Katrina Lake | CO-founder & CEO of Stitch Fix | Fashion Network

EP 36 : Stitch Fix สตาร์ทอัพขายเสื้อ สาย AI หมื่นล้าน

Nut P
3 min readOct 24, 2020

--

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้พวกเราจะได้พบกับประวัติสตาร์ทอัพยูนิคอนด้านแฟชั่นระดับท๊อปที่เกิดจากเป็นธุรกิจขายเสื้อออนไลน์ธรรมดา แต่ Founder ดันเห็นความสำคัญของการใช้ Data เลยเกิดไอเดีย สร้างเว็บขายเสื้อในการใช้ AI และหลักการของ Data Science ในการหาชุดให้แบบครบเซ็ต โดยมีการ Match กับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาด ราคา และสไตล์ต่างๆ จนสุดท้ายเกิดเป็น Stitch Fix ที่เราเห็นจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งถามว่าไอเดียนี้เวิร์คหรือไม่เวิร์ค ปัจจุบัน Stitch Fix ก็ IPO เข้าตลาดหุ้น Nasdaq และมีมูลค่าทะลุหมื่นล้านบาทไปเรียบร้อย น่าสนใจไหมครับ ถ้าน่าสนใจก็ไปอ่านต่อกันได้เลย!!

“บอกได้เลยว่า Innovation เกิดได้โดย Data Science”

Stitch Fix ถูกก่อตั้งโดย คาทรีน่า เลก (Katrina Lake) หญิงแกร่งลูกครึ่งชาวญี่ปุ่นและอเมริกัน ที่เริ่มแรกฝันว่าอยากจะเป็นหมอ แต่สุดท้ายผันตัวมาเป็นสายผู้ประกอบการซะนี่

เหตุเกิดจากที่ ก่อนที่เธอจะเริ่มเรียน คาทรีน่าได้ลงคอร์สเตรียมตัวเรียนหมอ ซึ่งมันดันมีวิชาเกี่ยวกับเกี่ยวเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ เวลานั้นทำให้เธอค้นพบตัวเอง จนสุดท้ายเธอก็เปลี่ยนที่เรียนไปเรียนปริญญาตรีด้านธุรกิจที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และต่อมาเธอก็ได้ไปเรียนต่อปริญญาโท MBA ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จนได้วุฒิด้านธุรกิจมาถึง 2 ใบ

แล้ว Stitch Fix เกิดในช่วงไหน!? Stitch เกิดในช่วงตอนที่เธออายุ 28 และตอนใกกล้จะจบจาก MBA จากฮาวาร์ดในช่วงปี 2011 นี่แหละ โดยคาทรีน่ารู้สึกว่าวิธีช๊อปปิ้งเสื้อผ้าในปัจจุบันมันยังไม่ใช่ ยกตัวอย่างการซื้อเสื้อออนไลน์จากเว็บไซต์ที่เราได้เลือกสรรมาเป็นชั่วโมง แต่สุดท้ายพอได้ของถึงมือจริงๆดันต้องคืนหมด เพราะ ไซส์มันไม่ได้ ซึ่งเธอก็รู้สึกว่าการซื้อเสื้อออนไลน์มันมีข้อจำกัดเยอะเหลือเกิน ถ้าเธอยังคงขายเสื้อออนไลน์ตามโมเดลปกติ ธุรกิจของเธอคงเดินไปต่อได้ไม่กี่ปี และสุดท้ายธุรกิจก็คงประสบเหตุเดียวกับร้านเช่าวีดีโอ Blockbuster ที่ถูก Netflix เข้ามา Disrupt เป็นแน่แท้

คาทรีน่า จึงถามมากับตัวเองว่า “ความต้องการของลูกค้าจริงๆในการซื้อเสื้อมันคืออะไรกันแน่นะ?” และนั้นทำให้เธอได้คำตอบว่ามันคือเรื่อง “การหาเสื้อที่มีไซส์และรสนิยมที่เข้ากับลูกค้า” และเธอก็ยังได้พบอีกว่า

ไซส์กับรสนิยมของเสื้อมันเพียงแค่ลักษณะของสิ่งหนึ่ง และนั้นเป็นเพียงแค่ Data

ไม่รอช้า เธอได้จับมือกับอดีตผู้ทำงานสายแฟชั่น อีลิส มอร์ลิสัน ฟรายด์ (Erin Morrison Flynn) เปิดรายขายเสื้อออนไลน์สาย Data ในอพาร์ทเมนท์ของเธอแถวเคมบริดจ์ โดยเริ่มแรกพวกเธอใช้ชื่อธุรกิจกว่า Rack Habit และถูกเปลี่ยนมาเป็น Stitch Fix ภายหลัง

Talia Herman for TIME

ช่วงแรกๆที่เธอทำ Stitch Fix เธอเก็บ Data จากลูกค้าด้วยการใช้แบบสอบถามของ Survey Monkey โดยการให้ลูกค้าระบุสสไตล์เสื้อผ้าที่อยากได้ในแบบสอบถาม และเธอก็จะเอาข้อมูลนั้นไปเลือกชุด และส่งเสื้อผ้าที่เธอจัดสรรมาอย่างดีนั้นถึงมือลูกค้า ซึ่งคอนเซปต์เหมือนจะง่ายๆดูดี แต่สิ่งนั้นมันยังไม่เพียงพอที่จะดึงดูดลูกค้าได้ เพราะด้วยที่โมเดลธุรกิจของเธอเป็นการจ่ายล่วงหน้าโดยที่ลูกค้ายังไม่รู้เลยว่าจะได้เสื้ออะไร ซึ่งการที่ลูกค้าจะยอมจ่ายนั้น ลูกค้าจะต้องมีความตกลงปลงใจในการซื้อเสื้อเป็นอย่างมาก

หลายๆคนก็ต่างก็เตือนเธอว่าไอเดียนี้ไม่ดีหรอก โดยมีอาจารย์ของเธอคนนึงก็บอกว่าธุรกิจของเธอเป็น “ฝันร้ายธุรกิจสต็อคสินค้า” เพราะสิ่งที่คาทรีน่าทำคือการมีสต๊อคเสื้อทั้งหมด เพื่อที่เธอจะได้เข้าใจสินค้าและมีการเก็บ Data ได้ตามคอนเซ็ปต์ของเธอ ซึ่งการสต๊อคสินค้ามันเป็นอะไรที่มีความเสี่ยงสูงมากถ้าสินค้าขายไม่ได้ โดยที่คาทรีน่าก็ยังคงมีความเชื่อมั่นในคอนเซ็ปต์ของเธอ เพราะเธอเชื่อว่าถึงการสต๊อคสินค้าทั้งหมดเองมันจะมีความเสี่ยงสูง แต่ถ้าเราสามารถใช้ประโยชน์จาก Data ได้ มันจะเพียงพอที่ทำให้เราหมุนสต็อคและเงินทัน และนั้นเป็นโมเดลธุรกิจที่เราจะได้รายได้มหาศาล

จุดเปลี่ยนของธุรกิจของเธอเริ่มขึ้นตอนที่คาทรีน่าได้เจอกับ อิลิค โคสัน (Eric Colson) ผู้เป็นตำแหน่ง VP ด้าน Data Science ของ Netflix ซึ่งเขาได้มาช่วย คาทรีน่า และได้มาเป็น CAO (Chief Algorithms Officer) ของ Stitch Fix โดยการนำหลักของ AI และ Data Science มาเสริมกับธุรกิจ ซึ่งนั้นเป็นจิกซอว์ชิ้นสุดท้ายของ Stitch Fix ในเรื่องการดึงดูดคนให้เข้ามาซื้อเสื้อ

การนำ AI และ Data Science สามารถช่วยสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจเป็นอย่างมาก ซึงนอกจากสิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดคนและทำให้เข้าใจสไตล์การแต่งตัวลูกค้ามากขึ้นแล้ว AI และ Data Science ยังช่วยเรื่องการคำนวนสต๊อคสินค้า ที่เคยเป็นช่องโหว่ของโมเดลธุรกิจของเธอแต่ก่อนอีกด้วย

หลักการให้บริการของ Stitch Fix คือเหมือนการที่ Stitch Fix เป็นช่างแฟชั่นด้านเสื้อผ้าให้ลูกค้าส่วนตัว นอกจากที่ลูกค้าจะได้เสื้อใหม่ที่กำลังอินเทรนด์ในตู้เสื้อผ้าแล้ว ลูกค้ายังจะได้คำแนะนำการเลือกใส่เสื้อ ตลอดทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า ทาง Stitch Fix ก็จะมีเก็บ Feedback และเข้าใจสไตล์การแต่งตัวของลูกค้าคนนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งลูกค้าบอกว่า Stitch Fix เข้าใจถึงสไตล์การใส่เสื้อมากกว่าตัวเองเสียอีก โดยผู้ที่สนใจสามารถไปสั่งซื้อได้ที่เว็บหรือแอป Stitch Fix ตามลิงค์ได้เลย

ลักษณะเด่นของบริการสั่งซื้อเสื้อจาก Stitch Fix

  1. มีการทำควิสเลือกสไตล์เสื้อผ้า เพื่อที่จะลูกค้าจะได้เสื้อที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด
  2. สามารถเลือกเวลาในการส่งสินค้าได้ ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน
  3. สินค้ามาถึงหน้าประตู ถ้าไม่พอใจ สามารถส่งคืนสินค้าได้
  4. เป็นการจ่ายเงินแบบเหมาซื้อเสื้อล่วงหน้า และไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการส่งและคืน

สิ่งได้ที่จาก Stitch Fix เมื่อสินค้ามาถึงหน้าประตู

  1. ไม่จำเป็นต้องเอาสินค้ามาทั้งหมด 5 ชิ้น : ทุกครั้ง Stitch Fix จะส่งสินค้าไปให้เป็นจำนวน 5 ชิ้น ตามประวัติสไตล์การใส่เสื้อผ้าของแต่ละคน โดยลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะเอาแค่ชิ้นไหนบ้าง แต่สำหรับใครที่เอาทั้งหมด 5 ชิ้น จะได้ส่วนลด 25%
  2. สามารถคืนหรือเปลี่ยนไซส์ได้ : เล็กไป คับไป สามารถเปลี่ยนไซส์ได้ ซึ่งลูกค้าสามารถเปลี่ยนไซส์ผ่านแอปหรือตอนที่มาส่งสินค้าได้เลย
  3. บอก Feedback ทั้งหมดให้เรามา : บอก Feedback มาให้ Stitch Fix ตรงๆได้เลย เพราะสิ่งเหล่านี้ มันจะมีผลของตัวระบบของ Stitch Fix ที่จะนำเอา Data เหล่านี้ไปวิเคราะห์ต่อ เพื่อใช้ในการสั่งซื้อเสื้อครั้งต่อๆไป
  4. Go Mobile : ทุกอย่างสามารถจัดการออนไลน์ผ่านแอปได้เลย
  5. เตรียมรับคำชมได้เลย! : Stitch Fix มีการให้คำแนะนำสไตล์การเลือกใส่เสื้อ ทุกครั้งที่ได้รับสินค้า
Stitch Fix

ด้วยการนำเอา AI และ Data Science มาเสริมกับโมเดลธุรกิจ Stitch Fix เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2012 Stitch Fix ได้เริ่มมี Warehouse ที่เป็นของตัวเองอย่างเป็นทางการที่ซานฟรานซิสโก และในปี 2013 Stitch Fix มียอดสั่งซื้อเสื้อถึง 1 แสนรายการ จากเดิมก่อนที่ อิลิค เข้ามาช่วยเรื่อง Data Science ที่มียอดสั่งซื้อเพียงหลักร้อยเท่านั้น โดยไม่นานภายในปีเดียวกัน Stitch Fix ก้ได้เงินลงทุนใน Series B ต่อยอดธุรกิจกว่า $12 ล้าน

ในปี 2014 Stitch Fix เริ่มกลับมามีกำไรครั้งแรก และในปี 2016 บริษัทสามารถเติบโตไปอย่างก้าวกระโดดด้วยยอดขายถึง $730 ล้าน จนในปี 2017 Stitch Fix ได้เข้าไป IPO ในตลาดหุ้น NASDAQ ด้วยมูลค่ากว่า $1.6 พันล้าน

Stitch Fix กับการ IPD ใน NASDAQ | Local Buzzot

ถึงแม้ในปัจจุบัน Stitch Fix จะถูกผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 และต้องเลย์ออฟพนักงานออกเป็นจำนวนมาก แต่ Stitch Fix ก็ยังคงเติบโตต่อไปเรื่อยๆโดยตัวเลขในปี 2019 ก่อนที่ Stitch Fix จะถูกผลกระทบจากโควิด Stitch Fix มีพนักงานเป็นจำนวนมากถึง 8,000 คน ซึ่งเป็นช่างแฟชั่นเสื้อผ้าจำนวนมากถึง 5,100 คน และ Data Scientist กว่า 100 คน

สรุปส่งท้าย

สิ่งที่ผมชอบจาก Stitch Fix คือไอเดียที่เกิดจากการยึดมั่นโดยใช้หลักการของ Data ที่เริ่มแรกอาจจะยังไม่เห็นแสงสว่างปลายทาง แต่เมื่อมันมานี่ มันกลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว จนสุดท้ายกลายเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่อาจพูดได้ว่าเป็นสิ่งที่สามารถ Disrupt ธุรกิจขายเสื้อผ้าออนไลน์ก็เป็นได้ ดังนั้นสำหรับใครที่ทำธุรกิจอยู่ ลองหันมาศึกษาเรื่อง Data Science บ้างครับ ไม่แน่นะครับ ใครเอาหลัก Data Science มาใช้ ธุรกิจอาจจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งผมเชื่อครับว่าการเอาหลัก Data Science มาใช้ ยังไงก็มีประโยชน์ครับ ผมเคยศึกษามาแล้วรับประกัน โอเคครับ ก็ผมกันอีกทีในอาทิตย์หน้านะครับ ขอบคุณครับผม

--

--

Nut P
Nut P

Written by Nut P

มาคุยกันได้ครับ สนใจด้าน Tech & Business fb.com/inut.panpp

No responses yet