Thai Edtech Landscape 2020

EP 44: วิเคราะห์ Edtech ไทย สู้ตลาดโลก 2021

Nut P

--

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องกับเทรนด์ของ Edtech ที่กำลังมาแรงในช่วงของยุค Covid-19 ซึ่งทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้นะครับว่า เพราะ Covid-19 ทำให้พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของชาวโลกไม่เว้นประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และ Edtech ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งเรื่อง Edtech ที่ผมจะมาเล่าวันนี้ก็จะครอบคลุมตั้งแต่เทรนด์ Edtech ระดับโลก จนมาถึงระดับของไทยเรา พร้อมนำมาเปรียบเทียบกันว่า Edtech ไทยแต่ละสายกำลังอยู่จุดไหนของโลก สำหรับคนที่จะมาทำสตาร์ทอัพสาย Edtech บทความนี้ก็ให้ข้อมูลอะไรที่น่าสนใจมากครับ ใครพร้อมแล้วก็ไปติดตามกันได้เลย

“Edtech ตลาดที่น่าลองเล่น ต้อนรับ New Normal”

ภาพรวมตลาดโลกของ Edtech ก็ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ เพราะด้วยโรคระบาด Covid-19 ทำให้ตลาด Edtech เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยสำนักงานสถิติ Holon IQ คาดว่าสิ้นปี 2020 นี้ ตลาด Edtech จะเติบโตไปถึง $227 ล้านล้าน และคงยังเติบโตแบบพุ่งไปเรื่อยๆเฉลี่ย 16.3% ต่อปี จนในปี 2025 เติบโตเป็นเท่าตัวด้วยมูลค่าตลาดกว่า $404 ล้านล้าน ดังนั้นตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไปเราก็เตรียมตัวเห็นสตาร์ทอัพสาย Edtech ขึ้นใหม่ออกเป็นดอกเห็ดกันได้เลย

แล้วพอพูดถึง Edtech เราก็อาจสงสัยว่าในตลาดโลกปกติเขาทำธุรกิจอะไรกัน ซึ่งถ้าเราดูจาก Unicorn ในตลาดนี้จะเห็นได้ว่ามันจะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆไม่กี่กลุ่ม อาทิ เรื่อง Test Prep เกี่ยวการสอบเข้า, เรื่อง Language เรียนภาษา, เรื่อง Tech เรียนเขียนโปรแกรม, เรื่อง Kid สอนเด็ก, เรื่อง Upskilling พัฒนาทักษะแบบรวมๆ และสุดท้ายเรื่อง LMS ที่เป็นการขายให้ระบบองค์กรหรือสถาบันศึกษา

เราจะเห็นได้ว่า Edtech สตาร์ทอัพรุ่นเก๋าที่โตๆกันนี้ส่วนใหญ่จะมาจากอเมริกาและจีน ที่มีธุรกิจหลักเป็นพวกขายคอร์สออนไลน์หมดเลย เป็นธุรกิจ Edtech ดั้งเดิม เพราะ มัน Scale ได้ง่าย แต่การ Scale นี้มันอาจเอา Concept ไปใช้ไม่ได้ใน ตลาด Edtech ไทย เพราะ เราอย่าลืมว่า Content ที่ไทยเราผลิตมาออกมาเป็นภาษาไทยบ้านเราเองนั้น มันไม่ Mass สากลทั่วโลกตามไปด้วย

Global Edtech Landscape | 2016 | CB Insights

แล้วพอมาดูธุรกิจกลุ่มย่อยๆในธุรกิจ Edtech ของตลาดโลกลงไป เราจะเห็นได้ว่าเขามีกลุ่มย่อยเยอะลงไปมาก และมีหลายกลุ่มที่ยังไม่มีในตลาดไทย ซึ่งเราอาจคิดได้ 2 แง่มุมคือ สตาร์ทอัพไทยเรายังไม่เห็นโอกาส หรืออีกแง่คือที่ต่างประเทศเขาทำก่อนแล้ว แล้วมันสามารถ Scale ออกไปได้ทั่วโลก คนไทยเองก็ใช้กัน ด้วยเหตุนั้นก็เลยไม่รู้ว่าจะ Localize มาทำเองในประเทศอีกทีทำไม ซึ่งการคิดแบบนั้นผู้เขียนเองคิดว่าเป็นวิธีคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะ ถ้าเป็นแบบนั้นเราจะไม่มี Edtech ผลิตในประเทศอะไรใหม่ๆเองเลย และ เราจะเป็นผู้ตามตลอดไปครับ

Southeast Asia EdTech 50| 2020| HolonIQ

พอลงมาดูแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ้านเรา เราก็จะพบว่ามีหลายสตาร์ทอัพเหมือนกันที่ทำด้าน Edtech โดยส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ที่ประเทศสิงค์โปรและอินโดนิเชีย ซึ่งก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะ 2 ประเทศนี้เป็น 2 ประเทศเดียวใน SEA ที่มี Unicorn วิ่งกันว่อน ยังดีในไทยยังพอมีสตาร์ทอัพ Edtech รองลงมาบ้างเป็นอันดับ 4 ที่เสียดายแพ้เวียดนามไปหน่อยๆ

Southeast Asia EdTech 50| 2020| HolonIQ

เทรนด์ EdTech ปี 2021

1.Online Learning: แน่นอนว่าเทรนการเรียนออนไลน์ยังคงไปต่อ แม้จะมีข่าวผลิตวัคซีน Covid-19 สำเร็จแล้วก็ตาม ซึ่งพฤติกรรมของทุกคนก็ยังคงเป็นแบบ New Normal ดังนั้นเทรนด์การเรียนออนไลน์คงยาวไปใกลอีกหลายปี

2. Virtual Classroom: เป็นการเรียนในห้องเรียนเสมือนบนโลกออนไลน์ นักเรียนสามารถนั่งเรียนที่บ้านในบรรยากาศแบบเรียนในห้องเรียนโดยไม่ต้องเสี่ยง Covid ส่วนคุณครูก็สามารถจัดการเรียนการสอนได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะทุกอย่างใช้ระบบ ใครนึกภาพไม่ออกลองนึกถึงการเรียนบน Zoom เวอร์ชันอัพเกรด ซึ่ง Zoom มีคนใช้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในช่วง Covid ดังนั้นเทคโนโลยีนี้ก็เช่นกัน

3. Video-assisted Learning: ด้วยที่ในอเมริกาตามห้องเรียนเริ่มจะมี Smart TV และนักเรียนก็มี Ipad อะไรหมดแล้ว ผนวกกับวิกฤต Covid ทำให้คนต่างเริ่มมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีมากขึ้น จึงเป็นเวลาที่เหมาะเจาะที่คุณครูจะใช้เทคโนโลยีวีดีโอประกอบการสอนนักเรียนนี้ขึ้นมา ซึ่งใครไม่เห็นว่าภาพเป็นอย่างไรสามารถชมตัวอย่างได้ที่คลิปด้านล่าง

4. Immersive Learning ด้วย VR /AR: เทรนด์การใช้ VR/AR ก็ยังคงมาเหมือนเดิม เพราะ เป็นเทคโนโลยีที่หลายบริษัทพยายามพัฒนาในอุตสาหกรรมการศึกษามาเนิ่นนานแล้ว เพราะ การเรียนด้วย VR/AR ทำให้ผู้เรียนเห็นภาพในสิ่งที่ได้แต่จินตนาการให้สมจริงมากยิ่งขึ้น เช่น การมองภาพดาวเคราะห์ในอวกาศ และอวัยวะภายในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยีนี้ก็จะยิ่งทำให้เห็นภาพที่สมจริงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม โดยในช่วง Covid พวกสื่อ VR/AR ก็อาจมีแนวโน้มพัฒนาไปในกลุ่มใหม่ๆแบบแนวราบเพิ่มมากขึ้น เพราะ คนเริ่มออกจากบ้านสัมผัสอะไรน้อยลง สิ่งที่คนไม่เคยคิดจะดูด้วย VR/AR คนเหล่านั้นก็อาจเปลี่ยนใจคิดอยากจะดูขึ้นมาแทน

5. Gamification : เรื่องเกมส์แน่นอนว่ายังคงมา ไม่ใช่เฉพาะสำหรับการเรียนในวัยเด็ก แต่ยังรวมไปถึงการเรียนของวัยผู้ใหญ่ด้วย เพราะ ปกติการสนุกกับการเรียนมันย่อมดีกว่าการเรียนแบบเคร่งเครียดอยู่แล้ว และด้วยการที่เกมส์มันมักจะแฝงไปอยู่กับทุกเทคโนโลยีการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น VR/AR หรือ Online Learning ดังนั้นการเข้ามา Covid เทคโนโลยีเกมส์ในวงการศึกษาก็ยังคงไปต่อได้แน่นอน

6. Artificial Intelligence (AI) : เหมือนกับ Gamification เพราะการเพิ่มขึ้นของการใช้เทคโนโลยีในช่วง Covid และ AI เป็นสิ่งที่แฝงไปกับทุกเทคโนโลยี ดังนั้นเทคโนโลยีนี้ก็ยังคงไปต่อ ซึ่งในปีหน้าไม่แน่ว่าเราอาจจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ อย่างเช่น การมี AI แอบสอนคอร์สออนไลน์ให้ก็เป็นได้

7. Blockchain : เทคโนโลยีนี้ก็คงมาเช่นกัน ด้วยที่วงการศึกษาเริ่มการมีใช้เทคโนโลยีในช่วง Covid เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลายคนจึงเริ่มคำนึงถึงความปลอดภัย และ Blockchain เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยตอบโจทย์ โดยตัวอย่างการใช้ Blockchain ในวงการศึกษา เช่น การออกใบปริญญา และการเก็บข้อมูลนักเรียน เป็นต้น

ภาพรวมตลาด Edtech ในไทย ปี 2020 ที่ผ่านมา

Thai Edtech Landscape 2020

ช่องว่างในการเข้าตลาด Edtech ไทยยังเหลืออีกมาก แต่ถึงกระนั้นคนก็ยังคงไม่นิยมเข้าไปลงเล่น แม้จะได้แรงสนับสนุนจากวิกฤต Covid-19 ก็ตาม อาจเป็นเพราะทั้งเรื่อง Ecosystem ในประเทศที่ไม่ค่อยมีนโยบายให้การสนับสนุนเอง รวมถึงข้อจำกัดด้านภาษาที่ทำให้ตลาดค่อนข้างจำกัด โดยธุรกิจ Edtech ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นด้านแพลตฟอร์มขายคอร์สออนไลน์ ที่เทรนด์การรับรู้ของคนที่ต้องสอนแบบ Live สดจะค่อยๆน้อยลง และมาทดแทนด้วยการเรียนแบบ Anywhere Anytime แทน ส่วนด้าน Deep Tech และพวกขายระบบ LMS ให้สถาบันการศึกษาในไทยก็นับว่ายังน้อย ดังนั้นจุดนี้จึงอาจเป็นโอกาสของสตาร์ทอัพไทยในการตีตลาด Edtech จริงๆในปี 2021 โดยรายละเอียด Thai Edtech Landscape 2020 ของธุรกิจ Edtech ไทยที่ผ่านมามีดังนี้

UpSkilling

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ในด้าน Upskilling แบบภาพรวมๆนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมมากในประเทศไทย ซึ่งอาจเรียกได้ว่ามากที่สุดในกลุ่ม Edtech แล้ว โดยนอกจากธุรกิจในรูป ยังมีเหล่าเว็บเล็กเว็บน้อยมากมายที่ทำธุรกิจแนวนี้ ซึ่งไม่น่าเป็นที่แปลกใจ เพราะ มันเป็นธุรกิจง่ายๆแบบเสือนอนกิน เพียงหาผู้สอนมาทำ Content พอมีคนคลิกซื้อคอร์สก็ได้เงินเข้าธุรกิจทันที แถมเมื่อทำคอร์สแล้ว ตัว Content ก็ยังคงอยู่คงกระพันเป็น Asset ในแพลตฟอร์มตลอดไป แต่เพราะด้วยความง่ายนี้มันจึงเหมือนเป็นดาบสองคม ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้ง่าย การแข่งขันจึงสูง แต่ถึงยังไงก็ยังคงมี Demand คนเข้ามาทำธุรกิจสามารถทำได้อย่างสบายใจ ซึ่งข้อเสียการทำไนไทย คือ Scale ยาก เพราะ แพลตฟอร์มเป็นภาษาไทย ขายได้แต่คนไทย ไม่เหมือนธุรกิจโลก คนที่หวังเป็น Unicorn โดยการทำสายนี้ในไทยแบบเพียวๆ อาจจะต้องหมดหวังกันไป การที่จะเติบโตต่อไปในประเทศได้ อาจต้องขยายธุรกิจไปถึงทำด้าน LMS เพิ่ม เช่น การขายพวกระบบ Training ให้องค์กร

SkillLane

สตาร์ทอัพที่เข้าวงการขายคอร์สออนไลน์ตั้งแต่ยุคบุกเบิก จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเรียกกันว่าเป็นแพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ที่มีคอร์สเยอะที่สุด ซึ่งเนื้อหาการเรียนมีครอบคลุมแทบทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นด้าน เทคโนโลยี, ธุรกิจ, การเงิน และอื่นๆ โดยปัจจุบัน SkillLane ยังได้ขยายธุรกิจขายแพลตฟอร์ม LMS ให้กลุ่มมหาวิทยาลัย รวมถึงยังร่วมสร้างหลักสูตรการเรียนออนไลน์กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย

Taladpanya

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์อีกแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมการสอบเกือบทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นด้าน Technology, Business, Investment และอื่นๆ

UCourse

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ที่รวมเนื้อหาแบบกว้างๆทุกกลุ่มเช่นกัน

Skooldio

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ที่ผู้ก่อตั้งมีดีกรีเป็นอดีต Data Scientist ของ Facebook และด้วยเหตุนั้นแพลตฟอร์มนี้จึงมีจุดเด่นตรงคอร์สเรื่อง Data ซึ่งนอกจากเรื่อง Data ก็ยังครอบคลุมไปถึงเรื่อง Technology, Designและ Business เป็นแพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ครบวงจรสำหรับคนสายดิจิทัลจริงๆ

Your Next U

แพลตฟอร์มที่เน้นในการขายคอร์สออนไลน์สำหรับทักษะยุคใหม่ เช่น Digital Marketing, Data Analytics, Soft Skill, Design Thinking เป็นต้น

FutureSkill

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ที่เน้นขายคอร์สสายดิจิทัล ทั้งด้าน Technology, Business และ Design

https://futureskill.co/

CourseSquare

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์เช่นกัน โดย CourseSquare นี้จะมีจุดเด่นอยู่ที่คอร์สด้านการเขียนโปรแกรม แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีคอร์สอื่นๆผสมอยู่ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามต้องการ

Digital Skill

แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์ที่ได้การสนับสนุนจากสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย ซึ่งเนื้อหาหลักจะเน้นไปการด้านการเขียนโปรแกรม โดยจะมีเนื้อหาด้านดิจิทัลอื่นๆที่พ่วงมานิดหน่อย

Content Shifu

แพลตฟอร์มออนไลน์สาย Digital Marketing

dots.academy

แพลตฟอร์มออนไลน์สาย Digital Marketing

Designil

แพลตฟอร์มออนไลน์สาย Design UX/UI

Grappik

แพลตฟอร์มออนไลน์สาย Design UX/UI

Tech Learning

Edtech สายที่อาจจะเรียกได้ว่าน่าสนใจมากที่สุดในตลาดไทยในยุค Covid-19 แล้ว เพราะ ในช่วง Covid-19 มีแต่คนตกงาน แต่ในทางกลับกันการจ้างงานในสาย Tech มีแต่ Demand ต้องการเพิ่มมากขึ้น ซึ้งแม้พอจะผ่านวิกฤต Covid-19 ไป แนวโน้มนี้ก็ยังคงไปต่อเรื่อยๆแบบปฏิเสธไม่ได้ สังเกตุได้ง่ายๆจากคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยระดับ Top ในไทย ที่เมื่อก่อนตอนเลือกสายเรียนตอนปี 2 สายวิศวะคอมจะเป็นสายที่คนเลือกแบบรั้งท้าย แต่ปัจจุบันสายคอมเป็นสายที่คนนิยมเลือกมาเป็นอันดับ 1 ทิ้งท้ายอันดับ 2 อย่างเทียบไม่ติด ดังนั้นตีไปได้เลยว่าจะมีลูกค้าใน Edtech สายนี้เพิ่มขึ้นมหาศาลจากการที่คนอยากย้ายมาทำงานสาย Tech นี้ ไม่ว่าจะเป็น เด็กเล็ก, เด็กกำลังเรียน, เด็กจบใหม่ คนกำลังทำงาน หรือคนตกงาน อย่างแน่นอน โดยถ้ามองในตลาดโลกก็มีธุรกิจหลายตัวที่ทำสายนี้แล้วไปถึงระดับ Unicorn แล้วในไทยละ บอกได้เลยว่าในไทยยังเหลือช่องว่างอีกมาก รวมถึงการทำ Edtech สายนี้ยังเป็นสายที่ Scale ไประดับโลกได้ง่าย ไม่ติดข้อจำกัดด้านภาษาเหมือน Edtech ด้านอื่นๆ (เป็นรองเพียงแค่ Edtech สาย Language) นอกจากนั้นสำหรับ Edtech สายนี้ในไทย ยังไม่มีตัวใดที่ถึงระดับที่เรียกว่าเก๋ามาก และไปถึงระดับโลก ซึ่งถือว่าเป็นจังหวะอันดีของสตาร์ทอัพใหม่ที่จะเข้าไปตีตลาด Edtech สาย Tech ในยุค Covid-19 นี้

BorntoDev

สตาร์ทอัพทำแพลตฟอร์มขายคอร์สเขียนโปรแกรมออนไลน์ ดั่งชื่อธุรกิจที่ต้องการพัฒนาคนให้เกิดเป็น Dev โดยตัวสตาร์ทอัพมีหลักการของธุรกิจว่า “เราไม่ใช่เป็นแค่ผู้สอน แต่เป็นเสมือนพันธมิตรทางไอเดีย โค้ชผู้แนะแนวทางในการสร้างนวัตกรรมของคุณ”

CodeCamp Thailand

แพลตฟอร์มขายคอร์สเขียนโปรแกรมออนไลน์ที่ได้รับการสนับสนุนหลักจากสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย โดยใช้หลักการเรียนแบบต่อเนื่องระยะยาวจนสมชื่อว่า Code Camp ซึ่งสิ่งที่พิเศษของ Camp นี้ คือบางคอร์สเขามีการันตีว่าได้งานเขียนโปรแกรมตอนเรียนจบด้วยนะ แถมคนที่มีเงินไม่พอจ่ายค่าคอร์ส เขายังมีให้กู้ผ่อนจ่ายด้วย ซึ่งเป็น Solution ที่ตอบ Pain สำหรับคนอยากผันสายมาทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์จริงๆ

CodeKids

แพลตฟอร์มรวบรวมความรู้สื่อการสอนสำหรับการเขียนโปรแกรมสำหรับเด็ก โดยใช้คอนเซปว่า “Learning With Coding เพราะทุกการเรียนรู้สามารถโค้ดดิ้งได้” ซึ่งเป็นอะไรที่น่าสนใจ เพราะ ปัจจุบันหลักสูตรการเขียนโปรแกรมก็ถูกบรรจุในทุกโรงเรียนที่เด็กเรียนเรียบร้อยแล้ว

Codekit

แพลตฟอร์มเรียนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กอีกตัว ซึ่งเด็กๆสามารถมาเรียนเขียนโปรแกรมออนไลน์บนแพลตฟอร์มนี้ได้เลย โดยตัวธุรกิจมีคอนเซปว่า “อย่าให้ความไม่รู้ เป็นตัวหยุดการเรียนรู้ของคุณ แค่อ่านหนังสือออก ก็เขียนโปรแกรมได้”

CodeLab

แพลตฟอร์มเรียนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กสุดท้ายที่เพิ่งออกมาสดๆร้อน หรือจะเรียกว่ายังไม่เปิดตัวเลยดีกว่า ซึ่งเหตุเกิดขึ้นจากระหว่างที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความ แล้วดันมีคน Invite เพจตัวแพลตฟอร์มนี้มาใน Facebook ผู้เขียนพอดี โดยรายละเอียดในเพจกล่าวว่าเป็นการสอนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กประถมปลายโดยไม่ใช่คอมพิวเตอร์ด้วยวิธี Block-base Coding ซึ่งเป็นวิธีสอนยุคใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย ก็มาลุ้นกันต่อไปว่าผลตอบลัพธ์จะออกมาดีขนาดไหน

Language Learning

Edtech อีกสายที่น่าสนใจ เพราะ ยุคไหนคนก็สนใจเรียนภาษา เรียนได้ทุกวัย แถมเป็น Edtech สายที่ Scale ไประดับโลกได้ง่ายที่สุด แต่พอเพราะความง่ายนี้ การแข่งขันของสายเรียนภาษา คู่แข่งจึงจะไม่ใช่แค่ภายในประเทศไทยแล้ว แต่จะเป็นการแข่งกับระดับโลกด้วยเลย เราเลยจะเห็นสถาบันสอนภาษาจากต่างประเทศมาขยายสาขาในไทยหลายแห่ง ทั้งแบบที่เป็นธุรกิจดั้งเดิมเอง และเป็นแบบ Edtech เช่น British Council, Wallstreet, Engoo ส่วนถ้าเป็นที่ไทยเองก็มีธุรกิจสอนภาษาแบบนี้ขึ้นมาเป็นดอกเห็ด แต่ก็เหมือนของสาย Upskilling ที่ยังไงตลาดมันก็ยังมี Demand โดยถ้าจะให้แนะนำแนวทางการทำธุรกิจสายนี้ คือ การตั้งต้นทำแพลตฟอร์มที่ Flexible ให้ขยายไประดับโลกได้ ที่ไม่หยุดแค่การตีตลาดไทย โดยอาจจะมีการใช้พวกเทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI หรือ Gamification เป็น Secret Sauce ช่วยในการตีตลาดให้ชนะตลาดยุคเก่าต่อไป นอกจากนั้นผู้เขียนยังแปลกใจว่าทำไมปัจจุบันเรายังไม่เห็นแพลตฟอร์มออนไลน์ไทยชื่อดังใดที่ทำการสอนภาษาไทยบ้านเราให้คนต่างชาติเองบ้าง ทั้งที่มีหลายประเทศอย่างเช่นจีนและประเทศข้างบ้านมี Demand ในการเรียนภาษาบ้านเราเยอะอยู่ ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ที่น่าลองไม่น้อย

Voxy

สตาร์ทอัพ Edtech ผู้ทำแอปพลิเคชันสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ ด้วยการใช้เทคโนโลยี AI คู่ขนานไปกับการสอนสดโดยเจ้าของภาษา

Globish

สตาร์ทอัพ Edtech สอนภาษาอังกฤษออนไลน์ชื่อดังของไทยอีกตัว ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ Paint Point เรื่องทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทย

QuestLanguage

แพลตฟอร์มสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ โดยเน้นสอนเรื่องการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ในระดับสากล เช่น IELTS, SAT, TOEFL, CU-TEP

Senseino

แพลตฟอร์มสอนภาษาต่างประเทศออนไลน์ที่ไม่ใช่เฉพาะภาษาอังกฤษ แต่เป็นภาษาต่างประเทศที่นิยมอื่นๆด้วย เช่น ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี นอกจากนี้แพลตฟอร์มของ Senseino ยังเป็นแหล่งรวบรวมการจ้างงานแปล/ล่าม หรือหาติวเตอร์เรียนส่วนตัว จากคนสอน คนเรียน ในแพลตฟอร์มอีกด้วยนะ

Test Preparation

Edtech สายนี้เป็นสายสำหรับเด็กนักเรียนเตรียมตัวสอบในห้องเรียนและเข้ามหาวิทยาลัย เหมือนกับ Upskilling ที่ถ้าแค่เป็นการขายคอร์สกวดวิชาออนไลน์อย่างเดียวก็ยากที่จะ Scale แบบไปใกลๆ เพราะ ติดปัญหาข้อจำกัดด้านภาษาและข้อสอบที่เป็นเฉพาะในประเทศ ดังนั้นถ้าจะมาสายนี้และต้องการ Scale ไปให้ได้ถึงระดับ Unicorn ตัวสตาร์ทอัพอาจจะต้องขยายไปถึงเรื่องการสร้างหลักสูตรเอง พร้อมกับการไปร่วมมือการทำงานกับองค์กรภาครัฐ หรือจะทำไปอย่างคล้าย SkillLane ที่ทำระบบ LMS ไปขายเพิ่มเติมให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยก็ได้ โดยช่องว่างสายทางธุรกิจที่สายนี้ที่น่าสนใจทำก็คือการทำธุรกิจแบบ B2G กับรัฐและ B2B กับโรงเรียนเอกชนนี่แหละครับ

OnDemand

สถาบันกวดวิชาบุกเบิกแรกๆที่ใช้ระบบออนไลน์เข้ามาช่วยการสอน ซึ่ง Ondemand จริงๆมีบริษัทแม่ชื่อว่า Learn Corporation โดยในสายนี้บริษัท Learn Corporation น่าจะเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้ว ซึ่งนอกจาก Ondemand บริษัท Learn Corporation ยังมีธุรกิจด้านการศึกษาในเครืออีกมากมาย ทั้งยังมีการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Blended Learning และ Personalised Curriculum ที่ปัจจุบันมีการใช้แล้วกับโรงเรียนต้นแบบไทย

At Home

แอปเรียนกวดวิชาออนไลน์มาใหม่ที่เพิ่งมาในปี 2019 โดยสิ่งที่พิเศษอย่างแรกคือสามารถเรียนออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือได้ และอีกอย่างหนึ่งคือเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมติวเตอร์ชื่อดังในไทยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น อ. อรรณพ, Eureka, Ideal Physic ซึ่งคนที่เคยเรียนกวดวิชามาต้องเคยได้ยินชื่อแน่นอน

NockAcademy

แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์บนสมาร์ทโฟนสำหรับเด็กตั้งแต่วัยประถมยันถึงช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาการเรียนก็จะมีครอบคลุมทั้งวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่นอกจากการดูวีดีโอในแอปแล้ว ยังมีแบบฝึกหัดออนไลน์ให้ทำควบคู่อีกด้วย

Dek-D’s School

Dek-D เว็บบอร์ดรุ่นเก๋าที่อยู่เคียงข้างกับนักเรียนไทยมา 10 ปี จนพูดได้ว่าเป็นเว็บบอร์ดด้านการศึกษาในช่วงมัธยมที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ซึ่งในปัจจุบันก็มีขายคอร์สเรียนออนไลน์อีกด้วย

Open Durian

แพลตฟอร์มติวเตอร์ออนไลน์และรวบรวมแนวข้อสอบ ด้วยเนื้อหาที่มีการคัดสรรอย่างดีและตอบโจทย์ของนักเรียนที่อ่านหนังสือสอบไม่ทัน ทำให้ปัจจุบันมีนักเรียนใช้แพลตฟอร์มต่อปีถึงเกือบ 4 ล้านคน

Vonder

แชทบอทเชิงการศึกษาที่ใช้หลักการของ Gamification ซึ่งผู้ใช้สามารถสนุกไปกับการเล่นเกมส์ที่มีสาระ โดยการแชทกับกระรอกตัวสีแดงที่ชื่อ Vonder เนื้อหาในเกมส์ก็ครอบคลุมไปในหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น การท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ, ตารางธาตุ, ประวัติศาสตร์โลก และอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้เจ้ากระรอก Vonder ยังฉลาดมีความสามารถในการปรับระดับความยากของเกมส์ในบทเรียน เป็นแบบ Personalized Learning ได้ด้วยนะ

LMS (Learning Management System)

ธุรกิจ LMS โดยผู้เขียนขอนิยามการจัดกลุ่มง่ายๆว่ามันคือธุรกิจที่ขายระบบต่างๆให้แก่ สถาบันการศึกษา หรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นระบบ Online Learning, ระบบจัดการสอนในห้องเรียน, ระบบจัดการในโรงเรียน และอื่นๆ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าธุรกิจจ้าวใหญ่ๆต่างประเทศเป็นคนครองตลาดไทยได้หมดเลย ที่เห็นได้ชัดง่ายๆคือ ระบบ Blackboard ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือจะระบบ Moodle ที่หลายมหาวิทยาลัยใช้ในการจัดการระบบจัดการเรียนการสอนกัน ซึ่งเป็นของจ้าวต่างประเทศทั้งนั้น แต่ยังดีที่ประเทศไทยในปัจจุบัน ที่สถาบันการศึกษาเริ่มมีการรับระบบ LMS ในประเทศมาใช้แล้วอย่างเช่น การรับระบบ LMS ของ Skill Lane (ตัวนี้ผู้เขียนขอจัดกลุ่มอยู่ที่ Upskilling ด้านบน เพราะ Skill Lane ทำสายนั้นเป็นหลักสูงกว่า) เข้ามาทำหลักสูตรการเรียนออนไลน์ปริญญาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งนับว่าเป็นการก้าวแรกของตลาดไทยที่ดี จึงสรุปได้ว่าตลาด LMS นี้ค่อนข้างน่าสนใจทั้งในกลุ่มสถาบันการศึกษาเอง และองค์กรทำงานทั่วไปที่ยังมีไม่มีใช้ระบบเองอีกมาก หรือพร้อมที่จะมา Localize เปลี่ยนมาใช้ระบบของไทยเรา ซึ่งคนที่มาสายนี้ก็เตรียมทักษะในการทำธุรกิจด้าน B2B และ B2G ได้เลย

Conicle

แพลตฟอร์ม LMS ชื่อดังสำหรับองค์กรในไทยที่หายาก โดยการให้บริการระบบของ Conicle เป็นแบบ Software as a Service ซึ่งฟีเจอร์การใช้งานนี้ก็จะครอบคลุมหลักๆไปในเรื่องการให้พนักงานมาเรียนในแพลตฟอร์มเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง พร้อมที่ HR ได้รับข้อมูลจากการเรียนเพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพพนักงานคนๆนั้นต่อไป

FrogGenuis

ระบบ LMS ที่เน้นไปในกลุ่มการจัดการการเรียนออนไลน์ ซึ่งตัวระบบ FrogGenius ก็ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรภาครัฐและองค์กรใหญ่ๆในไทยหลายแห่ง นับได้ว่าเป็นบริษัทอีกจ้าวในไทยที่มีความเก๋าในวงการ LMS จริงๆ

Piyawatana

บริษัททำระบบ LMS ขายให้สถาบันศึกษาสาย Social Enterprise ซึ่งตัวระบบก็มีฟีเจอร์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำ Flipped Classroom การทำแบบฝึกหัดและสอบออนไลน์ และอื่นๆ

MedEd

ระบบ LMS สำหรับการเรียนการสอนของสายแพทย์ ซึ่งตัวระบบก็สามารถทำได้หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ทำแบบประเมิน, คำนวนเกรด, สมุดบันทึกออนไลน์ จนไปถึงการบันทึกรายงานผู้ป่วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นระบบที่ทำออกมาเพื่อการเรียนของนักศึกษาแพทย์จริงๆ

School Bright

ตัว LMS อีกจ้าว ที่ลงประเภทย่อยจนอาจจะต้องเรียกว่าระบบ School Administration ซึ่งจ้าวในไทยยังมีขายระบบแบบครบวงจรนี้น้อยมาก โดยตัว School Bright ก็จะเป็นระบบจัดการที่ขายให้โรงเรียน ซึ่งปัจจุบันก็มีฟีเจอร์ครอบคลุมในเรื่อง ระบบวิชาการและสั่งการบ้าน, ระบบเช็คชื่อและแจ้งลา, ระบบสหกรณ์/โรงอาหาร, ระบบบัตรนักเรียนดิจิทัล และระบบค่าเทอมและการเงิน

Kids Learning

Edtech ในตลาดการศึกษาเด็กเล็ก ถ้าเรามองในตลาดการศึกษาเด็กเล็กดั้งเดิม เราจะเห็นว่าทั้งตลาดไทยและตลาดโลกค่อนข้างมีความนิยมพอสมควร ในขณะที่พอไปเป็นไปตลาดการศึกษา Edtech เด็กเล็กออนไลน์ดันไม่ค่อยมีคนทำ และ Unicorn ก็มีแค่ธุรกิจเดียว ก็เป็นที่ไม่น่าแปลกใจ เพราะ Demand ในตลาดนี้ มันไม่ได้มาจากเด็กเล็กโดยตรง แต่มันมาจากผู้ปกครองเด็ก ซึ่งเป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้านออนไลน์ของสายนี้พอสมควร โดยนอกจากการทำธุรกิจสาย Direct ไปที่ผู้ปกครองแล้ว อาจมีการทำธุรกิจเป็นแบบขายคอร์สหรือขายของเล่นให้โรงเรียนหรือมูลนิธิเพิ่มเติม ซึ่งในไทยตอนนี้ก็มีทั้งทำธุรกิจสายนี้เป็นแบบ Social Enterprise, ขายของเล่น IOT เสริมการเรียนรู้ และอื่นๆ ซึ่งโมเดลการเติบโตของธุรกิจสายนี้จากไทยไปสู่ระดับโลก การผลิตพวกสื่อการสอนหรือของเล่นพวก IOT, VR/AR น่าจะเป็นสิ่งที่ Scale ในระดับโลกได้ง่ายที่สุด

littlelot

บริษัทสาย Gamification ในการสร้างสื่อการสอนสำหรับการศึกษาของเด็กๆ โดยขอแค่มี Computer/Laptop, Webcam, 3d Camera (Motion), Projector ก็สามารถใช้โปรแกรม Little Interactive Play เป็นเกมส์ให้เด็กเล่นได้ด้วยเทคโลยี Video-assist Learning ได้ทันที นอกจากนี้ littlelot ยังมีของเล่นสาย IOT ที่ชื่อ Biino สำหรับการเรียนรู้ของเด็กเล็กขายด้วยนะ ซึ่งนับได้ว่าเป็นบริษัท Edtech ไทยไม่กี่แห่งที่สามารถผลิตเทคโนโลยีสำหรับเด็กเล็กได้เอง

Dexii

สตาร์ทอัพ Edtech ผลิตสื่อ VR ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก โดยใช้หลักการของ Gamefication ในการสอนเด็กเพื่อให้เด็กสนุกไปการเล่นเกมส์จากแว่น VR พร้อมได้ความรู้ไปในตัว

Taamkru

ถามครู แพลตฟอร์มแบบฝึกหัดออนไลน์สำหรับสอนเด็กวัยเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนไปถึงระดับประถม โดยจุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้คือการใช้หลักการของ Gamification ทำให้เด็กสนุกไปกับการทำแบบฝึกหัด ที่คัดสรรมาอย่างดีจากทีมพัฒนาที่มีความเชียวชาญด้านการศึกษาของเด็กเล็กโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันตัวสตาร์ทอัพนี้ยังขยายไปถึงการทำแอปตรวจข้อสอบอีกด้วย

http://taamkru.com/

EdWINGS

Edtech สตาร์ทอัพสาย Social Enterprise ที่มุ่งเน้นให้การศึกษาเด็กไทยให้ดีขึ้น โดยหลักๆยังไม่ค่อยเห็นมีการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจมากนัก แต่ตัวธุรกิจนี้ก็เรียกได้ว่าได้ผลิตโครงการดีๆให้เด็กไทยหลายโครงการเลย

Saturday School

เป็น Edtech สตาร์ทอัพสาย Social Enterprise อีกธุรกิจหนึ่งที่คล้ายๆ Edwings แต่มีสิ่งที่พิเศษ คือ คุณครูผู้สอนจะเป็นการ Volunteer จากเด็กวัยรุ่นจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ข้อดีคือคนเรียนคนสอนคือเด็กกันเอง ดังนั้นจะเป็นการเรียนอะไรที่มีความเข้าใจต่อกันดีที่สุดแล้ว

Jobs

ถ้าจะให้พูดว่าสตาร์ทอัพสายหางานเป็น Edtech อาจจะพูดได้ไม่เต็มปาก และการนำไปอยู่กับกลุ่ม HR Tech น่าจะเป็นอะไรที่ใกล้เคียงกว่า แต่ผู้เขียนขอนำสตาร์ทอัพสายหางานนี้มาอยู่กลุ่ม Edtech ด้วยเพราะ อย่าลืมว่า ทุกการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เราเรียนเพื่อมีเป้าหมายในการหางาน ดังนั้นด้วยความใกล้เคียงที่มีการเชื่อมต่ออยู่ Cycle เดียวกัน ผู้เขียนเลยขอพ่วงเข้ามา ซึ่งในยุค Covid-19 นี้ มีคนตกงานเยอะ บริษัทไม่รับเด็กจบใหม่ และมีหลายคนอยากย้ายสายงานมาด้าน Tech การทำ Edtech อะไรใหม่ๆ ที่สามารถขยายไปถึงเรื่องการหางานแบบ End to End และสามารถแก้ปัญหาของคนกลุ่มนี้ได้ด้วย จึงเป็นอะไรที่น่าสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าตลาดการหางานใหญ่มากทั้งในไทยและระดับโลก ดังนั้นการพ่วง Edtech มากับสายหางานนี้จึงอาจจะเป็นคำตอบสำหรับสตาร์ทอัพไทยที่กำลังต้องการการ Scale ไปเป็น Unicorn อยู่ก็เป็นได้ โดย Key ของการทำ Edtech สายนี้คือ การที่นอกจากจะสามารถพัฒนาทักษะคนให้เก่งขึ้นได้แล้ว ยังต้องหาวิธีให้ HR สามารถสังเกตุเห็นการพัฒนาเหล่านั้นได้ด้วย เพราะ อย่าลืมว่าต่อให้เรามีความสามารถเลิศเลอเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถทำให้ใครเห็นได้ ก็เป็นอันจบครับ

Career Visa

สตาร์ทอัพสาย Social Enterprise ที่มีสร้างขึ้นมาเพื่อให้ นักเรียน นักศึกษา หรือคนที่ทำงานไปแล้ว สามารถเข้ามาค้นพบและเลือกสายอาชีพที่ตรงกับความต้องการ โดยหลักๆตัวแพลตฟอร์มจะเป็นการให้บริการคำปรึกษาทางด้านอาชีพผ่านออนไลน์ จากโค้ชที่มีประสบการณ์หลากอาชีพ เพื่อให้คนที่ได้ใช้บริการเจอคำตอบด้านการทำงานที่ใช่ในชีวิต

เด็กฝึกงาน

แพลตฟอร์มหาแหล่งฝึกงาน ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มไม่กี่ตัวในไทยที่นักศึกษาสามารถใช้หาที่ฝึกงานได้

ScoutOut

สตาร์ทอัพไทยหางานที่น่าสนใจอีกตัว โดยนอกจากการหางานแล้ว ตัวแพลตฟอร์มของ ScoutOut ยังทำคอร์ส Upskill สำหรับคนอยากเปลี่ยนสายงานใหม่อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการขยายไปถึงตลาด SEA อีกด้วย

Getlinks

สตาร์ทอัพไทยสายหางานด้าน Tech ตัวอย่าง ที่ไม่ได้ตีตลาดแค่ในไทยเท่านั้น แต่ตีไปถึงระดับ Asia

Others

Read Ring

สตาร์ทอัพ Edtech ไทยที่สร้างเครื่องอ่านหนังสือและแปลงเป็นอักษรเบรลล์ให้คนพิการทางสายตาสัมผัส โดยใช้เทคโนโลยี OCR และ IOT ในการสร้างตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งธุรกิจนี้ Claim ว่าเป็นธุรกิจจ้าวแรกของโลกที่ทำได้แบบนี้นะ

Bearcon School

แอปพลิเคชัน ระบบติดตามดูแลเด็กและแจ้งเตือน เมื่อเด็กเกิดอุบัติเหตุและถูกลืมไว้ในรถโรงเรียน

Inskru

แพลตฟอร์มสำหรับคุณครูในการแบ่งปันไอเดียสอนเด็ก

Sara+Pad

แพลตฟอร์มห้องสมุดออนไลน์

Bookdose

แพลตฟอร์มห้องสมุดออนไลน์

Fellowie

แพลตฟอร์มหาติวเตอร์และที่ปรึกษาโดยการวีดีโอคอลออนไลน์

สรุปส่งท้าย

ตลาด Edtech ไทยเป็นตลาดที่น่าลงเล่นมาก โดยเป็นอย่างยิ่งในตลาด Edtech สาย Tech Learning ที่ได้รับแรงผลักดันจาก Covid-19 มา และถ้าจะให้ดีควรเสริมทำไปให้ถึงกระบวนการหางานให้ผู้ที่ได้รับบริการด้วย โดยการการเติบโตของ Edtech ให้ไปได้ถึงระดับ Unicorn นั้น เราต้องคำนึงเสมอว่าตลาดไทยอาจจะใหญ่ไม่เพียงพอ และเป็นเพียงแค่ก้าวแรกเพื่อใช้เป็นฐานในการขยายสู่ตลาดโลกเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงการขยายธุรกิจไปตลาดโลกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งนั้นก็เคยถูก Prove มาจากประเทศอื่นแล้วว่ามันทำได้ ก็ต้องมาลุ้นกันต่อไปครับว่าของไทยเราจะตีไข่แตกมี Unicorn ตัวแรกได้เมื่อไร ซึ่งไม่แน่อาจจะเป็น Unicorn จากสตาร์ทอัพกลุ่ม Edtech นี้ก็เป็นได้

--

--

Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp