EP 57 : ลงทุนเหรียญคริปโตอะไรดี? มาแบ่งกลุ่ม Crypto ในตลาดกัน

Nut P
5 min readApr 17, 2021

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดคริปโต (Cryptocurrency) จะต้องมีคำถามแรกในหัวมาแน่นอนว่า “ซื้อเหรียญอะไรดี?” หรืออุทานว่า “เอ้ะ มีเหรียญอื่นนอกจากบิทคอยด้วยเหรอ 🤣ใช่ครับ ในตลาดคริปโตยังมีเหรียญอื่นเป็นพันๆนอกจาก Bitcoin แถมแต่ละเหรียญก็น่าสนใจทั้งนั้น และมี Product ที่ทำของมันเองทุกตัว เช่น เหรียญนั้นอาจพัฒนามาเพื่อเป็นสกุลเงิน หรือเอาไว้ใช้ปล่อยกู้ เป็นต้น โดยวันนี้ผมก็จะมาเล่าเกี่ยวกับกลุ่มใหญ่ๆของเหรียญคริปโตที่เขาคุยกันในวงการเหล่านั้นกัน (คล้ายๆกับ Sector ของหุ้น เช่น กลุ่มธนาคาร, กลุ่มค้าปลีก) ซึ่งหลังจากที่เพื่อนๆอ่านจบ ผมรับรองว่าเพื่อนๆจะมองเห็นภาพการเทรดคริปโตเป็นการลงทุนมากขึ้น และสามารถไปหาเลือกซื้อเหรียญที่ตรงความต้องการได้ง่ายขึ้นแน่นอนฮะ ใครพร้อมแล้วก็อย่ารอช้า ไปติดตามกันต่อได้เลย!!

“คริปโตทุกเหรียญ มี Story ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะไปผจญภัยในเรื่องราวไหน”

1) กลุ่ม POW (Proof of Work)

คริปโต กลุ่ม POW (Proof of Work) ถ้าจะให้พูดง่ายๆ มันคือ คริปโตกลุ่มรุ่นเก๋า ที่ใช้คอนเซปต์ Blockchain ดั้งเดิมนั่นเอง ยกตัวอย่าง เช่น Bitcoin และ Ethereum

คอนเซปต์ Proof of Work คือ “ใคร Work เยอะ ก็จะได้รางวัลกลับมาเป็นเหรียญเยอะ” พอพูดมาถึงตรงนี้ทุกคนคงคุ้นกับคำว่าขุดเหมือง Bitcoin หรือการ Mining เป็นแน่แท้ ซึ่งส่วนใหญ่พวกเหรียญในกลุ่มที่ได้มานี้ก็จะนำไปใช้เป็นพวก Digital Asset เทรดลงทุน แลกเปลี่ยนกัน หรือนำไปต่อยอดทำเป็น Open Source Blockchain System อย่างอื่น ซึ่งในกลุ่มนี้การลงทุนในปัจจุบันก็เริ่มจะซาๆลง เพราะ เทคโนโลยีมันเริ่มเก่า (ยกเว้น BTC ที่ยังคงความเก๋าเป็นเหรียญแรก และ DOGE ที่มีข่าวจาก Elon Musk ไม่เว้นวัน)

ตัวอย่างเหรียญ

  1. Bitcoin (BTC) : เหรียญดั้งเดิม ไม่ต้องพูดเยอะ หลักๆทำขึ้นมาเพื่อใช้เป็น Digital Currency ทางเลือก ซึ่งปัจจุบันก็มีมูลค่ากว่า 2 ล้านบาทต่อเหรียญไปแล้ว
  2. Ethereum (ETH) : Open Source Blockchain รุ่นเก๋าที่หลายเหรียญนำไปใช้พัฒนาต่อยอด รวมถึงการนำไปใช้เป็นแพลตฟอร์มทำพวก Smart Contract
  3. Litecoin (LTC) : Bitcoin เวอร์ชัน Copy
  4. Dogecoin (DOGE) : Open Source Digital Currency ชื่อดังการันตีจาก Elon Musk และ Mark Cuban
  5. Zcash (ZEC) : Open Source Digital Currency ตัวอย่างอีกตัว

2) กลุ่ม POS (Proof of Stake)

POS (Proof of Stake) ระบบ Blockchain รุ่นอัพเกรดจาก POW ดีกว่า ใช้แรงประมวลผลน้อยกว่า และไม่ต้องไปขุดเหมืองแบบ POW แต่ก็มีบางอย่างของ POS ที่สู้ POW ไม่ได้เหมือนกัน เช่น เรื่องการป้องกันการถูก DDoS เจาะจากภายนอก ที่ POW ยังคงทำได้ดีกว่า ซึ่งตอนนี้อย่าง ETH ก็จะอัพเกรดเป็น ETH 2.0 โดยการย้ายจาก POW ไปเป็น POS แล้ว

นอกจากนี้ ด้วยการที่ ETH ยังไม่อัพเกรดสักที POS หลายตัวในปัจจุบันจึงได้เคลมตัวเองว่าจะเป็น ETH Killer เพราะ อย่างเรื่อง DeFi ถ้ายังคงใช้ ETH Chain จะโดนค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้ POS เป็น 100 เท่า !!

ถามว่า POS ส่วนใหญ่เอาไปใช้ทำอะไร ก็จะคล้ายๆกับตัว POW ที่เอาไปใช้เป็น Open Source Blockchain System ต่อยอดทำอย่างอื่น หรือทำเป็นพวก Digital Asset ใช้แลกเปลี่ยนก็มี ซึ่งเหรียญในกลุ่มนี้ก็มีการลงทุนกันคึกคักมากในปัจจุบัน เพราะ นักลงทุนหลายคนคาดการณ์ว่ามันจะเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต

ตัวอย่างเหรียญ

  1. Binance (BNB) : เหรียญของแพลตฟอร์มเทรดคริปโต Binance ชื่อดัง ที่ปัจจุบันได้ทำ BSC (Binance Smart Chain) ไปต่อยอดในการทำแพลตฟอร์ม Farm พวก DeFi มากมาย
  2. Cardano (ADA) : แพลตฟอร์มชื่อดังอีกตัวที่ใช้หลักการ POS และเคลมตัวเองว่าจะเป็น ETH Killer แน่นอน
  3. Polkadot (DOT) : แพลตฟอร์ม POS ชื่อดังอีกตัว
  4. Terra (LUNA) : แพลตฟอร์ม POS ที่ใช้ทำ Stable Coin ที่เพิ่งมีข่าวดังทำเหรียญดิจิทัลไทยบาท THT ในไทย
  5. OMG Network (OMG) : แพลตฟอร์มที่ใช้ POS ของไทย ที่มีในชื่อเดิมว่า OmiseGo ซึ่งหลักๆตัวแพลตฟอร์มเอาไว้ใช้พวกทำการแลกเปลี่ยน ETH

3) กลุ่ม BSC (Binance Smart Chain)

กลุ่มเหรียญที่ใช้ BSC (Binance Smart Chain) ไปพัฒนาต่อยอด ซึ่งเยอะมากจนต้องแยกเป็นอีกกลุ่มย่อย โดยการนำไปใช้เหรียญของกลุ่มนี้ก็มีเยอะกว้างขวางมาก ยากจะอธิบายหมด เช่น การไปทำเป็น DeFi, ทำเป็น Wallet, ทำเป็น Stable Coin และอื่นๆอีกมากมาย เป็นอีกกลุ่มที่น่าลงทุน ยิ่งสำหรับคนใช้ Binance กลุ่มพวกนี้พลาดไม่ได้แน่นอน

ตัวอย่างเหรียญ

  1. Binance USD (BUSD) : Stable Coin ในสกุลเงินดอลลาห์
  2. SafePal (SFP) : Digital Wallet ส่วนตัว ที่ไว้ใช้เก็บพวกเหรียญ
  3. PancakeSwap (Cake) : แพลตฟอร์ม DeFi ที่ไว้ใช้ Swap แลกเปลี่ยนเหรียญ หรือที่ปัจจุบันเขานิยมไปทำ Yield Farming เอาผลตอบแทนกัน
  4. XVS (Venus) : แพลตฟอร์ม DeFi ให้กู้ยืม Stable Coin P2P
  5. Coccos-BCX (COCOS) : แพลตฟอร์มที่ใช้ทำพวกเกมส์ และ NFT ที่ใช้ Blockchain

4) กลุ่ม Polkadot

กลุ่มคริปโต POS อีกตัว ที่คนนิยมเริ่มเอามาใช้ต่อยอดเยอะ เลยขอนำมาแบ่งกลุ่มย่อยอีกที ซึ่งก็มีเหรียญหลายตัวที่ทำบริการน่าสนใจทั้งเรื่อง DeFi, ทั้งเรื่องเป็น Infrastructure รองรับการพัฒนา และอื่นๆ โดยกลุ่มนี้ปัจจุบันการลงทุนอาจจะยังไม่บูมเท่า BSC แต่ก็เป็นอีกกลุ่มที่น่าสนใจลงทุนไม่น้อยเลย

ตัวอย่างเหรียญ

  1. Reef Finance (REEF) : แพลตฟอร์ม DeFi ที่ให้ใช้การในการทำ Farm และกู้ยืมเหรียญ
  2. Akropolis (AKRO) : แพลตฟอร์ม DeFi ทำพวกกู้ยืมเหรียญ
  3. Kusama (KSM) : แพลต์ฟอร์มที่ใช้ Test ทำพวกแอป Blockchain ของ Polkadot ก่อนขึ้น Production สำหรับ Developer
  4. Litentry (Lit) : แพลต์ฟอร์มที่ใช้เป็น Infrastructure ในการรองรับทำการพวกแอป Blockchain ของ Polkadot
  5. Phala.Network (PHA) : แพลตฟอร์มทำพวกบริการ Cloud โดยใช้หลักการของ Blockchain

5) กลุ่ม DeFi (Decentralized Finance)

กลุ่ม DeFi ที่ปัจจุบันในประเทศไทยกำลัง Hyped ซึ่งกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักในไทย เพราะ มันเป็นอีกช่องทางที่ช่วยในการทำรายได้เพิ่มเติมได้ ที่เราเรียกกันว่า Yield Farming โดยใช้หลักการเอาคู่เหรียญไปวางในแพลตฟอร์ม DeFi เพื่อให้แพลตฟอร์มเอาเหรียญไปฟาร์มใช้งาน แล้วให้ผลตอบแทนคืนกลับมาเป็นส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม

ซึ่งเอาเข้าจริง แล้ว Yield Farming เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวเล็กๆที่เป็น By Product ของ DeFi เอง ซึ่ง DeFi จริงๆจะเป็นเรื่องของการใช้เพื่อพวก Swap แลกเปลี่ยนเหรียญ, ให้กู้ยืมเหรียญแบบ P2P และอื่นๆ

ด้วยเหตุที่มัน Hyped ในตลาดโลกแต่ก่อน ทำให้มี Defi ขึ้นใหม่มาเป็นดอกเห็ด จนทำให้ปัจจุบันมีทางเลือกการลงทุนค่อนข้างจะเยอะเกิน และเป็นเหตุให้ในตลาดโลกการลงทุนเรื่อง DeFi เริ่มซาๆลง แต่บางคนก็ว่ากันกว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ DeFi เท่านั้น

ตัวอย่างเหรียญ

  1. Uniswap (UNI) : แพลตฟอร์ม DeFi ที่ใช้เพื่อการ Swap เหรียญที่มาแรกๆ และเรียกได้ว่าเป็น DeFi ที่มีคนไปลงทุนเยอะที่สุด แต่ด้วยที่ตัวนี้ยังคงใช้ ETH Chain ทำให้ในปัจจุบันนักลงทุนหลายคนเริ่มนิยมมาลงทุนน้อยลง
  2. Autofarm (AUTO) : แพลตฟอร์ม DeFi ที่ใช้เพื่อการ Swap เหรียญ ที่ใช้ BSC ทำให้ได้ค่าธรรมเนียมคนค่อนข้างถูก และกำลังเป็นที่นิยมในการทำ Yield Farming ในปัจจุบัน
  3. Compound (COMP) : แพลตฟอร์ม DeFi ให้กู้ยืมเหรียญ P2P ตัวดั้งเดิม
  4. ChainLink (LINK) : แพลตฟอร์ม DeFi ที่ใช้ Blockchain ของ Oracle ในการทำ Smart Contract
  5. Alpha FinanceLab (ALPHA) : แพลตฟอร์ม DeFi ให้กู้ยืมอีกตัวที่ทาง SCB 10X ในไทยได้ร่วมลงทุนไปด้วย

6) กลุ่ม NFT (Non-fungible Token)

กลุ่มคริปโตตัวที่กำลังมาแรงมากในตลาดคริปโตโลก ตัวอย่างของ NFT ก็อย่างเช่น การขายภาพวาด Digital ลงขายในเว็บ Opensea, การขายคลิปไฮไลท์แข่งบาสเกตบอลใน NBA Top Shot ถามว่าฮ๊อตขนาดไหน ก็บางคลิป บางภาพขายทีเป็นล้านๆบาท ด้วยต้นทุนบางทีอาจไม่มีเลย

นอกจากนี้พวกนี้ก็อาจมีการขายเป็นพวกเหรียญให้แฟนๆสำหรับ Influencer หรือทีมกีฬาที่ชอบก็มี รวมถึงการขาย Item ในเกมส์ ซึ่งถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกว่า NFT คืออะไร ให้นึกถึงแบงค์ 20 ที่เหรียญอื่นไม่ใช่ NFT จะคือ แบงค์ 20 ที่ไม่ว่าแบงค์ไหนก็มูลค่าเหมือนกัน ส่วน NFT คือภาพวาดแวนโก๊ะ ต่อให้ภาพวาดเหมือนกัน แต่ถ้าคนละคนวาด มูลค่าก็ไม่เหมือนกันแล้ว นี่คือสิ่งที่กลุ่ม NFT ทำ

การลงทุน NFT ในตลาดนี้ก็บอกได้เลยว่ากำลังเป็นขาขึ้นแบบพุ่งทะยาน ซึ่งก็ต้องมาดูกันว่าจะไปถึงจุดอิ่มตัวเมื่อไร

ตัวอย่างเหรียญ

  1. Flow (FLOW) : แพลตฟอร์ม Blockchain ที่ใช้ทำ NFT และเกมส์ ชื่อดังอย่าง NBA Top Shot และแบรนด์ชื่อดังอีกหลายๆตัว
  2. Chiliz (CHZ) : แพลตฟอร์ม Blockchain เน้นทำในตลาดพวก eSport และเกมส์ นอกจากนี้ยังทำพวกออกเหรียญ Fan Token ให้แฟนๆซื้อเหรียญของทีมกีฬาที่ชอบของตน ซึ่งปัจจุบันก็มีสโมสรกีฬาชื่อดังเข้าร่วมมากมาย เช่น บาร์เซโลน่า
  3. Enjin Coin (ENJ) : แพลตฟอร์มทำเกมส์ และเหรียญ NFT ขาย
  4. Decentraland (MANA) : แพลตฟอร์มเกมส์ VR และขาย Item ในเกมส์
  5. Dego Finance (DEGO) : แพลตฟอร์มที่ผสมผสานระหว่าง NFT กับ DeFi

7) กลุ่ม Storage

เรียกง่ายๆว่าเป็นกลุ่มคริปโตที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวกับการเก็บ Data จากการใช้เทคโนโลยี Blockchain โดยเฉพาะ ซึ่งด้วยที่เป็นสิ่งที่อะไรไม่ค่อยหวือหวา ทำให้การลงทุนของนักลงทุนอาจจะไม่นิยมเหมือนกลุ่มอื่น แต่ถ้าถามว่ากลุ่มนี้ตัวธุรกิจน่าสนใจไหม ก็บอกเลยว่าน่าสนใจ เพราะ เป็นธุรกิจที่จับต้องได้ และใช้ได้จริง

ตัวอย่างเหรียญ

  1. BitTorrent (BTT) : การโหลดบิทที่เราคุ้นเคยกัน ซึ่งมันก็คือการใช้ Blockchain มาประยุกต์ใช้ทำ P2P File Sharing นั่นเอง
  2. Filecoin (FIL) : เป็นแหล่งเก็บข้อมูลแบบ Decentralised โดยใช้ Blockchain
  3. Storj (STORJ) : เป็นแหล่งเก็บข้อมูลแบบ Decentralised อีกตัวที่ใช้ Blockchain
  4. RSK Infrastructure (RIF) : แหล่งที่ทำงานบนโลกดิจิทัลร่วมกัน โดยทุกการแลกเปลี่ยนและการเก็บข้อมูลทุกอย่างระหว่างจะใช้จะเป็น P2P ที่ใช้ Blockchain
  5. Holo (HOT) : แพลตฟอร์ม P2P Web App ที่ทำให้คนเข้าเว็บไม่ต้องผ่านตัวกลางอีกต่อไป โดยข้อมูลทุกอย่างจะเก็บไว้ที่ Port ของ Holo แทน

สรุปส่งท้าย

เป็นอย่างไรบ้างครับ กับคริปโต 7 กลุ่มแบบน้ำจิ้ม เอาจริงมันยังมีวิธีแบ่งกลุ่มคริปโตอีกมากมายเลยนะครับ ซึ่งถ้าจะให้เปรียบเทียบการลงทุนในเหรียญคริปโต มันก็เหมือนกับการลงทุนในหุ้นที่อิงมาจากพื้นฐานบริษัท ส่วนเหรียญคริปโตก็อิงจากแพลตฟอร์มที่มันทำ ถ้าคนใช้เยอะ คนต้องการเยอะ ราคามันก็ขึ้นครับ อย่างที่มีคนเคยพูดไว้ว่า

“ถ้าของมันมีพื้นฐานดีจริง สุดท้ายมันก็จะกลับไปสู่ราคาที่สมดุลของมันเอง”

โดยถ้าใครอยากเห็นคริปโตในแต่ละกลุ่มอะไรมากขึ้นนอกเหนือจากบทความนี้ สามารถดูเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ Binance ด้านล่างนี้ได้เลย (Innovation Zone คือ เหรียญใหม่นะครับ เผื่อใครสงสัยว่ามันคืออะไร พอดีไม่ได้ใส่ไว้ในบทความ)

หรือสำหรับใครที่ยังไม่เคยลองใช้ Binance ลองดูวิธีสมัครง่ายๆได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ฮะ

สุดท้ายนี้ก่อนจากไป เพื่อนๆที่อุตสาห์ติดตามบทความนี้มาจนจบ ก็อย่าลืมกด Follow กันนะ ผมจะได้แบ่งปันบทความดีๆแบบนี้อีกครับผม ^^

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

No responses yet