Robert Pera | Getty Image

EP 43: Robert Pera ผู้ลอกโมเดล Apple จนรวยหมื่นล้าน

Nut P
3 min readDec 12, 2020

--

โรเบิร์ต เพร่า (Robert Pera) ผู้ก่อตั้งบริษัท Ubiquiti Networks ทำผลิตภัณฑ์ไร้สายชื่อดัง และเจ้าของทีมบาส NBA Memphis Grizzlies แค่เห็นประวัติก็รู้แล้วว่าน่าจะรวยขนาดไหน ก็ปัจจุบันในปี 2020 เขามีทรัพย์สินถือครองทั้งสิ้น $1.5 หมื่นล้าน (4.5 แสนล้านบาท) ด้วยวัยเพียง 42 ปีเท่านั้น ซึ่งประวัติที่น่าสนใจของเขาก็คือ เขาเป็นอดีตวิศวกรของ Apple แต่ เอ้ะ อยู่ดีไม่ว่าดี ทำแปปเดียวลาออกพร้อมเอาโมเดลธุรกิจของธุรกิจ Apple มาเปิดทำบริษัทจนประสบความสำเร็จเอง ซึ่งถ้าเป็นคนปกติ ใครทำ Apple ก็คงทำอยู่ๆยาวจนเกษียณแล้ว ซึ่งวันนี้เราจะมีดูเรื่องราวของเขากันว่าเขาคิดอย่างไรถึงตัดสินใจอย่างนั้น แล้วเขาลอกโมเดลธุรกิจของ Apple อย่างไรจนทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ ใครพร้อมแล้วไปอ่านต่อกันได้เลยครับ

“ผมลาออกจาก Apple เพราะ ผมอยากที่จะประสบความสำเร็จให้มากขึ้นเร็วกว่านี้”

โรเบิร์ต เพร่า ชายผู้ฉายแววไปวงการ IT ตั้งแต่สมัยเยาว์วัย เขาเป็นชาวอเมริกันที่เกิดปี 1978 โดยในสมัยมัธยม โรเบิร์ตก็ได้มีการเริ่มเปิดบริษัทบริการด้าน Network และ Database ที่คอยให้บริการธุรกิจแถวบ้านเขาแล้ว นอกจากนั้นโรเบิร์ตยังเป็นคนที่ชื่นชอบเล่นบาสเกตบอลเป็นชีวิตจิตใจ แต่ก็โชคไม่ดี ด้วยปัญหาโรคหัวใจเรื้อรังของเขา ทำให้โรเบิร์ตต้องตัดใจกับการเล่นบาสเกตบอลไป

หลังจากเรียนจบมัธยม โรเบิร์ต ก็ได้ไปเรียนปริญญาตรีต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และภาษาญี่ปุ่น จบมาด้วยการได้เหรียญทองเกียรตินิยม และต่อปริญญาโทด้านวิศวกรรมไฟฟ้าต่อ จนสุดท้ายคว้าใบปริญญาบัตรมาได้ถึง 3 ใบ ซึ่งหลังจากที่เรียนจบ โรเบิร์ต ก็ได้ไปทำงานต่อที่บริษัท Apple ในปี 2003 บริษัทในฝันของเขา จากการที่มี สตีฟ จ็อบส์ เป็นไอดอล

ใน Apple โรเบิร์ต ได้ทำงานเป็นวิศวกรในส่วนทดสอบ Hardware ของเครื่องขยายสัญญา Wifi ซึ่งเขาได้ทำงานอยู่กับ Apple เพียง 2 ปีเท่านั้น แล้วเขาก็ลาออกไปเปิดบริษัทเอง

การเข้ามาทำงานที่ Apple ในช่วงแรก โรเบิร์ต เชื่อว่า Apple จะเป็นสถานที่ที่เขาสามารถนำทักษะของเขาเฉิดฉายให้สะเทือนวงการอุตสาหกรรม จากการที่เขาเห็น Concept การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มองการใกล จากไอดอลของเขา สตีฟ จ็อบส์

ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์สวยงาน ผสมผสานกับ Hardware และ Software อย่างลงตัวไร้ที่ติ

แต่พอทำงานจริง เขาก็ค้นพบว่าใน Apple เขาเพียงได้แต่เป็นผู้ที่ได้นั่งเชียร์อยู่แถวหลัง และไม่สามารถทำอะไรได้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาต้องการได้ โดยมีหลายครั้งที่หัวหน้าเพิกเฉยต่อไอเดียของเขา และทำให้เขาไม่สามารถทำอะไรต่อ นั้นเป็นเหตุให้ โรเบิร์ต ตัดสินใจลาออกจาก Apple ในปี 2005 และมาเปิดบริษัทเทคโนโลยี Wireless เอง

แน่นอนชื่อบริษัทที่เขาเปิดก็คือชื่อเดียวกับบริษัทที่ทำให้เขาเป็นเศรษฐีหมื่นล้านจนถึงปัจจุบันนี่แหละ นั่นคือ Ubiquiti Networks บริษัทหมื่นล้านที่ โรเบิร์ต เริ่มต้นจากการใช้เงินในกระเป๋าตังเพียง $30,000 และเงินที่รูดจากบัตรเครดิตของเขาเท่านั้น

สร้าง “สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ”

แม้เขาจะได้รับประสบการณ์จาก Apple มาไม่ดีนัก แต่โมเดลธุรกิจของ Apple นี่แหละเป็นสิ่งตั้งต้นธุรกิจใหม่เขาหมดเลย โดยโรเบิร์ตได้มานั่งดูหนังเรื่อง Prometheus และก็ได้ไปเห็นฉากที่ลูกเรือยานอวกาศไปเห็น Alien และกล่าวว่า Aline คือสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ นั่นทำให้โรเบิร์ตนึกถึง Apple

โรเบิร์ตมองโมเดลธุรกิจ Apple ว่าเป็นโมเดลที่ทั้งมีการตั้งรับ และเดินหน้าเชิงรุกได้ไปในตัว เหมือนกับ “สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบ” ซึ่งเขาตั้งใจที่จะสร้างสิ่งคล้ายๆสิ่งนี้แหละ โดยโรเบิร์ตตอนนั้นกล่าวให้สัมภาษณ์กับ Fast Company ว่า

ผมสร้าง Ubiquiti จากการผสมผสานปรัญญาของ Apple และเทคโนโลยีเครือข่ายที่ก้าวล้ำ

Ubiquit พยายามที่รวบรวมเครือข่ายลูกค้า แทนที่จะไปมุ่งเน้นสร้างกำไร นั่นคือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ปัจจุบัน

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว 7 ปี ด้วย Concept นี้ โรเบิร์ตสามารถพา Ubiquiti เข้าตลาดหุ้น ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 150 ชีวิต และสินค้าที่ขายได้กว่า 10 ล้านเครื่อง

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของ Ubiquiti | Ubiquiti

สินค้า Hardware ของ Ubiquiti ปัจจุบัน มีสินค้าหลัก 4 ตัว นั่นคือ airMAX, airFiber, airVision, UniFi กระจายไปสู่ทั่วโลกกว่า 180 ประเทศ โดยในปี 2012 Ubiquiti ถูกยกย่องจาก Deloitte ว่าเป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในอเมริกาในอันดับที่ 70 ซึ่งในปี 2020 Ubiquit ก็มียอดรายต่อปีจากการทำธุรกิจถึง $1.28 พันล้าน (4 หมื่นล้านบาท) นับได้ว่าเป็นความประสบความสำเร็จของโรเบิร์ตในการตัดสินใจลาออกจาก Apple และมาเปิดบริษัททำเองจริงๆ

นอกจากนี้ หลังจากที่ โรเบิร์ต ประสบความสำเร็จจาก Ubiquit แล้ว ในปี 2012 โรเบิร์ตก็ได้ไปสานฝันจากฝันที่สูญเสียในวัยเด็กจากการเล่นบาสเกตบอลไม่ได้ต่อ ด้วยการซื้อทีมบาส NBA Memphis Grizzlies ที่มีมูลค่ากว่า $269 ล้านในสมัยนั้นไป ซึ่งปัจจุบันในปี 2020 ทีมบาสนี้ก็กระโดดไปที่มูลค่ากว่า $1,300 ล้าน แล้ว โดยจากการที่เขาเป็นเจ้าของทีม ทำให่เขาได้มีโอกาสไปลงเล่นเกมส์ All Star ให้คนทั่วสเตเดี้ยมได้ดู

โรเบิร์ต เพร่า ใน Nba Celebrity All-Star 2015| Getty Image

เล่นเพื่อชัยชนะ

หลายครั้งโรเบิร์ตได้ยกคำพูดของเทรนเนอร์ฟิตเนสส่วนตัวของเขามาใช้

ความเหนื่อยล้าทำให้เราทุกคนเป็นคนขี้ขลาด!

หลังจากที่ โรเบิร์ต ได้ลาออกจาก Apple เขาได้สร้างผลิตภัณฑ์ชิพฝังในคลื่นวิทยุ โดยเขาได้นำมันไปออกงานและพยายามให้ลูกค้ามาลงทะเบียนสั่งจองล่วงหน้า เนื่องจากเขายังไม่ค่อยมีเงินลงทุน ซึ่งเขาก็สามารถดึงดูดให้ลูกค้าให้มาจองได้ดีเลย

CFO ของ Ubiquiti กล่าวว่าตั้งแต่ช่วงก่อนถึงปี 2010 นั้น เราแทบไม่มีเงินภายนอกมาช่วยในธุรกิจเลย มันเป็นเรื่องราวดราม่าของธุรกิจ Startup หนึ่งที่น่าสนใจมากนะ วิศวกรหนุ่มทิ้งงานจากบริษัทที่มีชื่อเสียง เพื่อเริ่มต้นธุรกิจโดยใช้แค่ทุนของตัวเอง และสุดท้ายก็สามารถพาบริษัทเข้าตลาดหุ้นได้ในที่สุด

WSJ

โรเบิร์ตกล่าวว่า เมื่อผมมองกลับไป บทเรียนของผมที่ได้จากการต่อสู้กับอุปสรรคที่มาขวางก็คือ “สิ่งที่เล่นเพื่อวันพรุ่งนี้ VS สิ่งที่เล่นเพื่อวันนี้”

ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงที่โรเบิร์ต ได้เงินจากลูกค้าเป็นรายแรก เขาได้เข้าโหมดทำยังไงก็ได้ให้อยู่รอด เขาโฟกัสทุกอย่างไปกับการดูแลลูกค้าคนแรก, สร้างแบรนด์, ดีไซน์สินค้าใหม่ และอื่นๆ ถ้าจะให้พูดก็คือ โรเบิร์ตเพียงแค่โฟกัสไปกับการที่ต้องทำอะไรตอนนี้ ว้นนี้และทำยังไงให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆเพื่อให้ได้ชัยชนะอีกวัน

เพิ่มหลักประกัน

หลังจากที่โรเบิร์ตได้ผ่านโลกมา เขาก็ได้เข้าใจว่าการมีพาร์ทเนอร์ที่มีความสามารถไม่ว่าจะเป็นด้านกฏหมาย, ด้านกลยุทธ์, ด้านจดลิขสิทธิ์ หรือด้านอื่นๆ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ VC กำลังเล่นเกมส์เพื่อวันพรุ่งนี้

โรเบิร์ต กล่าวว่า

“ตอนแรกผมก็ไม่ค่อยได้เห็นความสำคัญสำหรับการอยู่เพื่อวันพรุ่งนี้หรอก จนกระทั่งภายหลังผมพึ่งมาเสียใจกับตัวเองจนถึงวันนี้ที่ผมไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงบริษัทตั้งแต่เนิ่นๆ”

“แต่ก็นะ Ubiquiti อาจจะลงท้ายด้วยการล้มเหลวและถูกปิดไปตั้งแต่เริ่มแรกก็ได้ ดังนั้นการเล่นเพื่อวันนี้พรุ่งนี้มันก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ดังนั้นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เราควรทำคือการเพิ่มหลักประกันความปลอดภัยให้เรา มันจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีทรัพยากรมากยิ่งขึ้นเมื่อบริษัทเติบโต”

วิธีที่การเพิ่มหลักประกัน คือ การเซ็นสัญญากับคนที่มีฐานะและมี Connection เยอะๆ อย่างเช่น พวก Distributors, Vendors, Partners และคนอื่นๆที่มีอำนาจปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทได้

เอาคนที่มีความรู้ทางด้านการเงิน และบัญชีพวกภาษี มาช่วย โดยไม่ใช่แค่ช่วยเพียงเพื่อให้บริษัทอยู่ภายใต้กฏหมายเท่านั้นนะ แต่ต้องถึงขนาดให้สามารถเก็บผลประโยชน์ของบริษัทได้ทุกเม็ดไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ภาษี และกลยุทธิ์ต่างๆ

และสุดท้าย เพื่อป้องกันการเจอกับ “การแข่งขันที่ไม่แฟร์” หลังจากที่ยอดขายเริ่มเติบโต โรเบิร์ต แนะนำว่าให้เรารีบไปลุงทุนกับการจดพวกลิขสิทธิ์ซะ เราจะได้ไม่เจอกับปัญญาระยะยาวสำหรับคนลอกเลียนแบบภายหลัง

สรุปส่งท้าย

จบไปแล้วครับกับอีกหนึ่งตอน ด้วยเรื่องราวของ โรเบิร์ต เพร่า สิ่งที่ผมที่ชอบของ โรเบิร์ต เลย คือ ความกล้าที่จะทิ้งงานระดับโลก และออกมาจาก Comfort Zone เสี่ยงมาเปิดบริษัทเป็นของตน นอกจากนี้เขายังสามารถใช้ประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวมาในช่วงระยะเวลาสั้นๆจากการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม นับว่าเป็นทักษะสำคัญของผู้ประกอบการที่จะเปิดธุรกิจใหม่จริงๆ ซึ่งผมเชื่อว่ามีหลายคนที่เหมือนโรเบิร์ตครับ มีความสามารถอะไรจริง แต่สุดท้ายก็ได้แต่คิดและยังไม่กล้าออกมาทำธุรกิจด้วยตัวเอง หวังว่าเรื่องราวนี้จะเป็นเรื่องราวที่ช่วยเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เรากล้าออกจาก Comfort Zone ได้ครับ มีคนทำได้ คุณก็ทำได ้คนเหมือนกัน วันนี้ผมก็ขอจบเพียงเท่านี้ แล้วเจอกันอาทิตย์หน้าครับ สวัสดีครับ

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

No responses yet