EP 62: วิเคราะห์ Social Banking ไทย 2022

Nut P
4 min readFeb 6, 2022

เพื่อนๆเคยได้ยินคำว่า Social Banking ไหมครับ ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเคยได้ยินมาสักช่วง 2 ปีก่อน แล้วอยู่ดีๆก็จางหายไป ผู้เขียนบอกได้เลยว่าตอนนี้ในปัจจุบันในไทยก็มีบริษัทที่ทำ Social Banking แล้วนะครับ และได้ผลตอบลัพธ์ออกมาข้างดีเลย ใครที่สนใจอยากลองอัปเดตเทรนด์ Social Banking ว่ามันจะมาจริงไหม หรือว่าไปๆมาๆมันจะกลายเป็นสิ่งที่ถูก Disrupt อย่างรวดเร็ว ต้องห้ามพลาดบทความนี้เลยนะครับ ใครพร้อมก็ติดตามอ่านต่อได้เลย 🔥🔥

Social Banking ในไทย จะมาจริงไหม.!?

Social Banking คืออะไร?

ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆมันคือการทำธุรกรรมการเงินแนวใหม่ ไม่ว่าจะเป็นฝากเงิน, กู้เงิน, ขายประกัน อะไรที่อยู่ Mobile Banking เดิม ให้ใช้งานย้ายมาบน Social Media ที่เป็นแหล่งคนใช้งานมหาศาลแทน

ถ้ายังนึกไม่ออกอีกนะครับ ให้นึกถึงพวก Super App อย่างเช่น We Chat ของจีน ที่แต่เดิมเป็นแค่แอปแชท แต่ในปัจจุบันสามารถโอนเงิน, กู้เงิน ได้ ซึ่งถ้าเป็นของไทย ก็จะเป็น LINE ที่มีการร่วมมือกับธนาคารกสิกร ที่ทำให้คนสามารถทำธุรกิจกรรมกู้เงิน ฝากเงิน บน LINE ได้ครับ

ทำไม Social Banking เป็นกระแสในไทย?

เรื่องมันเริ่มมาจากการทำ Social Banking ในประเทศจีนนั้นประสบความสำเร็จอย่างมาก คนจีนต่างใช้แอปอย่าง We Chat, Alipay ในการทำธุรกรรมการเงินทั้งหมด รวมถึงมีข่าวใหญ่ที่ทาง Facebook จะสร้างสกุลเงินคริปโต Libra มาใช้เป็นสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรมใน Facebook เอง

ด้วยเหตุนั้นในไทยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ช่วงปลายปี 2019 ก็ได้มี Influencer ด้านคริปโตท่านหนึ่งออกมาจุดประเด็นเล่าเรื่องความยิ่งใหญ่ของ Social Banking ซึ่งก็ได้มีการสร้างกระแสความฮือฮาในไทยเป็นอย่างมาก

สถานะ Social Banking ในไทยที่ผ่านมา

หลังจากที่มีการจุดกระแสเรื่อง Social Banking ในไทยไปได้ประมาณ 1 ปี จนในที่สุด ช่วงเดือน ต.ค. 2020 LINE ก็ได้จับมือกับธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว LINE BK แพลตฟอร์มการฝากเงิน กู้เงินบน Line ผนวกกับ LINE Pay ที่เป็นแพลตฟอร์มในการชำระค่าบริการต่างๆเดิม เป็นการประกาศตัวเองอย่างเป็นทางการว่าเป็นแพลตฟอร์ม Social Banking ในไทยรายแรกอย่างแท้จริง

หลังจากที่เปิดตัวพอดิบพอดีในช่วงโควิด ตัว LINE BK ก็ได้ผลตอบลัพธ์ออกมาค่อนข้างดี ด้วยที่มีผู้มาใช้งานกับ LINE BK 1 ล้านรายด้วยการใช้เวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้น

หลังจากเปิดธุรกิจไปได้ 1 ปี ตัวเลขคนใช้งานก็ได้มีการเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ โดยทางผู้บริหารของ Kasikorn LINE ก็ได้มาเปิดเผยตัวเลขในช่วงต้นเดือน ก.พ. 22 ที่ผ่านมาว่ามีผู้ใช้งานถึง 3.9 ล้านรายแล้ว ด้วย 4 บริการหลัก ได้แก่ บัญชีเงินฝากจำนวน 4.5 ล้านบัญชี บัญชีเงินออมดอกพิเศษ จำนวนกว่า 1 แสนบัญชี บัตรเดบิต จำนวน 2 ล้านบัตร และบริการวงเงินให้ยืมกว่า 5 แสนบัญชี ยอดรวมการปล่อยสินเชื่อกว่า 27,000 ล้านบาท เป็นการเติบโตภายใน 1 ปี ที่เราตีไปคร่าวๆได้ถึง 400% !!

โดย Key หลัก ที่ทำให้ LINE BK พิเศษกว่า Mobile Banking ปกติ เพราะ LINE เป็นแอปในชีวิตประจำวันทั่วไปที่คนไทยแทบทุกคนต้องใช้ ไม่เหมือนแอป Mobile Banking ที่ต้องดาวน์โหลดมาแบบพิเศษให้ยุ่งยาก รวมถึง LINE BK สามารถนำ Data พฤติกรรมคนใช้ LINE เอาไปต่อยอดได้ เช่น การปล่อยสินเชื่อที่ปกติถ้าเป็นดั้งเดิมก็ต้องดูสลิปเงินเดือน และประวัติ แต่ของ LINE BK มีการดูจากพฤติกรรมการใช้ LINE ด้วยการใช้ AI วิเคราะห์ประกอบด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการปล่อยสินเชื่อแก่บุคคลที่ไม่มีรายได้ประจำ เป็นต้น

แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเติบโตนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น ของ LINE BK เท่านั้น ถ้าเทียบกับตลาด LINE ที่มีบัญชีถึง 40 ล้าน ID รวมถึง Gap ที่เทียบกับกับแฟลตฟอร์ม Social Banking ต่างประเทศ เช่น We Chat ที่ยังมีบริการ Banking Product อื่น ที่ยังไม่มีใน LINE อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Insurance, Wealth Management, Crypto ฯลฯ

Challenge ของ Social Banking ไทย

ถ้าเทียบดูการเติบโตของเคส LINE BK ก็เหมือนว่าจะเป็นไปได้ด้วยดี และดูเหมือนมี Gap การเติบโตอีกมาก แต่ก็อย่าลืมว่าบริษัทที่เติบโตไวและให้ผลประโยชน์กับลูกค้าจริงๆแบบ Long Term ควรจะเป็นบริษัทที่มีคู่แข่ง เช่น ในจีนมี We Chat แข่งกับ Alipay เพื่อให้เป็นการ Drive คอยแข่งกันว่าต้องเป็นผู้ที่ดีกว่า ในขณะที่ตลาด Social Banking ของไทยยังเป็นแบบ Monopoly ที่ถือครองโดย LINE กับ KBank เพียงผู้เดียว และก็ดูท่าทีว่าไม่น่าจะมีแพลตฟอร์ม Social Media ในไทยอื่นที่ใหญ่พอ ที่มี Potential แข่งได้

โซเชียลมีเดียอื่นที่มี Potential ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็น Facebook แต่ถึงกระนั้นล่าสุดต้นปี 2022 Facebook ก็ได้ประกาศพับโครงการ Libra ไปเป็นที่เรียบร้อย รวมถึงหลังๆ Facebook ก็ได้ให้ Priority ไปโฟกัสกับโครงการ Metaverse แทน จนปัจจุบันตอนนี้ชื่อบริษัทเปลี่ยนเป็นชื่อ Meta ไปแล้ว เราจึงหวังไม่ได้มากนักว่าเราจะมีโอกาสได้เห็นโครงการ Social Banking ของ Facebook ในไทยเร็วๆนี้

นอกจากเรื่อง Monopoly ที่อาจทำให้ตลาดกลุ่มนี้อิ่มตัวเร็วแล้ว ก็อาจเป็นเรื่องการออก Banking Product ใหม่อื่นๆที่มีความซับซ้อน เช่น Insurance, Wealth Management, Mutual Fund ที่ล้วนแล้ว Nature ต้องมีการอธิบายประกอบการขาย ต่างกับฝากเงิน กู้เงิน ที่เป็น Concept ที่คนเข้าหา และเข้าใจได้เอง ก็เป็น Challenge ว่าด้วย Feature ใน Social Media มีข้อจำกัดมากกว่าใน Mobile และ Web App หรือ Direct Sales ว่าจะดึงดูดให้คนมาใช้บริการ Banking Product ออกใหม่ที่ซับซ้อนนี้ได้อย่างไร

และเรื่อง Challenge สุดท้ายของตลาดไทยที่ขาดไม่ได้ คือ เรื่อง Regulation ของตลาด Fintech ที่ในไทยค่อนข้าง Strict และมี Barrier to Entry สำหรับผู้เล่นใหม่สูงมาก ถ้าเป็นรายย่อยหรือธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับธนาคารแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้ามาในตลาด Social Banking นี้ ยิ่งถ้าจะเอาเรื่อง Social Banking ไปผนวกกับเรื่อง Blockchain อย่างทำพวก P2P Lending หรือพวก Crytocurrency ประสานกับคอนเซปต์ Meteverse, Web 3.0, NFT น่าจะยิ่งยากขึ้นไปอีกครับ

อนาคต Social Banking ไทย

นับว่าแนวโน้ม Social Banking ก็ค่อนข้างดูมี Potential มาก โดยเฉพาะอนาคตของธุรกิจ LINE BK เพราะ ด้วยที่ประเทศไทยเป็นประเทศมีอัตราส่วนต่อประชาชนในการใช้โซเชียลมีเดียเป็นอันตับต้นๆของโลก และด้วยที่ขนาดตลาด Social Banking ไทยนี้ถือว่ายังเล็กมากถ้าเทียบกับ User ทั้งตลาด และ Potential ในการขยาย Banking Product อื่นๆ (คิดว่าตลาดโซเชียลมีเดียไทยใหญ่ขนาดไหนเทียบกับประเทศอื่น สามารถไปดู Stat เพิ่มเติมจากเว็บชื่อดังที่ทำด้าน Stat นี้โดยตรงที่ลิงก์ด้านล่างได้ครับ)

ในความคิดส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าในไทยคงไม่มีผู้เล่นอื่นในตลาด Social Banking แล้วในเร็วๆนี้นอกจาก LINE BK เป็นเพราะผู้เขียนยังไม่เห็น Platform ใดที่มี Potential แบบ LINE ซึ่งกว่าที่ LINE BK จะมีคู่แข่งในเรื่อง Social Banking อีกที น่าจะเป็นช่วง Generation ของ Metaverse Banking ที่เป็นยุคถัดไปของ Social Banking แล้ว

บางคนอาจสงสัยว่า Metaverse Banking คืออะไร ทำไมไม่เคยได้ยิน

ความจริงเรื่องนี้เป็นเทรนด์ที่ผู้เขียนลองคาดการณ์ขึ้นมาเองครับ ด้วยที่ทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบันมันแทบอยู่บน Social Media ทั้งหมด ซึ่งเขาว่ากันว่าสิ่งที่จะมา Disrupt Social Media แนวเดิมนี้ก็จะคือ Metaverse นี้นี่แหละครับ

ให้ลองนึกถึงภาพที่เราสามารถโอนเงินด้วยคริปโตแบบไม่อ้างอิงสกุลเงินไดได้แบบไร้พรมแดน รวมถึงสามารถโอน Asset ต่างๆ เช่น NFT หรือสินทรัพย์ที่ใช้ Blockchain บนแอปแชทยุคใหม่ได้ด้วยปลายนิ้วหรือเพียงแค่ความคิด

คิดว่า Mobile Banking สะดวกแล้ว โอนเงินผ่าน Chat ดียิ่งกว่า แต่ Metaverse Banking นี้นี่ดียิ่งขึ้นไปอีก

ซึ่งสิ่งนี้แหละที่ผู้เขียนคิดว่าจะเป็น Next Generation ของ Social Banking ครับ ถามว่าสิ่งนี้จะมาเมื่อไร ผู้เขียนก็คงคิดว่ามันจะมาต่อจากที่โลกเรามีการใช้คอนเซปต์ Metaverse, Web 3.0, Blockchain เป็น Use Case ทั่วโลกจริงอย่างกว้างขวางแล้ว

ถ้าใครอยากติดตามเรื่อง Metaverse Banking นี้ เดี๋ยวว่างๆตอนหน้าผู้เขียนจะมาเล่าแบบลงลึกให้ฟังครับ

สรุปส่งท้าย

เป็นอย่างไรบ้างครับกับการวิเคราะห์ Social Banking ในปี 2022 นี้ ซึ่งผู้เขียนเชื่อครับว่ายังไงเดี๋ยว Social Banking ในไทยก็มา ขอแค่รอจังหวะรอให้ Social Banking ในไทยที่มีอยู่โตแบบก้าวกระโดด จนสุดท้ายกลายเป็น Norm ให้คนใช้ทั้งประเทศ แต่ก็ใช่ว่า Social Banking ตัวนี้จะอยู่ยืนยาวนะครับ เพราะด้วยเทคโนโลยียุคนี้มันเติบโตไว ถ้าโลกเจอสิ่งที่ดีกว่า สิ่งเก่าก็จะถูกแทนที เช่น การเข้ามาของ Metaverse Banking เป็นต้น ดังที่ Bill Gates เคยกล่าวไว้ว่า

Banking is necessary

- traditional banks are not.

ในโลกนี้คนเรายังต้องการทำธุรกรรมการเงิน แต่เราอาจไม่ได้ต้องการธนาคาร หรือวิธีดั้งเดิมการทำธุรกรรมเก่าแล้ว

วันนี้ผู้เขียนก็ขอจบเพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ตอนหน้า ขอบคุณครับ 👏👏

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

Responses (1)