EP 72: Venture Builder อาชีพในฝัน สำหรับคนอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ

Nut P
4 min readJun 25, 2022

พอดีช่วงนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสได้คุยกับคนค่อนข้างเยอะ และได้ถูกสัมภาษณ์จนได้ไปเจอกับงานอาชีพแนวใหม่ในกลุ่ม Startup ที่เรียกว่า Venture Builder (VB) ครับ เพื่อนๆเคยได้ยินกันไหมครับ.? บอกได้เลยว่างานนี้เป็นงานที่ฮอตมากในต่างประเทศ และในไทยบางองค์กรก็เริ่มมีการบุกเบิกสร้างคนในตำแหน่งนี้แล้ว ถามว่าทำไมตำแหน่งนี้ถึงคนอยากเป็นกัน ก็ด้วยเนื้องานที่ทำให้คุณได้เป็นเหมือนเป็นทั้ง CEO ทั้งเจ้าของธุรกิจกับองค์กรชื่อดัง สร้างทั้ง Product และบริษัทเองตั้งแต่ต้นโดยที่คุณไม่ต้องใช้เงินทุนตนเอง จนสุดท้ายคุณได้เป็นเจ้าของในสิ่งนั้นจริงๆ ซึ่งเหมือนเป็นเป้าหมายสูงสุดของทำงานของคนหลายๆคน ที่คุณสามารถ Take Shortcut ก้าวข้ามไปถึงจุดสูงสุดนั้นได้เลยจากเดิมที่เป็นแค่พนักงานออฟฟิส หรือเป็นผู้ทำธุรกิจที่ไม่สามารถโตไปถึงระดับ Mass ได้ เป็นอย่างไรบ้างครับ น่าสนใจไหมครับ ถ้าอยากรู้จักกับคำว่า Venture Builder เพิ่มอีก ก็เชิญติดตามต่อกันได้เลยครับผม👇👇

“อาชีพที่ออกมาแบบให้คนโอกาสคนตัวเล็กทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้”

Venture Builder คืออะไร..?

หน่วยงานในองค์กรที่ทำหน้าที่เหมือนโรงงานผลิตธุรกิจ หรือ Startup ใหม่ๆออกมา ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในบริษัทแม่อยู่แล้วมาช่วยผลักดันให้สำเร็จ จนสุดท้าย Spin Off ออกเป็นบริษัทลูกใหม่ หรืออื่นๆเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากล้ำแก่บริษัทแม่ในอนาคต บางคนเขาก็เรียกกันว่า “Startup Studio”

Photo by Marvin Meyer on Unsplash

ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับหน่วยงานขององค์กรในยุคปัจจุบันง่ายๆ ก็จะเหมือนเป็นแผนก R&D ที่มีไว้เพื่อพัฒนา Innovation ใหม่ๆให้แก่องค์กรใน Product Line เดิมให้ก้าวล้ำคู่แข่ง

แต่การทำ Venture Builder มัน Beyond มากกว่านั้น เพราะ สิ่งที่ทำอาจไม่ได้จำกัดอยู่แค่เป็นการสร้างสิ่งใหม่ๆใน Product Line เดิม แต่อาจเป็นสิ่งที่ฉีกแนวไปเลย มีโมเดลธุรกิจใหม่ มีการลง Resource เพื่อในการทดลองไอเดียออก Product ทำต้นน้ำยันปลายน้ำ จำลองแนวคิดการสร้างบริษัทแบบ Startup ตั้งแต่วันแรก เพื่อให้ได้ Product ยุคใหม่ ที่สามารถ Disrupt ตลาดได้จริง สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดได้เหมือนโมเดลธุรกิจ Startup ที่ประสบความสำเร็จกันในปัจจุบัน โดยตัวอย่างบริษัท VB ที่ทำในไทยปัจจุบัน เช่น Kasikorn X, SCB 10X ส่วนของต่างประเทศที่ดังๆ เช่น High Alpha, Rocket Internet, Rocket Internet

ถ้าเพื่อนๆใครยังนึกไม่ออกอีก ผมขอยกตัวอย่างอีกโมเดลที่ไกล้เคียงกับ VB นั่นคือ VC หรือ Venture Capital ที่ผมเชื่อว่าเพื่อนๆคงเคยได้ยินกันมาบ้าง ซึ่งเป็นโมเดลบริษัทที่มีทุนสูง ไป Acquire หรือลงทุนซื้อ % หุ้นในบริษัทภายในที่มี Potential และขายกลับหรือเอาผลตอบแทนระยะยาวหลังจากเติบโตในอนาคต ซึ่ง VB ก็คล้ายๆกันแต่เปลี่ยนจากลงทุนที่บริษัทภายนอก เป็นการลงทุนใน Resource ภายในจ้างคนเก่งๆว่าที่ Founder เป็นพนักงาน เพื่อให้มาสร้างบริษัทใหม่ภายในองค์กรให้สำเร็จแทนนั่นเอง

ทำไม Venture Builder ถึงพิเศษ..?

เพราะ การทำ Venture Builder ก็จำลองเหมือนกับการที่คุณเป็น Founder ทำ Startup ซึ่งถามว่าการทำ Startup ให้ Success เองนั้นยากไหม.?

บอกได้เลยว่ายากมาก ไม่ใช่แค่คุณต้องมีทุนหนา แต่คุณยังต้องอาศัยโชคด้วย เขาว่ากันว่าธุรกิจ Startup ที่เปิดมา 5 ปี จะมีรอดแค่ไม่ถึง 1% เท่านั้น และ Startup 1% ที่รอดมานี้ก็อาจจะไม่ใช่สตาร์ทอัพที่เติบโตแบบระเบิดระเบ้อใดๆ

Photo by Jason Goodman on Unsplash

จะดีกว่าไหมถ้าคุณทำ Startup เองและ Failed แล้วแค่ล้มบนฟูก ไม่ต้องล้มละลาย

มีบริษัทคอยช่วยคุณหนุนหลัง ที่ช่วยทำให้คุณรับรู้ว่าความล้มเหลวไม่ใช่ของแสลง แต่เป็นก้าวหนึ่งที่ทำให้คุณสร้าง Product ที่ Success ในอนาคต

ไม่ต้องไปหาคนเอง มีทีมงานเก่งๆคอยช่วยทำงาน มี Resource พร้อมสนับสนุน มีฐานลูกค้าพร้อมให้ทดลองตลาด และใช้งาน

และถ้าคุณ Success จน Spin Off บริษัทได้ คุณก็มีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัทและได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้วย นั่นคือ Model ของ Venture Builder

บางคนอาจสงสัยว่าโมเดล Venture Builder มันดีขนาดนี้ ทำไมไม่ค่อยมีบริษัทไทยทำ

เพราะ บริษัทที่กล้าทำ Venture Builder อาจต้องเป็นบริษัทที่มีแนวคิด Crazy หน่อย กล้าได้ กล้าเสีย ถ้า Product ที่ทำออกมาไม่ Success ก็ไม่เอาเป็นเอาตาย ซึ่งนอกจากที่ผู้บริหารต้องมีแนวคิดและ Culture ที่แปลกประหลาดไม่เหมือนบริษัทอื่นทั่วไปแล้ว ยังต้องมีทุนในการลง Resource อย่างมหาศาล ซึ่งคงมีองค์กรส่วนน้อยที่จะกล้าลงอะไรแบบนี้แน่ๆ

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท VB A จ้างนาย Z และโยนเงินให้ 1,000 ล้านมาให้สร้าง Product อะไรก็ได้เลย นาย Z ทำการ Research และได้ตัดสินใจสร้าง Product Defi บน Terra Chain ด้วยเงินจำนวน 1,000 ล้านนี้ ซึ่งช่วงแรก Defi สร้างผลตอบแทนได้อย่างดีจาก 1,000 ล้าน เป็น 3,000 ล้าน ในเหรียญ Luna ด้วยเวลาไม่นาน แต่อยู่ดีๆเหตุไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เหรียญ Luna มูลค่าตกไปเกือบ 0 ทำให้มูลค่าเงินลงทุนใน Terra Chain ตกจาก 3,000 ล้าน เหลือเพียง 1 ล้านบาท เป็นใครเจอ ใจก็คงลงไปอยู่ถึงตาตุ่มเหมือนๆกันใช่ไหมครับ ยิ่งคนเป็นเจ้าของเงิน

พอนึกภาพออกไหมครับ ถ้าผู้บริหารในบริษัท VB A ไม่ได้มีแนวคิดแบบกล้าได้ กล้าเสีย วันรุ่งขึ้น หน่วยงานนั้นคงโดนยุบแผนก หรือไม่ก็นาย Z โดนไล่ออกแน่นอน 😰

เราจะหางาน Venture Builder ได้จากที่ไหน..?

แน่นอนว่าการใช้ Keyword Venture Builder ไป Search ในเว็บหางานก็คงจะเป็นอะไรที่ง่ายสุด แต่บางครั้งในเว็บหางาน ชื่อตำแหน่งงานก็อาจไม่ได้เขียนคำว่า Venture Builder ตรงๆ แต่อาจแฝงไปใน JD โดยใช้คำแนวๆว่า Act as CEO, Founder มีหน้าที่สร้างและดูแล Product ใหม่แบบ End to End ให้บริษัท โดยอาจใช้ชื่อตำแหน่งว่า Product Owner, Product Manager แทน เป็นต้น

บางคนอาจบอกว่ามันก็เหมือนทำตำแหน่ง Product Owner นั่นแหละ ผมบอกได้เลยว่า Venture Builder มันจะเหนือไปมากกว่านั้น เช่น Product Owner อาจจะรับผิดชอบแค่บาง Feature ของ Product แต่ของ VB ต้องรับผิดชอบทั้ง Product เลย และอาจต้องรับผิดชอบเรื่องอื่นๆด้วย ซึ่งใช้คำว่า CEO น่าจะใกล้เคียงกว่า

Photo by Hunters Race on Unsplash

อันนี้เป็นโพส Public ของคนทำ Ape Board ที่เป็น Product ที่ Spin off มาจาก SCB10X และได้ถูกบริษัทต่างชาติ Acquire ต่อเป็นที่เรียบร้อย เผื่อเพื่อนๆอ่านประสบการณ์จากคนทำจริงแล้วจะได้เห็นภาพชัดขึ้นครับ

Case Study : Ape Board

คุณสมบัติของคนที่จะทำ Venture Builder

“Founder Skill+ Product Management Skill”

ให้จำลองตัวเองเหมือน Founder คนๆหนึ่งเลยครับ ถ้าจะเป็น Founder ทำ Startup หนึ่งจริงๆ ยังขาด Skill อะไร ถ้าเราเข้าไปทำงานที่นั่น เราจะไปสร้าง Product อะไรให้เขาจน Spin off บริษัทให้กลายเป็น Unicorn ได้ คุณเป็นคนที่เชี่ยวชาญ Product ในกลุ่มนี้จริงๆไหม และเป็นคนที่เปิดกว้างพร้อมที่จะ Brainstorm กับคนเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ๆหรือไม่

ถามว่า Background ต้องเคยทำงานด้านไหนมา? บอกได้เลยครับว่า ได้หมดครับ บางคนก็มาจากฝั่ง Business บางคนก็มาจากฝั่ง Dev ซึ่งคนที่มาจากทั้ง 2 ฝั่ง ต่างก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งคนที่จะทำ VB ก็ต้องอุดรอยรั่วข้อเสียที่ผ่านมานั้น เช่น คนเป็น Dev รู้เรื่อง Technical และ Product เยอะ แต่อ่อนเรื่อง People และ Communication ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของ Founder อันนี้ก็ต้องไปฝึกเพิ่มครับ

ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรแล้วว่าอยากได้คนที่มีความสามารถด้านไหนเป็นพิเศษเพิ่ม แต่ผมบอกได้เลยว่าไม่มีสูตรตายตัว อย่างองค์กรหนึ่งที่กำลังสรรหา Venture Builder ที่ผมได้สัมภาษณ์มา เขาก็อยากได้คนหลายประเภท มาจาก Background ที่ต่างกับคนในทีม เวลาเข้ามา Brainstorm กัน จะได้มีหลายๆความคิด

ตอนสัมภาษณ์ตำแหน่ง VB นี้ก็อาจต้องสัมภาษณ์หลายรอบหน่อย ดีไม่ดีอาจได้สัมภาษณ์กับคนทั้งบริษัทเลย เพราะ ไหนๆก็จะมาใช้ Resource ของเขาเต็มที่ละ ก็ต้องมีขวากหนามขึ้นมาเป็นอุปสรรคให้สมศักด์ศรีบ้าง โดยตอนช่วง Screen แรกๆบางทีเขาก็อาจมีให้โจทย์มาเช่นว่าถ้าเราเข้ามาทำ VB เราจะทำ Product อะไร เหมือนกับแข่งประกวด Startup ถ้าเขาสนใจก็จะเรียกเราไป Pitch และทำการสัมภาษณ์ต่อ ก็ลองเตรียมตัวไปให้ดีครับ

บางคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ และไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะกับทำ Venture Builder ไหม ผมแนะนำว่าให้ลองไป Join พวกงาน Hackathon หรือแข่งประกวด Startup และลองเป็น Lead ดูตัวเองว่าสามารถทำได้ดีหรือไม่ ซึ่งผมบอกได้เลยว่าบางคนที่เคยเข้างานพวกนี้ ก็เคยมีแบบโดนชวนให้ทำงาน Venture Builder ต่อหลังจบงานก็มีมาแล้วนะ

ส่วนงานคร่าวๆที่ VB ทำ ที่ผมสัมภาษณ์มาจากคนทำ VB จริงในองค์กรหนึ่งแบบ High Level ซึ่งมันจะคล้ายๆกับแผนภาพที่ผมเอาจาก LEANSTACK เผื่อเป็นตัวช่วยตัดสินใจสมัครงานนี้ครับ

Source : LEANSTACK PLAYBOOKS
  • Ideation >> Brainstorm หาไอเดีย, ทำ Research, Pitch ขายไอเดียให้ผู้บริหาร เปรียบเสมือนว่าเป็น Investor ที่จะให้ทุนเราไปทำต่อ
  • Problem/Solution Fit >> Validate Idea, ทำ MVP, ทำ Focus Group, ทำ Research เพิ่ม
  • Market Fit >> ประสานกับฝั่ง Marketing เริ่มเอาเงินลงทุนไปทดสอบตลาด หาตลาดที่ใช่ ลูกค้าที่โดน, Monitor หา Feedback พัฒนา Product เพิ่มเติมให้ตอบโจทย์ตลาด
  • Scale >> กะหน่ำลงทุนในตลาดเพื่อให้ Product โตแบบก้าวกระโดด, แก้ปัญหาต่างๆและช่วยดัน Product ให้อุปสรรคไม่มาขัดขวางในการเติบโตนั้น
  • Spin Off >> แยกออกมาตั้งบริษัทเอง กลายเป็นทำหน้าที่ CEO ของบริษัทใน Product ที่ Spin Off ออกมาอย่างแท้จริง

ถ้า Failed จุดไหน ก็เริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ ทำวนไปเรื่อยๆจนกว่าจะ Spin Off สำเร็จ

จะเห็นได้ว่าถ้าตัดสินใจมาทำ Vendor Builder ไม่ต้องกลัวว่าเหนื่อย เพราะ ว่าเหนื่อยแน่นอนฮะ 55+

สรุปส่งท้าย

จบไปแล้วครับอีกตอน เป็นอย่างไรบ้างครับเพื่อนๆ พออ่านจบแล้ว งาน Venture Builder กลายเป็นงานในฝันใหม่ของเพื่อนๆเลยไหมครับ บางคนอาจบอกว่างานมันดีแบบนี้ คู่แข่งน่าจะเยอะ บอกได้เลยว่าในไทยถือว่ายังน้อยครับ เพราะคำว่า Venture Builder ถือว่าเป็นศัพท์ใหม่ในไทยมากๆ ร้อยทั้งร้อยที่ผมแอบไปถามมาแทบไม่มีใครรู้จัก ถ้าเป็นคนที่รู้จักส่วนใหญ่ที่ผมเจอ ก็จะเป็นคนที่อยู่ในวงการนี้อยู่แล้วหรือใกล้เคียงอย่างพวกอยู่ทีม VC ทำเกี่ยวกับ Startup ซึ่งก็ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อย ยังมีโอกาสให้คว้าอีกเยอะ และผมเชื่อว่าองค์กรในไทยก็คงจะเริ่มทำเรื่อง Venture Builder มากขึ้นเรื่อยๆ และสุดท้ายนี้ผมก็หวังว่าบทความนี้ของผมจะช่วยให้คนรู้จักคำว่า Venture Builder กันมากขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ และรวมถึงอาจจะไปกระตุกช่วยองค์กรใดๆให้หันมาทำ Venture Builder กันมากขึ้น ถ้าเป็นแบบนั้นได้จริง ผมก็ขอแอบปลื้มใจด้วยครับ😄

สำหรับใครที่อยากให้ผมได้แชร์บทความดีๆแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกด Follow ผมกันนะฮะ วันนี้ผมก็ขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

No responses yet