หัวข้อที่ผมจะมาเขียนนี้ก็เกิดจากการที่ช่วงเดือน ธ.ค. 62 ผมได้เข้าไปอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับ 5G จากงาน Workshop ที่ทางค่ายโอเปอเรเตอร์ในไทยจัดสำหรับคณะอาจารย์และผู้ที่สนใจครับ ซึ่งบทความนี้ก็จะเล่าเกี่ยวกับพื้นฐาน 5G ง่ายๆ และการนำไปใช้ในเคสจริงว่าสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง เป็นอย่างไร เชิญติดตามต่อได้เลยครับ!!
“ เร็วขึ้น แรงขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ”
5G คืออะไรแบบง่ายๆ
5G คือ เทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารแบบใหม่ ซึ่งมีความเร็วกว่า 4G หรือ LTE ถึง 10 เท่า ก่อนหน้านี้มีเทคโนโลยี 3G ที่เป็นจุดเปลี่ยนทำให้เกิดคำว่า “Mobile First” ซึ่งเขาว่ากันว่า คำว่า 5G นี้ จะเป็นตัวปรับโฉมทำให้เกิดคำว่า “IOT First” ครับ
5G Key Characteristics
จุดเด่นของ 5G ถ้าสรุปให้ง่ายๆเปรียบเทียบกับ 4G นะครับ ก็คือ เร็วขึ้น หน่วงน้อยลง และใช้ได้ใกลกว่า หรือกระทั่งสามารถใช้ในที่มีความเร็วสูงอย่างบนรถไฟฟ้าชินคันเซนได้ ซึ่งนับว่าอัพเกรดมาจาก 4G อย่างมาก โดยพวกคุณลักษณะต่างๆที่เป็นตัวเลขประมานดังนี้ครับ
- Peak Data Rate 20/10 Gbps (Download/Upload)
- User Experience Data Rate 100/50 Mbps (Download/Upload)
- User Plan Latency 1–4 Millisecond (ms)
- Connection Desnisity 1 Million Device/km2
- Mobile Station Speed 0–500 (km/hr)
5G Sevices
แล้วพอเร็วขึ้นแล้วมีประโยชน์อย่างไร บางคนก็คงคิดว่า 4G ก็เร็วเพียงพออยู่แล้ว การมาครั้งนี้ก็คงไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมาก… ก็คงต้องยอมรับครับว่าคงไม่ขนาดพลิกโฉมเหมือนตอนยุค 3G เมื่อมองในมุมของ Mobile ครับ แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนจริงๆ จะเป็นเรื่องของ IOT มากกว่า โดยผลกระทบของ 5G ที่ทาง International Telecommunication Union กล่าวไว้หลักๆจะมีผลต่อ 3 ปัจจัย ได้แก่
- Enhanced Mobile Broadband (eMBB) : พวกนี้หลักๆหมายถึงการใช้ Smart Phone ของเราครับ โดยสิ่งที่คาดว่าจะกระทบที่สุด คือ การอัพโหลด/ดาวน์โหลด พวกรูปและวีดีโอที่ได้ไวขึ้นกว่าเดิม 10 เท่า ซึ่งในอนาคตพวกแอป Social Media เราอาจจะได้เห็น Content ที่เป็นการ Live VDO ที่ถี่ยิ่งขึ้น หรืออุปกรณ์พวก Google Glass ที่อาจมาลงตลาดอย่างจริงๆจังๆ เนื่องจากเราสามารถเล่นพวก VDO และ AR ได้ง่ายมากขึ้นครับ
- Ultra-realiable and Low Latency Communications (URLLC/Critical IoT) : พวกนี้หมายถึงอุปกรณ์ IoT ที่ต้องใช้การตอบสนองอย่างฉับไวแบบ Real time ครับ เช่น Self Driving Car หรือ Industrial Automation รูปแบบใหม่ๆ เนื่องด้วยความเร็วของ 5G ที่อัพเกรดขึ้น จะยิ่งทำให้พวกนี้เสถียรมากยิ่งขึ้นครับ แล้วเสถียรแล้วมันดีอย่างไง ยกตัวอย่างเช่น “Self Driving Car” พริบตาที่เกิดอุบัติเหตุ แม้เพียงเสียววินาที ถ้าตอบสนองช้าเกิดอะไรขึ้นครับ ใช่ครับ ก็อาจถึงแก่ชีวิตของคนขับ ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆก็สามารถดูได้จาก VDO ที่ทาง Nokia เทสด้านล่างนี้ โดยจะเห็นได้ว่าแขนกลที่ใช้ 5G ในการทำบาลานซ์ถาดลูกบอล สามารถทำได้เร็วกว่า 4G มาก
- Massive Machine Type Communications (MMTC/MIoT) : พวกนี้ก็จะเป็น IoT ที่ไม่ได้ต้องการความ Real Time และความแม่นยำ ขนาด Critical IoT แต่อาจเป็นพวกอัพเดทข้อมูลแบบรายวัน หรือเป็นช่วงๆครับ เช่น Smart Farm และ Smart City เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่เน้นจะเป็นเรื่องการเชื่อมต่อแบบวงกว้าง ด้วย 5G การเชื่อมพวก Cloud หรือส่วนที่เป็นแม่ข่าย กับ IoT Devices หลายๆชิ้น ก็จะทำได้ดียิ่งขึ้นครับ
5G Use Case
การผ่าตัดทางใกล
การขับรถทางใกล แบบไม่ต้องอยู่ในรถเอง
การใช้ AR และ VR สตรีมมิ่งผ่านมือถือ
กล่องกระจายสัญญา 5G
5G Trend
จากที่กล่าวมาเหมือน 5G จะเพอร์เฟค และดีกว่า 4G ซะไปทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริง 5G ก็ยังมีข้อด้อยอยู่ครับ เนื่องด้วยที่ 5G เป็นคลื่นที่มีความถี่สูง เป็นผลให้ระยะทางในการส่งสัญญาต่ำกว่า 4G ดังนั้นพวกการตั้งเสาสัญญาเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคต้องใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยครับ
นอกจากนี้ถ้าดูจากกราฟด้านล่างที่พยากรณ์การใช้เทคโนโลยี 5G ระดับโลกในอีก 6 ปีข้างหน้า จะเห็นได้ว่ามีค่าต่ำมาก เพียงแค่ 15% เท่านั้น เทียบกับ 4G ที่พร้อมขยายต่อไปจนถึง 59% เนื่องด้วยที่ 4G เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วที่ค่อนข้างเพียงพอต่อการใช้ทั่วไปอยู่แล้ว และ 5G อาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นต่อการอัพเกรดในการใช้ทั่วไปมากนัก ส่วนมากจะเป็นในภาคธุรกิจที่ต้องการความสามารถของ 5G นี้ ดังนั้นตัวเลขจึงไม่หวือหวามากเท่าไร ซึ่งตัวเลขของ 5G จะกระโดดจริงๆก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้สร้างเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตคนได้แบบการเข้ามาของ Smart Phone ได้
ส่วนเทรนในไทยนะครับ จากข้อมูลในงานสัมมนา คาดว่าการประมูลคลื่น 5G ความถี่ 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz อาจล่าช้าไปจนถึง Q2 ได้ จากเดิมที่ตั้งการประมูลไว้ช่วงกลางเดือน ก.พ. เนื่องด้วยไม่ความพร้อมด้าน Facilities เพื่อใช้มารองรับ 5G รวมถึงข้อตกลงที่ยังไม่ลงตัวต่างๆ แต่ก็อย่าเพิ่งฟันธงครับ ต้องรอดูข่าวเดือนหน้าว่าจะเป็นอย่างไร
ซึ่งในความเป็นจริง Facilities ในการรองรับ 5G ในไทยก็ยังไม่พร้อมใช้งาน 100% จริงๆ โดยในช่วงแรกๆการใช้งาน 5G อาจจะมีการผสมระหว่างเครือข่าย 4G และ 5G ซึ่งสัดส่วนของการใช้ 5G จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตาม Facilities ที่พัฒนาตามขึ้นมา โดยในงานกล่าวไว้คาดว่าจะเสร็จสิ้นแบบ 100% จริงๆในอีก 2 ปีข้างหน้า
สรุปส่งท้าย
การเข้ามา 5G ครั้งนี้ อาจไม่ได้เข้ามาพลิกโฉมประเทศไทยในภาคครัวเรือนครั้งใหญ่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี และ Facilities ที่รองรับ แต่ถ้ามองในภาพธุรกิจ ก็ถือเป็นโอกาสอันดีของผู้ประกอบการ ในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งอาจไม่เฉพาะในกลุ่ม IOT แต่อาจต่อยอดไปถึงเรื่อง Big Data หรืออื่นๆ ใน Digital Ecosystemได้ ดังนั้น 5G จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและไม่ควรเพิกเฉยครับ