EP 7 : Rubicon Global ยูนิคอน Uber จัดการขยะ

Nut P
3 min readFeb 15, 2020

ทุกท่านรู้จัก Uber กันใช่ไหมครับ..? สตาร์ทอัพทำแอปเรียกรถที่ดังกระฉ่อนไปทั่วโลก ใครจะไปรู้ว่าวันนี้จะมีนักธุรกิจหัวใสใช้คอนเซปจาก Uber ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจจัดการขยะ จนสุดท้ายได้กลายเป็นยูนิคอน หรือบริษัทที่มีมูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาห์ จนโลกตะลึง (ถ้าตีเป็นเงินไทยก็ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท) ซึ่งสตาร์ทอัพตัวนั้นชื่อว่า “Rubicon Global” ครับ โดยวันนี้ผมจะมาเล่าเกี่ยวกับประวัติของสตาร์ทอัพตัวนี้ และอะไรที่เป็น Key Success ทำให้ธุรกิจสำเร็จ สำหรับคนที่สนใจเชิญติดตามชมต่อได้เลยครับผม GO GO!!

“If we win the customer and we serve the customer humbly and with data and transparency, we are going to have a tremendous opportunity to go into a variety of categories.”

Nate Morris | Co-founder of Rubicon Global | © Joe Harrison, JH Photography Inc

Rubicon เริ่มแรกถูกก่อตั้งในปี 2008 โดย Nate Morris และเพื่อนสมัยเรียนของเขา Marc Spiegel ซึ่งไอเดียนี้เริ่มแรกเกิดขึ้นจากการที่ Morris ได้ไปทำงานที่จีนในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ Kentucky และไปเห็นปริมาณขยะจำนวนมหาศาลจนเป็นภาพติดตา หลังจากที่เขากลับมาที่ USA เหมือนภาพจะยังหลอนเขาอยู่ เขาจึงได้รีบติดต่อไปที่เพื่อนของเขา Spiegel ผู้ที่อยู่ในตระกูลกำจัดและรีไซเคิลขยะมาแรมนับร้อยปี ซึ่ง Morris ก็ได้ไปคุยกับ Spiegel ว่า เฮ้ย เราน่าจะหาวิธีอะไรบางอย่างนะที่จะทำให้ขยะบนโลกน้อยลง ซึ่ง Spiegel ก็สนใจ จนวันนั้นก็ทำให้เกิด Rubicon ขึ้น

คำว่า Rubicon มีแรงบันดาลใจมาจากชื่อแม่น้ำ Rubicon ที่ทางกองทัพ Julius Caesar เคยขี่ม้าข้าม จนเกิดเป็นสำนวน Crossing the Rubicon อันหมายถึงการผ่านจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ ด้วยจุดเริ่มต้นที่แสนธรรมดา แต่ก็มีแรงทะยานที่จะก้าวไปข้างหน้า ยังดีเริ่มต้น Rubicon มีแต้มต่อจากธุรกิจเดิมของ Spiegel ด้วยพนักงานคนขยะของเขา 96 คน และรถขยะจำนวน 69 คัน แต่ด้วยที่ Morris เป็นคนที่คิดการใหญ่ ด้วยทรัพยากรเพียงแค่นี้ไม่สามารถก้าวกระโดดสู่กับรายใหญ่ระดับประเทศได้แน่ๆ ด้วยเหตุนี้ Morris จึงได้เลือกใช้เทคโนโลยีในการข้ามกำแพงใหญ่ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องพึ่งทรัพยากรมากนัก และถ้าสำเร็จก็จะเหมือนกับติดปีกบินข้ามกำแพง ในขณะที่ธุรกิจอื่นยังพยายามฝึกร่างกายเพื่อปีนป่ายแข่งกันด้วยวิธีเดิมๆ

Rubicon Global App | Rubicon Global

บริการของ Rubicon ถ้าให้เปรียบง่ายๆ ก็จะเหมือนกับ Uber เก็บขยะ ด้วยการใช้แอปพลิเคชันเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างผู้เก็บขยะ (รถขยะ) และผู้ต้องการทิ้งขยะ (ออฟฟิส, คอนโด, บ้าน ฯลฯ) เนื่องจากใน US ค่าใช้จ่ายในบริการเรียกเก็บขยะค่อนข้างแพง และขยะที่ไปทิ้งนี้คนเก็บนั้นก็ไม่รู้เอาไปทำอะไร แต่ด้วย Rubicon ที่เป็นแอปมากกว่าตัวกลางเก็บขยะ สิ่งที่ Rubicon มาทำแก้ Pain ของผู้ที่ทิ้งขยะเลยคือการที่มีเทคโนโลยีที่ผู้ทิ้งขยะรู้ได้ทันทีเลยว่าปริมาณขยะที่เขาทิ้งไปที่ไปรีไซเคิลหรือนำไปฝังเป็นจำนวนเท่าไร และด้วยเทคโนโลยีของ Rubicon ในการแยกขยะนี้ทำให้ให้คนที่ใช้บริการสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเก็บขยะด้วยการขายขยะรีไซเคิลให้ทาง Rubicon ได้อีก ทำให้นอกใจทำให้ผู้บริการมีความสบายใจว่าขยะได้ถูกนำไปรีไซเคิลหรือกำจัดถูกวิธีมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการลดรายจ่ายของตนเองได้อีกด้วย นับว่าเป็นการ Disrupt ธุรกิจเก่าอย่างสิ้นเชิง ส่วนฝั่งคนเก็บขยะตัวแอปก็สามารถ Detect ขยะได้เลยเมื่อขยะลงมาในรถ ทำให้คนขับไม่ต้องเสียเวลากังวลเมื่อไรจะเก็บเสร็จ รวมถึงคนที่เป็นหัวหน้าดูแลคนขับรถขยะก็สามารถเช็คได้เลยว่ารถนั้นหยุดที่ไหนนาน ใครอู้งานรู้หมด ซึ่งจุดแข็งของ Rubicon ทุกคนก็อาจจะคิดว่าเป็นนวัตกรรมด้านการจัดการขยะอย่างเดียว แต่ไม่ครับ ด้าน Data Analytic ก็ไม่แพ้กันเลย นั้นเป็นสิ่งพิเศษที่ทำให้ Rubicon สำเร็จจนถึงวันนี้

โดยรายได้ของ Rubicon ก็ได้มาจากทั้งฝั่งผู้ทิ้งขยะ (ค่าบริการ) และผู้เก็บขยะ (ค่าแอป) นับว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนมากถ้าเกิดมีคนใช้จริง ซึ่งภายใน 8 ปี Rubicon สามารถรวบรวมเครือข่ายผู้เก็บขยะได้มากกว่า 5,000 คน และมีลูกค้ารายใหญ่ต่างๆ เช่น 7–11 ทำให้ Rubicon มีรายได้ต่อปีเกินกว่า 3 ร้อยล้านดอลลาห์ นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ลงทุนใน Rubicon มากมาย ไม่ว่าจะเป็นจาก Goldman Sachs, Wellington Management, Promecap และนักลงทุนชื่อดังจาก Silicon Valley รวมถึง Suez บริษัทด้านสิ่งแวดล้อมยักษใหญ่จากฝรั่งเศษที่ทำให้นอกจาก Rubicon จะอยู่ในตลาด US ยังสามารถก้าวไปสู่ตลาดต่างประเทศ จนสุดท้ายในปี 2017 Rubicon ถูกประเมินให้กลายเป็นบริษัทที่มูลค่าเกินกว่า 1 พันล้านดอลลาห์ และกลายเป็นยูนิคอนด้านจัดการขยะรายแรกในที่สุด

ในปัจจุบัน Rubicon ได้มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยเร็วๆนี้ทาง Rubicon ก็พึ่งได้รับรางวัล Innovation Award 2019 ในด้านการทำ Smart City โดยทาง Morris ก็คาดว่าจะไม่หยุดหย่อนที่จะผลิตเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมจัดการขยะต่อไป ซึ่งตัว Morris เองเขาก็ไม่ได้นับว่าเป็นบริษัทประเภทจัดการขยะ แต่เขานับตัวเองว่าเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี ด้วยการเพียงแค่มีระบบ และไม่จำเป็นต้องมีรถเก็บขยะเป็นจำนวนพันๆคันเหมือนรายใหญ่อื่นทั่วไป ซึ่งเขายังมีแนวคิดที่ว่าข้อมูลที่ได้จากลูกค้านั้นยังมีมูลค่ามากขยะที่เขาได้ โดยเขากล่าวว่า

“ถ้าเราสามารถชนะใจลูกค้าและบริการลูกด้วยความถ่อมน้อมถ่อมตน ด้วยข้อมูลและความโปร่งใสจากลูกค้าที่เราได้ สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่สร้างโอกาสอย่างมหาศาลในการเข้าสู่สิ่งใหม่ๆ”

“If we win the customer and we serve the customer humbly and with data and transparency, we are going to have a tremendous opportunity to go into a variety of categories.”

เป็นแนวคิดยุคใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญแก่ข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันบริษัทอันดับ Top ที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็น Amazon, Google และ Facebook ต่างก็ให้ความสำคัญของข้อมูลลูกค้าทั้งนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่า Rubicon คงไม่หยุดเติบโตเพียงเท่านี้ และเราอาจจะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆที่ทำให้โลกตะลึงต่อไป

สรุปส่งท้าย

ถ้าวิเคราะห์ดีๆช่วงแรก Rubicon มีอุปสรรคตอนเริ่มมากครับ ด้วยที่ธรรมชาติของธุรกิจจัดการขยะที่มีรายใหญ่คุม ซึ่งใน US ก็ไม่ต่างจากเมืองไทย แต่ด้วยที่ Morris เป็นคนที่กล้าลุยและมีแนวคิดก้าวใกล เชื่อความสามารถในเทคโนโลยีเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งสุดท้ายด้วยความสามารถในเทคโนโลยีก็สามารถก้าวผ่านอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ไปได้ ขอแค่เจ๋งจริง อุปสรรคอะไรที่เขาบอกทำไม่ได้สุดท้ายก็หายหมด ก็เหมือนในเมืองไทยครับ สิ่งที่เราบอกว่าทำไม่ได้เพราะว่าสิ่งรอบข้างไม่เอื้อ ต้องถามตัวเองว่าสิ่งที่เราทำดีพอยัง กล้าสู้รึเปล่า ดังนั้นอย่ายอมแพ้ครับ ทุกอุปสรรคย่อมมีทางแก้ไขเสมอ เพราะสุดท้ายเทคโนโลยีจะ Disrupt ทุกอย่างครับ แค่อยู่ที่ว่าใครจะเป็นคนเปิดทางคนแรกได้ก่อน ขอบคุณครับ 🤗 🤗

P.S. ขอฝากเว็บ Rubicon ไว้ข้างล่างสำหรับคนที่สนใจครับผม

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

No responses yet