สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมจะมาอัพเดทเทรนด์ Startup ของปี 2020 นะครับ เทคโนโลยีไหนกำลังมาแรง เพื่อนที่กำลังหาโอกาสทำธุรกิจ บทความนี้มีคำตอบ โดยข้อมูลส่วนนี้ผมเอาจาก CBINSIGHTS นะครับ ซึ่งเป็นอะไรที่น่าแปลกใจมาก พอพูดถึง Startup เรามักจะพูดเกี่ยวกับบริษัททำ Platform ทำ App แต่เทรนปีนี้กลับไม่มีกล่าวถึง Startup เหล่านี้เลยครับ กลับกลายเป็นพวก Deep Tech ทั้งหมด จนกล่าวกันว่าตอนนี้อาจหมดยุคของ Startup พวก App และเป็นยุคทองของ Deep Tech หมดแล้ว เอ้ะ แล้ว Deep Tech ประเภทไหนละ? ถ้าท่านใดสนใจสามารถติดตามกับ Deep Tech 12 ประเภทที่มาแรง พร้อมกับ 36 Startups เร่าร้อน ตอนนี้ได้เลยครับผม!!
“อะไรกันเนี่ย!! Deep Tech เต็มไปหมด”
เทรนด์นี้กล่าวไปตั้งแต่ตอนต้นนะครับว่าทั้งหมดเป็น Startup ที่ทำเกี่ยวกับ Deep Tech โดยตามคาดครับ Startup เหล่านี้กว่าครึ่งล้วนมาจากฝั่ง US โดยมีท้้งหมด 23 จาก 36 Startups มาจากฝั่งนี่ และที่เหลือเป็น Canada, Canada, UK, Israel, Singapore และ Sweden ซึ่งบางคนอาจแปลกใจว่าทำไมไม่มีจากจีนบ้างละ ความเป็นจริงก็เพราะ CBINSIGHTS มันเป็นบริษัทที่อยู่ US นั่นแหละ ด้วยเหตุนี้ข้อมูลซะส่วนใหญ่มันจึงเป็นการโปรโมต Startup ของฝั่ง US ครับ
Deep Tech ทั้งหมด 12 ประเภท ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม Health Tech โดยมีทั้งหมด 6 จาก 12 เทคโนโลยีที่อยู่ในกลุ่มนี้ บางคนก็อาจจะบอกว่าแน่นอนสิก็เพราะ Covid-19!! แต่ไม่ครับ ข้อมูลนี้เผยแพร่ตั้งแต่ช่วงต้นปีตั้งแต่คนยังไม่วิตกกับ Covid-19 แล้ว จึงกล่าวได้ว่า ต่อให้ไม่มี Covid-19 ยังไงเทรนของกลุ่ม Health Tech ก็ยังคงมาเหมือนเดิมแน่นอนครับ
โอเครต่อไปเรามาดู Deep Tech ทั้งหมด 12 ประเภท แบบแยกย่อยกันดีกว่า
1) CRISPR 2.0
เริ่มจาก CRISPR 2.0 นะครับ มันคือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เหล่านักวิจัยสามารถตัดแต่งยีนหรือพวก RNA ของมนุษย์อันเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บได้หลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยแพทย์ในการรักษาโรคภัยนานาได้ ถ้าให้ยกตัวอย่างง่ายๆเหมือนเวลาเราเกิดโรคภัยอย่างโรคโลหิตจาง มันมักจะมีต้นเหตุจากการที่ยีนในร่างกายเรากลายพันธ์ ซึ่งก่อนที่จะเป็นเช่นนั้น เราก็มาทำการปรับแต่งพันธุกรรมเสียก่อน โดยการเปลี่ยนรหัส RNA เพื่อป้องกันการกลายพันธ์นั้น
และนี่คือ Startup ที่ทำด้านนี้ครับ
Korro Bio
บริษัทที่ทำเกี่ยวกับการการรักษาโรคโดยใช้การตัดต่อรหัสพันธุกรรม
Locana
บริษัทที่ทำเกี่ยวกับรักษาโรคที่มีต้นเหตุจาก RNA เป็นหลัก โดยใช้การตัดต่อยีนเช่นกัน
Shape Therapeutics
บริษัททำแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นในการใช้ Vivo Modification ในการตัดแต่ง RNA
2) AI-based Protein Prediction
เป็นการใช้เทคโนโลยี AI ใช้ในการศึกษาโครงสร้างโปรตีน เพื่อเป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคภัยไข้เจ็บ ยกตัวอย่างในรูป AI สามารถพยาการณ์การเปลี่ยนรูปของโปรตีนออกมาเป็นรูป 3 มิติ ทำให้แพทย์เห็นโครงสร้างโปรตีนออกมาเป็นหลายมิติมากขึ้น และเข้าใจกระบวนการการเปลี่ยนแปลงต่างๆของมันอันเป็นสาเหตุให้เกิดโรค เป็นการวิจัยทางการแพทย์แห่งอนาคตอันก่อให้เกิดแนวทางรักษาใหม่ๆ
LabGenius
บริษัทด้านวิศวกรรมโปรตีนครบวงจรที่ใช้การผสานของเทคโนโลยีด้าน AI, Robotic Automation และ Synthetic Biology
ProteinQure
บริษัทแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่ทำเกี่ยวกับการศึกษาและวิเคราะห์โปรตีน, แบบจำลองโมเลกุล, Machine Learning และ Quantum Computing เพื่อใช้ในการวิจัยยา
Relay Therapeutics
บริษัทที่ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของโปรตีน เพื่อในการพัฒนาแนวทางใหม่ในการรักษาโรคภัย
3) Electro-charged Therapeutics
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กระแสไฟฟ้ารักษาแทนการทานยาที่เป็นสารเคมี ทำให้อนาคตเราอาจไม่ต้องพึ่งการทานยาในการรักษาโรคอีกต่อไป โดยการทำงาน คือ ตัวอุปกรณ์ส่วมใส่รักษา เช่น กำไลข้อมือ จะปล่อยประจุไฟฟ้ากระตุ้นตรงไปที่อวัยวะหรือเซลล์ส่วนที่ผิดปกติ เป็นการรักษาที่ตรงจุดและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ซึ่งสามารถรักษาพวกลดอาการอักเสบ, ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ และไมเกรนได้
Cala Health
บริษัทยาที่ทำด้าน Bioelectronic โดยเฉพาะ ซึงได้มุ่งเป้าพัฒนาอุปกรณ์สวมใส่ สำหรับการรักษาแบบปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบประสาท (Neuromodulation Therapies) ในการรักษาโรคภัยต่างๆ
SetPoint
บริษัทที่ใช้ Bioelectronic หรืออุปกรณ์ประจุไฟฟ้า โดยการใช้ประจุไฟฟ้าไปกระตุ้นที่ Vagus Nerve ในการรักษาโรคจำพวกภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคโครห์น (โรคอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินอาหาร) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
Medical Theranica
บริษัทเครื่องมือการแพทย์ที่มุ่งเน้นในการผสมผสานการรักษาแบบปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบประสาทสมัยใหม่ (Neuromodulation Therapies) กับเทคโนโลยี Wireless ในการหาสถานะของโรคภัย เช่น ไมเกรน
4) Microbiome Masters
เป็นสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการศึกษาพฤติกรรมจุลินทรีย์ที่อยู่ในร่างกาย (Microbiome) เพื่อใช้ในการรักษาโรคเรื้อรังและโรคภัยหายากต่างๆ คือ เขากล่าวกันว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ถึงสถานะของสุขภาพมนุษย์ได้ ซึ่งอาจเป็นการค้นพบใหม่ในการรักษาพวกโรคที่ยากต่อการรักษาหรือยากต่อการหาสาเหตุ เช่น มะเร็ง พากินสัน เบาหวาน และอันไซเมอร์ เป็นต้น
Kallyope
บริษัททำแพลตฟอร์มด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ศึกษาพวกวิธีการรักษาและสารอาหารที่จำเป็นอันเกี่ยวข้องกับการทำงานหว่างระบบทางเดินอาหารและสมองในมนุษย์ (Gut-brain Axis : GBA)
Pendulum Therapeutics
บริษัทที่ทำการศึกษาจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ โพรไบโอติค เพื่อใช้ในการหาของสถานะสุขภาพในปัจจุบันของร่างกายเราโดยเฉพาะ
Viome
บริษัทที่ใช้การวิเคราะห์เลือด, ปัสสาวะ, น้ำลาย และอุจจาระ ในการวิเคราะห์หาประเภทสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายของแต่ละคน ที่เมื่อคนนั้นได้รับแล้ว จะเป็นการทำให้ร่างกายและสุขภาพดีขึ้น
5) Mind-altering Medicines
เป็นสตาร์ทอัพที่ทำการพัฒนาสารกล่อมประสาทที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับความเคลิบเคลิ้มช่วยในการรักษาโรคภัย เนื่องจากมีหลายงานวิจัยที่กล่าวว่าพวกความเครียดหรือความชอกช้ำในอดีตของคนนี่แหละเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคทั้งปวง การพัฒนาด้านนี้จึงอาจเป็นทางออกใหม่ในโลกของการรักษาอย่างแท้จริง
Compass Pathways
บริษัทที่มุ่งเน้นพัฒนาการบำบัดโดยการใช้สารกล่อมประสาทสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการรักษาความเครียดในเคสปกติ
Mindmed
บริษัททำยากล่อมประสาทเพื่อใช้ในการพัฒนาสุขภาพ, เพิ่มความกินดีอยู่ดี และบรรเทาอาการเจ็บป่วย
Small Pharma
บริษัททำยาแก้เครียด โดยมุ่งเน้นจากการใช้ Ketamine
6) DNA Data Marketplaces
เป็นสตาร์ทอัพที่ทำเกี่ยวกับด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล DNA ของมนุษย์ในโลกทั่วไป โดยคนที่ให้ข้อมูลก็จะได้สิ่งตอบแทน และข้อมูลที่ได้ก็นำไปใช้ประโยชน์แลกเปลี่ยนในการงานวิจัยกลุ่มแพทย์ต่อไป ซึ่งในปัจจุบันการวิจัยการแพทย์พึ่งพาข้อมูล DNA อย่างมาก การที่แพทย์เข้าถึงข้อมูลกลุ่มนี้ได้ จึงเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในการสร้างสิ่งใหม่ในอนาคตอย่างมหาศาล
LunaPBC
สตาร์ทอัพที่ทำแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนข้อมูลพันธุกรรมกับส่วนแบ่งหุ้นของบริษัท
Nebula Genomics
บริษัทที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการกำจัดคนกลาง เพื่อเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลพันธุกรรมเพื่อไปใช้ประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง
Sano Genetics
บริษัทที่ทำแพตลฟอร์มสำหรับนักวิจัยในการเข้าถึงข้อมูลทางด้านพันธุกรรมโดยเฉพาะ ซึ่งนักวิจัยเหล่านั้นจะได้นำข้อมูลไปใช้ประกอบการรักษาโรคภัยของผู้ป่วยทั้งแบบเคสปกติหรือหายากได้ทันที
7) AI Transparency
สตาร์ทอัพที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานหรือ Algorithm ของ AI ซึ่งกล่าวกันว่าปกติที่เราใช้ AI นี้มันจะเป็นโมเดล Black box ที่เราแทบไม่เข้าใจการทำงานของมันใดๆ เพียงแต่ใส่ข้อมูลลงไป และได้ผลลัพธ์ปลายสุดออกมา การที่เราเข้าใจกระบวนการที่ว่ามานี้ ทำให้มนุษย์สามารถนำ AI ไปต่อยอดในสิ่งใหม่ๆได้หลายอย่าง
DarwinAI
สตาร์ทอัพที่พัฒนา AI ที่เข้าใจที่มาการทำงานของ Neural Network และใช้การเข้าใจนี้ไป Optimize ระบบให้ได้ตรงความต้องการทางธุรกิจหรือด้านเทคนิคัลมากยิ่งขึ้น
Fiddler Labs
สตาร์ทอัพที่พัฒนา AI ที่หาที่มาได้ ในจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยบริษัทในการวิเคราะห์, จัดการ และ Deploy โมเดล Machine Learning
Kyndi
บริษัททำแพลตฟอร์ม AI ที่ใช้ Machine Learning ในการ Automate พวก ระบบ Regulated Business Processes และระบบ Auditable AI systems สำหรับธุรกิจกลุ่ม Government, Financial Services และ Healthcare
8) Speed-of-light chips
Optical chips ยุคใหม่ที่ทั้งเร็วกว่าและทรงคุณภาพมากกว่า โดยใช้หลักการวิ่งของประจุ Photon แทนที่วิธีการเดิมๆที่ใช้ประจุ Electron ในการทำงาน
Ayar Labs
บริษัทที่พัฒนา Silicon Chip โดยการฝัง Fiber Opticลงไป ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพนั้นทั้งเร็วกว่าและกินพลังงานน้อยกว่า
Lightmatter
บริษัททำชิพสำหรับการใช้งานด้าน AI โดยเฉพาะ ด้วยเทคโนโลยีของบริษัททำให้สามารถประมวลผลได้เร็ว และการ Training ก็ทำได้เร็ว
Luminous Computing
สตาร์ทอัพที่ทำ Photonic Chip เพื่อให้รองการทำงานหนักหนาสาหัสของ AI
9) Quantum Cryptography
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้หลักการเข้ารหัสข้อมูลใหม่จากเดิมที่เป็นแบบ Binary หรืออื่นๆ ให้กลายเป็นแบบ Quantum ซึ่งมีความซับซ้อนและปลอดภัยกว่า ปลอดภัยอย่างไร คือ ปลอดภัยแบบใช้ความซับซ้อนที่ใช้หลักการคณิตศาสตร์ปกติแทบเข้าใจไม่ได้เลย เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งหลักการใช้ Quantum เขากล่าวกันว่าเป็นหลักการของโลกอนาคตอย่างแท้จริง
Crypto Quantique
บริษัทที่พัฒนาระบบด้าน Quantum Cybersecurity ทั้งที่เป็นแบบ Hardware และ Software โดยมีการผสานใช้เทคโนโลยี Quantum กับเทคโนโลยีเข้ารหัสเดิมอย่างลงตัว
ISARA
บริษัทด้าน Cybersecurity ที่เชียวชาญในการทำ Solution เกี่ยวกับ Quantum ในระดับองค์กร
SpeQtral
สตาร์ทอัพที่ทำเครือข่ายคมนาคมบนอวกาศ โดยการใช้ดาวเทียมยิ่งสัญญานการเข้ารหัส Quantum เพื่อปกป้องข้อมูลการสื่อสารให้มีความปลอดภัยจริง
10) Sustainable Shippers
เนื่องจากในปัจจุบันต้นทุนการขนส่งมีการเพิ่มขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ สตาร์ทอัพใหม่ๆจึงมีการหา Solution เพื่อช่วยในการลดต้นทุน หรือหาทางเลือกการขนส่งใหม่ๆ เช่น การใช้ Drone, การใช้ระบบขนส่งแบบ Automate หรือ การใช้ ฺBig Data มาช่วยเรื่องต้นต้นทุน
Einride
บริษัทที่ทำเครื่องส่งสินค้าไฟฟ้าควบคุมแบบอัตโนมัติ (Self-driving Electric Shipping Vehicle) แบบแยกส่วน ซึ่งสามารถประกอบได้ตามต้องการ
Nautilus Labs
บริษัททำด้าน Big Data สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลขนส่งเพื่อใช้ในการลดต้นทุนของพลังงานทีใช้ในเครื่องยนต์และเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่ง
Sabrewing Aircraft
บริษัททำที่รับส่ง Drone ขนส่งสินค้า
11) Carbon Capturers
สตาร์ทอัพที่ทำการกำจัดและรีไซเคิลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ ที่เป็นภัยโลกร้อนของเราในปัจจุบัน
Carbon Engineering
บริษัทที่ทำเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะ
Kiverdi
บริษัทที่ทำ Bioreactor ในการเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็น โปรตีน, น้ำมันคุณภาพสูง, สารอาหาร และสารชีวภาพต่างๆที่นำไปใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมหรือบริโภคต่อได้
Opus 12
สตาร์ทอัพที่ทำเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และใช้น้ำกับไฟฟ้าในการรีไซเคิลมันให้กลายเป็นสารเคมีและพลังงานต่างๆเพื่อไปใช้งานต่อ
12) Next-gen Nuclear Energy
เทคโนโลยีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ใหม่ที่ส่งผลต่อส่งแวดล้อมน้อยกว่า ซึ่งในปัจจุบันก็รู้อยู่ว่าการใช้พลังงานนิวเคลียเป็นข้อกังหาทำให้เกิดภัยอันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะส่งผลต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม โดยหลักคือเปลี่ยนไปใช้เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้เกลือหลอมเหลวแทน (Molten Salt) หรือ เปลี่ยนไปใช้หลักการ Fusion แทนที่จะเป็น Fission ในการสร้างหลังงาน ซึ่งผลของมันคือทำให้เกิดพลังงานคาร์บอนน้อยกว่า และปลอดภัยกว่าวิธีปกติ
Commonwealth Fusion Systems
สตาร์ทอัพที่เน้นพัฒนาการใช้พลังงาน Fusion โดยการใช้ Superconductor แบบใช้แม้เหล็กอุณหภูมิสูง เพื่อสร้างโรงพลังงานนิวเคลียร์ที่เล็กและต้นทุนต่ำ
NuScale Power
บริษัทที่พัฒนาโรงงานพลังงาน Fission นิวเคลียร์แนวใหม่ที่เล็กกว่า โดยการใช้เทคโนโลยีเตาหลอม Pressurized Water (PWR)
Terrestrial Energy
บริษัทที่ทำเทคโนโลลีเตาหลอมนิวเคลียร์โดยการใช้เกลือหลอมเหลว (Molten Salt)
สรุปส่งท้าย
จบไปแล้วนะครับ กับเทรน Startup ปี 2020 นี้ ก็ตามที่กล่าวมากว่าครึ่งเป็นเกี่ยวกับ Health Tech และใน 36 Startup ลึกๆก็จะเกี่ยวข้องกับ AI หมดเลยไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม แล้วก็หลังๆก็มีการทำเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เทคโนโลยีเหล่านี้สื่อให้เห็นอะไร มันชี้ให้เห็นว่าเทรนของมนุษย์ตอนนี้เน้นไปในการตอบสนอง Specific Need มากกว่า Basic Need ถ้าเปรียบเทียบกับสามเหลี่ยมมาสโลว์ก็เหมือนกับความต้องการของมนุษย์กำลังก้าวไปสู่อีกระดับ เพราะ ความต้องการพื้นฐานเทคโนโลยีในอดีตล้วนตอบสนองหมดแล้ว สิ่งที่มนุษย์ต้องการในปัจจุบันและในอนาคต คือ การต้องการ Add Value หรือต่อยอดสิ่งที่มี ให้ตอบสนองความต้องการของแต่ละคน ดังนั้นคนรู้ลึกในยุคนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแน่นอนครับ และสำหรับคนรู้กว้างอาจจะต้องปรับตัวมาให้อยู่สายรู้ลึกเพิ่มสักหน่อย ซึ่งในประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคคลาการด้านนี้เป็นอย่างมากครับ เพราะ เรามักเป็นผู้ตาม และไม่มีอะไรสนับสนุนให้เราพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตนเองให้เป็นผู้รู้ลึกมากนัก ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจประเทศไทยเราก็เป็นผู้นำด้านการแพทย์และมีงานวิจัยการแพทย์ออกมามากมาย แต่ดันไม่มีใครทำ Health Tech ออกมาดังๆระดับโลกได้ซะนี่ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสักวันเราจะ Startup ใหม่ๆ ที่ทำ Deep Tech โดนๆ และกลายเป็นผู้นำโลกอย่างแท้จริงครับ
ใครอยากได้ Dataset ที่ผมใช้ในบทความผมก็แปะลิงค์มาให้ครับ เผื่อใครอยากเอาไปใช้ประโยชน์
ข้อมูล Dataset
แหล่งอ้างอิง
https://www.cbinsights.com/research/report/game-changing-startups-2020/