RPA หรือในชื่อเต็ม Robotic Process Automation พอใครเห็นชื่อว่าก็คงนึกว่า คือ การสร้างหุ่นยนต์เป็นตัวๆ ไม่ใช่นะครับ สิ่งที่วันนี้เราจะมาพูดถึง คือ วิธีการสร้าง Bot ที่เปรียบเสมือนโปรแกรมที่มาทำงานแทนเรา พวกงาน Manual ง่ายๆในคอม ไม่ต้องใช้สมอง แต่กว่าจะทำเสร็จทีก็ต้องใช้เวลา เช่น งาน Routine ที่ต้องมานั่งพิมพ์แบบเดิมทุกเช้า หรืองานที่ต้องมานั่งเพียงแค่กดปุ่มปริ้นทุกวัน ซึ่งปัจจุบันมันมี Tool ในการสร้าง Bot มาช่วยทำงานเหล่านี้ และข่าวดี คือ Tool นั้นใช้ง่ายมาก แถมยังทำขึ้นมาเพื่อคนเขียนโปรแกรมไม่เป็นโดยเฉพาะ!! บอกได้เลยว่า Tool นี้มีประโยชน์มากเลยครับ ศึกษาไว้ก็ไม่เสียหาย ใครพร้อมแล้ว เชิญติดตามกันต่อได้เลยครับผม ^^
“RPA เทคโนโลยีมาแรง ที่จะตัดคนทำงานออกไปได้หมด”
RPA มีประโยชน์อะไร..?
แน่นอนว่าก็อย่างที่บอกไปมันคือการเอา Bot มาทำงานแทนคน ด้วยเหตุนั้น ประโยชน์หลักๆที่ได้ คือ ลด Cost, ลด Time, ลด People แถมงานที่ได้ออกมาอาจจะดีกว่าคนทำอีก เพราะ ตัดปัจจัยเรื่อง Human Error ออกไป ซึ่งตัวเบื้องหลังของ RPA มันจะใช้เทคโนโลยีพวก AI, Machine Learning มาช่วยทำงานครับ
RPA เป็นสิ่งใหม่ไหม..?
ไม่ครับ RPA มีใช้มานานแล้วครับ หลายบริษัทในไทยปัจจุบันก็ใช้กัน ทั้งในธุรกิจธนาคาร, ประกัน, อุปโภค/บริโภค, พลังงาน ฯลฯ ยิ่งปัจจุบัน Tool มันใช้ง่ายขึ้น แถมบางตัวก็ใช้ฟรี ทั้งธุรกิจเล็กๆ และคนทั่วๆไปก็เลยเริ่มนิยมกันนำมาใช้ประกอบการทำงานกัน
รูปด้านล่างก็เป็นข้อมูลจากงานวิจัยที่เป็นตัวช่วยเสริมให้เพื่อนๆมั่นใจขึ้นไปอีกว่า RPA เป็นเทคโนโลยีที่จะมาแน่นอน
RPA เหมาะกับงานอะไร..?
RPA ก็ไม่ใช่ว่าจะสร้าง Bot มาทำงานแทนคนได้ครอบคลุมการทำงานครอบจักรวาลนะครับ เอาง่ายๆ สิ่งที่ Bot ทำได้ คือ งานอะไรที่มี Task งานชัดเจน หรือ อธิบายง่ายๆคือพวกงานใช้แรงงานบนคอม หรือ งานพวก Routine ทำซ้ำๆทุกวัน ที่ไม่ต้องมีจุดต้องตัดสินใจอะไร เช่น งาน Copy Paste ข้อมูลจากเว็บ, งานอัปเดตข้อมูล, งานส่งอีเมล ฯลฯ (งานพวกทำแค่ พิมพ์ๆ, คลิกๆ จบ)
ดังนั้นถ้า RPA เข้ามา คนตกงาน คือ คนที่ทำพวกแรงงานบนคอมเหล่านี้แหละครับ ส่วนคนที่ทำงานที่ต้องใช้สกิลก็คงยังรอดต่อไป (แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นะครับ ถ้าตัว AI อยู่เบื้องหลัง RPA มันฉลาดมากขึ้นกว่านี้ แม้คนมีสกิลก็อาจไม่รอด สุดท้ายก็อาจจะเหลือแต่เจ้าของธุรกิจ กับคนเสริฟกาแฟก็ได้ครับ 55+)
RPA Tool ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
- UiPath
- Automation Anywhere
- Blue Prism
- Work Fusion
ตัวอย่างการใช้ RPA ด้วย UiPath
บางคนอาจสงสัยว่าทำไมต้อง UiPath สาเหตุที่ผู้เขียนใช้เป็นตัวอย่างในบทความนี้เพราะ UiPath มันเป็นตัว Tool ที่อยู่ Topๆ ในตลาด และผู้เขียนรู้สึกว่ามันใช้งานง่าย แถมเหตุอันเป็นที่สุด คือ มันมีเวอร์ชันใช้ฟรี!!
นอกจากการใช้ UiPath มาแทนที่งานพวกทำแต่พิมพ์ๆคลิกๆแล้ว บางคนเขาก็นิยมเอา UiPath ไปใช้ทำพวก Web Scrapping กันด้วยนะครับ ใครที่ทำอะไรแนวนี้ก็ใช้ตัวนี้ได้ (ดีเลยสำหรับคนทำแนว Online Marketing และแนวงานวิจัย)
ก็ก่อนจะเริ่มไปที่ตัว UiPath กัน เรามาต้องรู้โจทย์ก่อนว่าเราจะใช้ RPA ไปทำอะไร? ซึ่งสมมติเรารู้แล้ว ต่อไปเราก็ต้องมาจินตนาการเขียนออกมาเป็นข้อๆต่อว่า เอ้ะ! ปกติสิ่งที่เราทำ เราทำอะไรบ้าง แล้วสิ่งนี่แหละจะเป็นสิ่งที่ Bot จะมาเลียนแบบเรา สมมติยกตัวอย่าง เช่น
ในปัจจุบัน ผู้เขียนรู้สึก Suffer มาก กับการที่ต้องมานั่งกรอก Google Form รายงานสุขภาพทุกเช้ากับบริษัทว่าไม่เป็น Covid
ทั้งที่ก็รู้ว่ายังไงทุกครั้งก็ตอบเหมือนเดิม แต่ก็ต้องมารายงานตามหน้าที่
ผู้เขียนรู้สึกเริ่มขี้เกียจที่ต้องมานั่งพิมพ์ตอบใหม่ทุกวัน ดังนั้นจึงคิดว่าจะใช้ RPA มาแก้ปัญหา โดยมีโจทย์ดังนี้
โจทย์
รายงานสุขภาพใน Google Form โดยระบุตัวเองว่าเป็นคนกรอก และสุขภาพแข็งแรงไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง Covid อะไร โดยปกติสิ่งที่ผู้เขียนทำ คือ
- เปิด Google Chrome
- เข้าไปที่ลิงค์รายงานสุขภาพใน Google Form: https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdhAY_3KJvfz7c2nGoqleyzIARqb_7F4ReKxNxvTxnQHQnDqQ/viewform
- หน้า 1 กรอกอีเมล, กรอกรหัสพนักงาน กดใช่ แล้วคลิกไปปุ่มถัด Next
- หน้า 2 หน้าคลิก Drop Down List เลือกกรุงเทพมหานคร กด Next
- …
- …
- …
- ไปเรื่อยๆกรอกตามรูปไปจนถึงหน้าสุดท้าย แล้วคลิกปุ่ม Submit เพื่อส่งแบบสอบถามเป็นอันเสร็จสิ้น
ก็เดี๋ยวขั้นตอนเหล่านี้เราจะสร้างให้ Bot ทำตามเรา
วิธีทำ
- เข้าไปที่เว็บ UiPath ตามลิงค์ด้านล่าง แล้วคลิกปุ่ม TryUiPath Free ด้านบนมุมขวา และทำการสมัครไอดีอะไรให้เรียบร้อย
2. Sign in เข้ามาที่ระบบดังรูป แล้วทำการคลิกปุ่ม Download UiPath Studio เพื่อไปเอา .exe ลงโปรแกรมมันมา
3. คลิกที่ไอคอนไฟล์ .exe ติดตั้งโปรแกรมลงเครื่อง แล้วให้ทำการคลิกปุ่มต่อไปเรื่อยๆจนไปเจอถึงหน้าเลือกเวอร์ชัน ให้เลือก UiPath StudioX ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ออกแบบมาสำหรับคน Non-programming โดยเฉพาะ ที่เพียงใช้แค่การ Drag&Drop และพิมพ์ในการป้อนคำสั่ง Bot เท่านั้น(ตัวเวอร์ชันธรรมดา กับ Pro จะเป็นเวอร์ชันที่ Advance ขึ้น ที่ต้องมีการใช้เขียนโปรแกรม ซึ่งผู้เขียนจะขออธิบายแค่เวอร์ชัน X ที่เหมาะกับผู้เริ่มต้น ในบทความนี้เท่านั้นนะครับ)
4. เข้ามาที่หน้าจอ UiPath แล้วคลิก Blank Task ทำการตั้งชื่อไฟล์ และตั้ง Location ที่จะใช้เซฟไฟล์อะไรให้เรียบร้อย และคลิกปุ่ม Create
5. แล้วก็จะเข้ามาถึงหน้าจอการทำงานของ UiPath จริงๆซะที
โดยก่อนที่เราจะเริ่มไปสร้าง Bot เรามารู้จักคำสั่งเบื้องต้นในโปรแกรมกันซะก่อน
- เบอร์ 1: หน้าจอการทำงาน ซึ่งมันจะต่อคำสั่งกันเป็น Flow Chart เราสามารถกดปุ่ม + เพื่อป้อนคำสั่ง Bot เอง หรือ Drag&Drop คำสั่งจากเบอร์ 2 มาใส่ก็ได้
- เบอร์ 2: คำสั่งการทำงานของ Bot ซึ่งมันก็แบ่งตามชื่ออย่างชัดเจน มีให้ Filter ตามหมวดหมู่ หรือ Search คำก้ได้ วิธีใช้ก็ Drag&Drop คำสั่งที่จะใช้มาที่เบอร์ 1 เลย เช่น อย่างสั่ง Bot ให้เปิด Excel ก็ลากคำสั่ง Use Excel มาใส่ หรือตรง Actions มันจะมีคำสั่งที่ Bot สามารถทำได้ต่างๆ เช่น กด Click, กด Copy หรืออะไรก็ตาม
- เบอร์ 3 : ปุ่ม App/Web Record เป็นฟีเจอร์ให้เราไป Simulate คลิกหน้าจอเองเลย แล้วบอทมันก็จะป้อนคำสั่งแบบ Auto ตามที่เราคลิกลงมาที่กล่องเบอร์ 1
- เบอร์ 4 : เอาไว้ใช้ Download Package เอามาช่วยทำงานอะไรล้ำๆ
- เบอร์ 5 : Notebook ตัว Excel ที่เราเอาไว้ใช้ใส่สูตร คำนวณอะไรที่แปลกๆหลังจากที่ Bot เราเก็บข้อมูลมา
- เบอร์ 6 : ปุ่ม Play เอาไว้รันบอท หลังจากที่เราป้อนคำสั่งในกล่องเบอร์ 1 แล้ว
6. ต่อไปก็ถึงเวลาเริ่มทำตามขั้นตอนในโจทย์ด้านบน โดยเข้าไปที่ Google Chrome แล้วเข้าไปที่ลิงค์ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdhAY_3KJvfz7c2nGoqleyzIARqb_7F4ReKxNxvTxnQHQnDqQ/viewform
7. เข้าไปหน้า UiFlow แล้วลากคำสั่งซ้ายบนสุด User Application/Browser ลงมา
8. กดที่ข้อความ Indicate application to automate (1) มันจะเปิดไปลิงค์หน้า Google Chrome ตามรูป (ถ้ายังไม่ติดตั้ง Add in UiFlow ใน Google Chrome ก็กด Yes ไปมันจะติดตั้งให้ ซึ่งมันจะปิดหน้าเว็บไปก็อย่าไปตกใจ ก็เข้า Google Chrome ใหม่ แล้วทำขั้นตอนเดิมอีกครั้ง)
9. เนื่องจากข้อความที่พิมพ์ข้อแรกมันต้องเลื่อนหน้าจอลงไป ก็กดปุ่ม Page Down บนแป้นคีย์บอร์ดบนหน้า Google Chrome สักครั้ง แล้วกลับไปหน้า UiPath แล้วกดบวกหาคำสั่ง Keyboard Shortcut แล้วกดปุ่ม Record shortcut แล้วกดปุ่มแป้น Keyboard ตรงปุ่ม Page Down ทำให้เหมือนหน้า Google Chrome
10. ลากคำสั่ง Type Into แล้วกดข้อความ Indicate application to automate และคลิกไปที่ตรง Field Email
11. พิมพ์ Email ที่ต้องการพิมพ์ไปในช่อง Type into This
12. ตรงรหัสพนักงานก็ทำเหมือนตัวฟิลด์อีเมล แล้วก็ทำ Page Down เพื่อเลื่อนหน้าจอลงเหมือนขั้นที่ (9) เหมือนเดิม
13. ลากคำสั่งคลิกมาแล้วทำเหมือนเดิม โดยกดข้อความ Indicate application to automate แล้วเลือกเป็นที่ Radio ตัว “ไม่ใช”่
14. ทำเหมือนข้อที่ 13 แต่เป็นการคลิกปุ่มถัดไปแทน ก็จะไปหน้าถัดไป
15. หน้าอื่นๆก็ทำตาม Concept เดิม โดยสามารถดูตัว Demo ได้ในคลิป ซึ่งหลังจากที่อะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม Run ข้างบน ตัว Bot มันก็จะทำงาน Copy เหมือนเราที่ทำงานทุกเช้าเด้ะๆเลย (ในคลิปที่คลิกใน Google Form เป็น Bot ทำหมดนะครับ ไม่มีคนกดเลย)
จบแล้วคร้าบ- — เห็นไหมครับง่ายมากครับเลยใช่ไหมครับ เพียง Drag&Drop แค่นี้ก็ได้ Bot มาใช้แล้ว!!ไม่ต้องใช้ความรู้การเขียนโปรแกรมสักนิด
ซึ่งถ้า Advance หน่อย เราสามารถตั้งเวลา Bot ให้ทำงานทุกวันได้ด้วยนะ อย่างเคสนี้ผู้เขียนก็สามารถตั้งเวลาตี 5 ให้ Bot ทำรายงานสุขภาพทุกเช้า ทำให้ผู้เขียนไม่ต้องห่วงว่าจะลืมรายงานสุขภาพอีก แถมจะได้กลายเป็นคนที่รายงานสุขภาพคนแรกทุกวันด้วยเป็นแน่แท้ บอสก็ปลื้มไปอีก (แต่เมื่อไรที่แบบสอบถามมีปรับรูปแบบที แล้วเราไม่รู้ ก็งานเข้านะครับ เพราะ Bot ยังไงก็คือ ฺBot ถ้ามันเจอสิ่งใหม่ แล้วเราไม่ป้อนคำสั่งมัน มันก็ไม่รู้เรื่องครับ 55+)
สรุปส่งท้าย
เป็นยังไงบ้างครับ พอลองได้เห็นตัวอย่างนี้ เพื่อนๆพอมีไอเดีย เอา RPA ไปแก้ปัญหาอะไรของตัวเองเพิ่มเติมได้ไหมครับ เอาจริงUiPath ยังมีฟีเจอร์ที่ซ่อนไว้อีกมากมาย แต่ผู้เขียนเชื่อว่าเพื่อนๆตอนนี้ก็พอใช้เป็นแล้วละ ที่เหลือก็ลองไปเล่นเอง รับรองว่าสนุก หรือถ้าใครพอมีสกิลการเขียนโปรแกรมหน่อย ก็ลองไปใช้ตัว UiPath Studio ตัวธรรมดาหรือตัว Pro ได้ครับ เพราะ มันสามารถทำอะไรได้อีกหลายๆอย่างมากกว่าตัว UiPath Studio X มากเลย ซึ่งบอกได้เลยว่าตอนนี้ Tool ของ RPA การทำ Automate มันพร้อมแล้ว ที่เหลือก็แค่เราจะหยิบมันเอาไปใช้ได้อย่างไร ดั่งเหมือนกับคนที่เคยพูดไว้ว่า “ต่อให้เรามีดาบที่ลับคมขนาดไหน แต่สุดท้ายถ้าเราไม่ใช้มัน มันก็เป็นแค่ของประดับวางไว้บนหิ้ง” ก็ลองคิดโจทย์ออกให้ได้เยอะๆ และประยุกต์ใช้มันให้ได้ครับ สุดท้ายนี้ใครใจดีก็อย่าลืมกด Follow กันนะครับ ผู้เขียนจะได้เขียนบทความดีๆแบบนี้ออกมาให้เพื่อนๆได้รับชมกันอีกครับ ขอบคุณครับที่ติดตามจนมาถึงตรงนี้ได้ครับผม ขอบคุผรครับ XD