านค้าตามข้างทาง หรือแบบไม่ได้ดูดีหน่อยก็ยังคงต้องใช้เงินสด ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คือเวียดนามจะเหมือนอยู่ใน Stage การจ่ายเงินเดียวกับไทยช่วงก่อนโควิด

มื่อก่อนที่คนเวียดนามแทบไม่มีคนกล้าเปิดบัญชีธนาคารเลย ตอนนี้ก็เริ่มมีคนหันมาเปิดบัญชีธนาคาร และใช้ Mobile Banking เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อ 5 ปีก่อน มีประชาชนทั่วเวียดนามเปิดบัญชีเงินฝากแค่ 30% ในขณะที่ตอนนี้ Jump ไปที่ 68% แล้วเทียบกับเมืองไทยที่มีคนฝากเงินทั่วประเทศประมาณ 80%

โดยส่วนนี้ก็ถือเป็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจการธนาคารในเวียดนามอีกมาก โดยดูง่ายๆประชากรไทยมีทั้งหมด 70 ล้านคน ธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากสูงสุดประมาน 20 ล้านบัญชี ในขณะที่ของเวียดนามมีประชากร 98 ล้านคน ธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากสูงสุดมีแค่ 10 ล้านบัญชีเท่านั้น

ส่วนในด้านการลงทุนก็ถือว่าใช่ย่อย ในช่วง 5 ปี ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม VNINDEX ขึ้นมาจาก 760 ไปสูงสุดเท่าตัวถึง 1,500 ก่อนที่ตกลงมาช่วงโควิดเป็น 1,260 ส่วน Index ของไทยผ่านมา 5 ปีก็ยังอยู่กับที่ ซึ่งของเวียดนามถือว่าตลาดหุ้นโตเยอะมาก ทั้งที่ดอกเบี้ยเงินฝากสูงถึง 4 % คนก็ยังมาลงทุนหุ้น

ในส่วนของตลาดคริปโต และ NFTs ก็ถือว่าคึกคัก ในเมืองโฮจิมินห์ ถึงกับมีตู้ ATM กด Bitcoin เป็นที่น่าเสียดายที่ผมยังไม่ได้มีโอกาสลองกด ซึ่งถามตอนนี้ตลาดคริปโตไปถึงขนาดไหน เท่าที่ผมสัมภาษณ์คนเวียดนาม ก็คงยังอาจอยู่เฉพาะกลุ่ม เพราะ ตอนนี้คนทั่วไปจะเอนไปฝากเงินในธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง และลงทุนในตลาดหุ้นที่อยู่ในช่วงขาขึ้นมากกว่า อารมณ์เหมือนในช่วงก่อนยุคต้มยำกุ้งบ้านเรา

Photo by André François McKenzie on Unsplash

ดังนั้นผมให้เมืองไทยเรื่องคริปโต และ NFTs เหนือกว่า แม้ว่าเขาจะมีตู้ Bitcoin และคนทำ Axie ที่เราไม่มี แต่ Community คริปโต และ NFTs ของไทยเราแข็งจริง ขนาดที่ว่ามีคนออกมาทำ Stat คนไทยมีอัตราส่วนการถือครอง NFTs สูงที่สุดในโลกแล้ว

5) เทคโนโลยี

ผมได้มีโอกาสไป Visit บริษัท FPT Information System หนึ่งในบริษัทในเครือ FPT Group ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญที่สุดในเวียดนาม ด้วยพนักงานกว่า 40,000 คน มีสำนักงานใหญ่หลักๆอยู่ฮานอย กับโฮโจมินห์ ส่วนตัวผมหลังจากที่ได้คุย ก็ได้เห็นแนวคิดและเทรนด์อะไรหลายๆอย่าง และก็ได้รู้ว่าเรื่องเทคโนโลยีของเวียดนามมาไกลจริง อาจพูดได้ว่าแซงเมืองไทยเลย โดยถ้าถามว่ากลุ่มอะไรที่ FPT ได้รายสูงสุด ก็บอกได้เลยว่าเป็นกลุ่มธนาคารที่เป็นกลุ่มที่กินรายได้ไปเกินกว่า 40–50% แล้ว ทั้งการรับจ้างทำระบบทั้งในและนอกประเทศ

ที่เวียดนามให้ความสำคัญกับ Technology มากจริงๆ งานในกลุ่ม IT ถือว่าเป็นที่นิยมมาก โดยปัจจุบันที่เวียดนามมี Startup ที่โตเป็น Unicorn มีมากถึง 4 บริษัท และมีอีก 11 บริษัท ที่กำลังตามมา ในขณะที่ไทยปัจจุบันพึ่งมี Unicorn 2 บริษัท เท่านั้น

ในส่วนของโทรคมนาคมตอนนี้ก็ยังถือว่ายังแย่กว่าไทย เน็ตตอนนี้ยังใช้ 4G แต่ก็ไม่ได้มีอุปสรรคใช้งานอะไรมาก มีเครือข่ายให้เลือก 6 บริษัท มากกว่าไทย ทำให้ราคาเน็ตส่วนตัวคิดว่าถูกกว่า โดยบริษัทที่ใหญ่สุด คือ Viettel

ส่วนบนรถเก๋งบนท้องถนนที่ผมส่วนใหญ่จะเป็นรถญี่ปุ่นพวก Honda, Toyata และก็จะมีแบรนด์ Local ที่ชิฟไปทำรถไฟฟ้า EV ชื่อ Vinfast ที่ปัจจุบันก็ขยายไปสู่ตลาดอเมริกาเรียบร้อย นับว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาก ที่สามารถขยายแบรนด์รถไปสู่ระดับ Worldwide

ในส่วนแอป Chat ก็มีบริษัทในเวียดนามทำเอง ชื่อแอปว่า Zalo ที่เป็น Unicorn ตัวแรกของเวียดนาม ที่ปัจจุบันมี User ใช้เกือบทั้งประเทศ ด้วยจำนวน 70 ล้านคน และนอกจากนี้ยังมี Startup เวียดนาม ที่ทำแอป Local ใช้เองสำเร็จในประเทศมากมาย ทั้ง VN Pay ทำเรื่องจ่ายเงิน, Sendo ซื้อของออนไลน์, Axie NFT Gamefi ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเวียดนามเขามีเทคโนโลยีทำใช้เองหลายบริษัทเลย ต่างจากของไทยที่ส่วนใหญ๋เทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มต่างๆแทบเป็นของนอกประเทศหมด ไม่ว่าจะเป็น Line, Shoppee, Lazada แบรนด์ไทยไม่สามารถขึ้นมาแข่งได้เลย ถามว่าที่เวียดนามมีแพลตฟอร์มต่างประเทศมาแข่งไหม ก็บอกได้เลยว่ามี เช่น ในกลุ่ม eCommerce ก็มี Shoppee, Lazada เข้า แต่เขาก็มี Local brand อย่าง Sendo, Tiki มาแข่งไม่แพ้กัน

บอกได้เลยว่าการทำ Startup ในเวียดนามเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก นอกจากที่มี Resource คนมาพัฒนาระบบได้แล้ว ทางตลาดยังค่อนข้างใหญ่ ด้วยจำนวนคน 98 ล้านคน ที่มากกว่าเมืองไทย และมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีแต่คนหนุ่มวัยทำงาน ตลาดสามารถ Scale ได้ Technology Adoption ก็เริ่มสูง

6) สินค้าไทย

ในส่วนเรื่องการส่งออกสินค้าไทยไปเวียดนาม ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์คนที่ทำธุรกิจ Export สินค้าไทยกว่า 18 ปีมาที่เวียดนามในช่วงระหว่างทริป ก็บอกได้เลยว่าคนเวียดนามค่อนข้างตีค่าสินค้าไทยค่อนข้างดีมาก นับเป็น Imported Product แต่ก็อาจจะไม่ใช่ดีที่สุด ถ้าเทียบระดับ ก็อาจมากกว่าจีน แต่อาจด้วยกว่าสินค้าที่มาจากญี่ปุ่น, เกาหลี และฝั่งตะวันตก

Photo by John Simmons on Unsplash

แต่ถึงอย่างไรก็ตามเนื่องจากการทำธุรกิจ Vietnam ค่อนข้างมี Regulation เยอะ การที่ไปดีลหน่วยงานต่างๆในเวียดนามด้วยการไปคนต่างชาติ กับคน Local ต่างกัน ดังนั้นการมีพาร์ทเนอร์ทำธุรกิจในเวียดนามค่อนข้างสำคัญมาก และทุกอย่าง No Free Lunch

7) คนทำงาน

คนทำงานส่วนตัวผมจากการที่ทำงานกับคนเวียดนามด้วย กับได้มีโอกาสคุยกับทางผู้บริหารคนระหว่างทริป ก็เห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าคนเวียดนามเป็นคนที่ค่อนข้าง Nice มีความทะเยอะทะยาน อยากเติบโต ส่วนเรื่องขยันอาจจะขึ้นกับนิสัยของแต่ละคน โดยพวกค่าจ้างถ้าเป็นพนักงานในช่วงเริ่มต้นถือว่าไม่ต่างกับที่ไทยมาก และมีคุณภาพ Average ที่ดีกว่าไทย ภาษาดี ทำงานใช้ได้ แต่เมื่อไรที่ไปอีกระดับ ในเรื่องของคนมี Talent หรือไปถึงระดับ Senior คนไทยมีแนวโน้มที่จะดีกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ส่วนถ้าเป็น Unskilled Labor ที่เวียดนามมีค่าจ้างต่อวันต่ำกว่าไทยมาก อยู่ที่ประมาน 200 บาท จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลย ที่ต่างชาติจะย้ายฐานการลงทุนจากไทยมาเวียดนามมากขึ้น เพราะ ทั้งค่าแรงถูกกว่า และคนทำงานก็ถือว่าได้คุณภาพออกที่ค่อนข้างดีเลย

Photo by Hieu An Tran on Unsplash

สรุปส่งท้าย

เป็นอย่างไรบ้างครับเพื่อนๆเห็นโอกาสธุรกิจในเวียดนามบ้างยังครับ ความจริงส่วนที่ผมไปโฮจิมินห์ก็ยังเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆครับ ถ้าเพื่อนๆมีเพิ่มเติมอะไรสามารถแชร์ได้เลยนะครับ ในส่วนตัวของผมคิดว่าพวก Infrastructure ยังแย่กว่าไทยครับ แต่มันมีอะไรหลายอย่างที่เริ่มนำไทย และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ยิ่งกลุ่มเทคโนโลยี และการส่งออก ซึ่งทางผู้วิเคราะห์ว่าเวียดนามอาจจะแซงไทยจริงครับ แต่คงไม่เร็วๆนี้อาจจะอีกประมาน 15 ปี เพราะด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ถือยังห่างประมานเท่าตัว โดยก็เป็นเวลาเหมาะเจาะให้คนไปเริ่มทำธุรกิจในช่วงกำลังเติบโต ซึ่งอันนี้ก็ถือเป็นโอกาสของเพื่อนๆที่อยากทำธุรกิจในเวียดนามครับ แต่เนื่องจากถึงจะมีโอกาสเยอะ แต่คู่แข่งก็เยอะเช่นกัน เข้าไปก็อาจตลาด Red Ocean หน่อย แต่ก็น่าลองครับ และก็อย่าลืมนะครับสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยการทำธุรกิจที่เวียดนามต้องมีพารท์เนอร์ทำธุรกิจที่ดีนะครับ

สำหรับใครที่อยากให้ผมได้แชร์บทความดีๆแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกด Follow ผมกันนะฮะ วันนี้ผมก็ขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ🙌🙌

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

No responses yet