ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาผมเชื่อว่าหลายคนคงได้ยินคำศัพท์พวก คาร์บอนเครดิต, Sustainability, ESG และอื่นๆเกี่ยวกับการลดโลกร้อนมากมายจนหนาหู ว่าจะเป็นเทรนด์คลื่นยักษ์ลูกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่ก็ยังคงไม่รู้ว่ามันคืออะไร จนหลายคนบอกว่าถ้าเรายังไม่รู้จักคำศัพท์พวกนี้ เราอาจจะตกขบวนในโอกาสทางธุรกิจอันสำคัญก็เป็นได้ ซึ่งเร็วๆนี้ผมเพิ่งได้มีโอกาสคุยกับคนที่เล่าถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจ ESG และ Carbon Credits โดยพอได้คุยแล้วรู้สึกตื่นเต้นมาก เลยกลับไปศึกษาหาความจริงว่าธุรกิจกลุ่ม ESG มันน่าสนใจอย่างที่เขาเล่าจริงไหม ซึ่งผมก็จะมาแชร์ในตอนนี้ครับ ใครพร้อมแล้ว ก็สามารถติดตามกันต่อได้เลย😄
“กลุ่มธุรกิจสีเขียว ที่ทำโอกาสให้พอร์ตเป็นสีเขียว”
กลุ่มธุรกิจ ESG ทำอะไร..?
ESG คือ กรอบแนวคิดที่บริษัทใช้เพื่อพัฒนาตัวเองให้มีความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งย่อมาจาก Environment, Social, และ Governance รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีความโปร่งใสตรวจสอบได้
ปัจจุบันในระดับโลกรวมถึงประเทศไทย ได้มีการใช้ดัชนีความยั่งยืน (Sustainability Index) ใช้ในการเป็นภาพลักษณ์ และดึงเม็ดเงินเข้ามาลงทุน โดยตัวสำคัญที่ตัดกันส่วนใหญ่จะเป็นตัว Environment หรือเรื่องของสิ่งแวดล้อม ที่เมื่อไรบริษัทเป็นบริษัทรักษ์โลกสีเขียว ก็จะถูกจัดอันดับว่ามี Sustainability Index ดี และก็จะมีคนอยากมาทำธุรกิจด้วย และมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาเยอะ ในทางตรงกันข้ามถ้าบริษัท หรือธุรกิจใดทำร้ายสิ่งแวดล้อม ยิ่งเป็นเรื่องโลกร้อน ก็จะถูกตราหน้า ทำให้โอกาสการแข่งขันลดลง รวมถึงอาจโดน Penalty จ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม เช่น Carbon Tax ซึ่งปัจจุบันเทรนด์โลกกำลังเดินไปแบบนั้น และจะยิ่งจริงจังขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยเหตุนี้ จึงมีกลุ่มธุรกิจ ESG เกิดขึ้นที่เห็นช่องว่างและโอกาส เป็น Enabler สร้าง Solution มาช่วยบริษัทให้เขาถึงเรื่องรักษ์โลก เป็นอย่างยิ่งโอกาสในเรื่องของ Carbon Credit ที่เป็นสิ่งชี้วัดที่ทั้งโลกตกลงสร้างกันขึ้นมาเพื่อใช้ในการช่วยลดโลกร้อน ซึ่งสามารถซื้อขายได้ในปัจจุบันอารมณ์แบบหุ้นหรือ Cryptocurrency เลย
Carbon Credit คืออะไร..?
อธิบายเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ถ้า Carbon Footprint คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ต่างธุรกิจปล่อยออกมา เหมือนเป็นบาปทำร้ายโลก ในทางตรงกันข้าม Carbon Credit คือ “แต้มบุญ” ที่บริษัทเอามาใช้เป็นแต้มชดเชยกับ Carbon Footprint ที่ปล่อยทำร้ายโลกไป ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้เพิ่ม, การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด, การหยุดพฤติกรรมสร้างมลพิษ หรืออื่นๆ ซึ่งบางคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวที่สำคัญกับเฉพาะธุรกิจกลุ่มโรงงาน และพลังงานเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทุกภาคส่วน เพราะ ทุกธุรกิจต่างก็สามารถเทิน Carbon Credit มาได้เหมือนกัน ด้วยการลด Activity ที่ปล่อย Carbon Footprint แบบไม่รู้ตัว เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟเป็นแบบรักษ์โลก, การแยกขยะ, การให้พนักงานเปลี่ยนมาใช้เป็นรถ EV เป็นต้น
ตอนนี้หลายๆประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่ม EU มีการบังคับให้แต่ละธุรกิจปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ได้ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนด ซึ่งแน่นอนว่าถ้าธุรกิจนั้นลดได้ไม่ถึงเกณฑ์ ก็ต้องไปหาซื้อ Carbon Credit มาแทนที่จะต้องจ่ายค่าปรับที่แพงหูฉี่ เมืองไทยก็เช่นกันถ้าจะส่งออกสินค้าไป EU ในปี 2026 ถ้ามีการผลิตก๊าซเรือนกระจกเกินก็ต้องจ่ายค่าปรับ ด้วยเหตุนี้จึงมีกระดานเทรด Carbon Credit ขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นระดับบริษัท ระดับบุคคลก็สามารถเข้าไปซื้อเก็งกำไรได้ แต่พวกสภาพ Liquidity ยังไม่มากเท่าที่ควร ก็ต้องรอดูต่อกันไป โดยถามว่าราคาขึ้นมาเท่าไร ก็ EU ETS หรือราคา Carbon Credit/Ton ของ EU 5 ปีจากเดือน July 2020 มา July 2024 ขึ้นมาจากราคา €27 ไป €68 มากถึง 1.5 เท่า หรือเฉลี่ยประมาณ 30% ต่อปี
Carbon Credit จะมาไหมในประเทศไทย..?
หลายคนคงมีคำถามว่าปัจจุบันประเทศไทยในเรื่องรักษ์โลกอยู่ในระดับไหน ก็มีงานวิจัยที่กล่าวว่าประเทศไทยได้เป็นอันดับ 9 ของโลกในเรื่องของการได้รับความความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มากที่สุด และเป็นอันดับที่ 26 ความสามารถในการจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งถ้าดูอันดับจากงานวิจัยก็แปลว่าในอดีตประเทศไทยก็ไม่ได้มีการจัดก๊าซเรือนกระจกที่ดีมากนัก
ส่วนนโยบาย Roadmap ของอนาคต ไทยตั้งเป้าได้ค่อนข้างดี ในปี 2030 ไทยตั้งเป้าว่าจะลด Carbon Footprint ให้ได้ 30-40% เพิ่มจากเป้าเดิมอยู่ที่ 20–25% ส่วนในปี 2050 ต้องเข้าสู่สภาวะ Carbon Neutrality และปี 2065 เป็น Net Zero ตามลำดับ การตั้งเป้าสูงเป็นเรื่องดี แต่ถึงยังไรก็ตามนโยบายแผนย่อยที่ทำให้ไปถึงเป้านั้นก็ยังไม่มีประกาศออกมาอย่างเป็นรูปธรรม และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เคยมีประกาศว่าประเทศไทย Achieve ลด Carbon Footprint ได้ถึง 20% เลย เทียบกับของ EU ที่ลดได้ถึง 32.5% ไปแล้วตั้งแต่ปี 2022 ด้วยมาตรการที่เข้มงวด นี่ก็เป็นคำถามว่าการตั้งเป้านี้เป็นเพียงแค่เรื่องของประชานิยมหรือไม่
Challenge ในประเทศไทย คือ ยังไม่มีแผนการดำเนินการหรือบังคับใช้เรื่องลดก๊าซเรือนกระจกให้บริษัทต่างๆหรือประชาชนทำตามอย่างจริงจัง ซึ่งมันมีผลเป็นลูกโซ่ไปถึงโอกาสการทำธุรกิจของกลุ่ม ESG ในเมื่อรัฐบาลไม่บังคับ ตลาดก็ไม่มี Demand บริษัทเล็กๆน้อยไม่จำเป็นต้องทำตามในเรื่อง ESG หรือจะมาซื้อ Tool ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มมาวัดเรื่อง Carbon Credit ให้เปลือง รวมถึงมาตรฐานการวัด Carbon Credit ของเมืองไทยที่เป็นแบบ T-VER ที่วัดโดยมาตรฐานไทยเอง ไม่ใช่มาตรวัดแบบ Global ก็เป็น Barrier อีกอันที่ทำให้ Scale ยาก และทำให้ราคา Carbon Credit ไทยไม่ไปไหน (ของ EU ราคา 2,800 THB ส่วนไทย 130 THB) ระบบการสมัครก็เข้าถึงยาก คนที่เป็น Validator/ Verifier ก็น้อย (Audit คนประเมินเรื่อง Carbon Credit) ซึ่งปัจจุบันผมก็กำลังเทสเรื่องเทรด Carbon Credit ไทยอยู่ ถ้าว่างๆเดี๋ยวมาแชร์ใน EP ต่อๆไปครับ
ด้วยสถานการณ์ของไทยจากที่กล่าวมาดูเหมือนจะไม่ค่อยเหมาะกับการทำธุรกิจกลุ่มธุรกิจ ESG มากนัก แต่ถ้ามองกลับกัน ด้วยเทรนด์โลกตอนนี้ที่มันจะมาแน่นอนในอนาคต ซึ่ง Stage ของไทยในการทำเรื่องนี้มันอยู่ช่วง Early มาก มันก็ถือเป็นโอกาสการทำธุรกิจแบบ Now or Never ที่ถ้ามาก็เกิดเลย หรือถ้าไม่มาก็ตายไป ใครจะไปรู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ดีไม่ดีเดือนหน้าเมืองไทยหรือทั้งโลกอยู่ดีๆก็อาจออกนโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อมบังคับให้ธุรกิจเหล่านี้เกิดเลยก็ได้ ก็เหมือนในเคส Study ของ Bitcoin ที่ Value จริงๆมันไม่มีอะไรเลย แต่เมื่อไรที่คนให้ความสำคัญมันและมี Demand มูลค่าของมันก็ขึ้นมาอย่างมหาศาล
หรือถ้าเป็น Worst Case จริงๆ นโยบายของไทยไม่เกิดตามเทรนด์โลก กลุ่มที่เป็น Target หลักของกลุ่มธุรกิจ ESG ก่อนเลย คือ กลุ่มโรงงานที่ปล่อยมลพิษ โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำการส่งออกสินค้าให้ประเทศ EU และกลุ่มบริษัทระดับ Corporate ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG
คำศัพท์ที่ควรรู้ในวงการ
- GHG (Greenhouse Gas) >> ก๊าซเรือนกระจก เป็นอย่างยิงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)
- REC (Renewable Energy Certificate) >> หน่วยเครดิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนที่ใช้ซื้อขายกัน
- Carbon Footprint >> ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา
- Carbon Credit >> คือแต้มบุญที่บริษัทเข้าร่วมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถเอาไปใช้ลดค่าธรรมเนียม Carbon Footprint ที่บริษัทต้องจ่ายเกิน หรือเอาไปใช้ซื้อขายได้ ปกติคิดราคาหน่วยเป็นตัน
- Carbon Neutrality >> ภาวะที่บริษัท โรงงาน หรือประเทศ มี Carbon Footprint กับ Carbon Credit หักลบกลบกันเหลือศูนย์ โดยประเทศไทยตั้งเป้าไว้ปี 2050
- Net Zero >> ภาวะที่บริษัท โรงงาน หรือประเทศ ไม่ได้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย โดยประเทศไทยตั้งเป้าไว้ปี 2065
- พรบ. โลกร้อน (Climate Change) >> มาตรการของไทยในเรื่องจัดการสภาพอากาศที่จะมีผลโดยตรงกับเรื่องพวกนี้
- IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) >> คณะกรรมระดับโลก ที่ตั้งมาตรฐานและกฏเรื่องโลกร้อน โดยมีการตั้งการประชุม (COP) ทุกๆ 5 ปี
- UNFCCC >> กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติเรื่องโลกร้อนที่สำคัญของโลกที่ตกลงในการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจก
- Kyto Protocol (พิธีสารเกียวโต) >> ข้อตกลงระดับโลกที่ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง
- Paris Agreement >> ข้อตกลงระดับโลกที่ไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5–2 องศา
- CDM (Clean Development Mechanism) >> กลไลในการลดก๊าซเรือนกระจก
- อบก. (TGO) >> องค์กรไทยที่ดูเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะ และเอาไว้ดูเรื่องเทรด Carbon Credit
- VVB (Validation & Verification Body) >> ผู้ประเมิน Carbon Footprint สำหรับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ Carbon Credit โดยแบ่งออกเป็น Validator (ประเมินตอนเข้าโครงการ) และ Verifier (ประเมินตรวจสอบผลลัพธ์)
- T-VER >> โครงการลดก๊าซเรือนกระจกไทย ที่ให้บริษัทเข้าร่วมสามารถได้รับการประเมินเรื่อง Carbon Footprint เพื่อให้มี Carbon Credit ได้
- FTIX >> แพลตฟอร์มเทรด Carbon Credit ไทย สำหรับตลาดรอง ซึ่งถ้าไม่เทรดในนี้ก็สามารถไปซื้อตรงแบบ OTC (Over the Counter) ได้
- Voluntary Market >> ตลาดซื้อขาย Carbon Credit แบบสมัครใจ ซึ่งตอนนี้ในไทยเป็นแบบนี้หมด
- Compliance Market >> ตลาดซื้อขาย Carbon Credit แบบภาคบังคับ ตอนนี้ที่ไทยไม่มี จะเจอเยอะๆที่ยุโรป
- ETS (Emissions Trading System) >> คำเรียก Carbon Credit ในตลาด Compliance Market ของ EU และ จีน
- The European Union Emissions Trading System >> Compliance Market ของ EU
- The Chinese Emissions Trading System >> Compliance Market ของ จีน
- The California Global Warming Solutions Act >>Compliance Market ของ USA
- CBAM (Carbon Border Adjustment) >> มาตรการที่โดนปรับราคาในเรื่องก๊าซเรือนกระจก เมื่อทำการส่งออกไป EU
- Carbon Tax >> ภาษีก๊าซเรือนกระจก
ส่องธุรกิจที่ต่างประเทศทำในกลุ่ม ESG
จากที่เอาธุรกิจที่คัดมาจาก CBInsights ในภาพ ESG Market Map มาดู พบว่ามีสัดส่วนธุรกิจจากกลุ่ม EU กับ US ค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่เข้มข้นของภาครัฐในเรื่องของ ESG ที่ทำให้มีธุรกิจในประเทศเหล่านี้มีช่องว่างให้เข้ามาเล่นได้มาก
ส่วนถ้าวัดในเรื่องการเติบโตของธุรกิจพบว่าธุรกิจในกลุ่ม ESG ยังถือว่ามีการเติบโตไม่ดีนัก เพราะ ในกระดานมี Unicorn เพียงแค่ 1 ตัว (Xpansiv) และมีสัดส่วนของธุรกิจที่มีอายุมากกว่า 5 ปีแต่มีเม็ดเงินลงทุนได้แค่ระดับ Seed ค่อนข้างสูง เทียบกับ Startup ยุคใหม่ที่ทำเรื่อง AI กับ Blockchain ที่ปี 2 ปีก็ขึ้นไปสู่ระดับ Unicorn แล้ว
ถ้าจะเป็นกลุ่มที่เป็น Unicorn เยอะจะเป็นกลุ่มใกล้เคียงแบบ Climate Tech เลย ที่จะเป็น Startup ทำพวกแบตเตอรี่, รถ EV, พลังงานสะอาด, Smart Farming ตามลิงก์ด้านล่าง
https://www.holoniq.com/climatetech-unicorns?71d317c6_page=1
ซึ่งอาจจะ Imply ได้ว่า ณ เวลานี้อาจจะไม่ค่อยเหมาะในการทำธุรกิจกลุ่ม ESG สักเท่าไร ไปทำธุรกิจอื่นดีกว่าถ้าเรามองในเรื่องการเติบโต ยิ่งประเทศไทยที่ปกติมีการเติบโตตามหลัง EU กับ US 5 ปี ข้อมูลนี้ก็ค่อนข้าง Reflect ในการประกอบการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจกลุ่ม ESG วันนี้ในประเทศไทย
แต่ถ้าเราคงยังสนใจจะเริ่มต้นธุรกิจกลุ่ม ESG อิงจากข้อมูลของ CBInsights จะมีประมาน 3 กลุ่มที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงเพราะมีการเติบโตที่ไม่ดีเท่าไร นั่นคือ กลุ่ม Customer Carbon Footing, Sustainable Investing & Crowdfunding และ Sustainable Banking
- Customer Carbon Footing >> ธุรกิจที่ Provide Solution API/White Label ให้กลุ่ม Bank หรือธุรกิจ ให้คนใช้แอปสามารถเห็นพฤติกรรมการใช้ Carbon Footprint ได้ เช่น Carbon Zero ทำ Solution ให้คนเห็นทุกครั้งที่รูด Debit Card ว่ามีการสร้าง Carbon Footing ทำร้ายโลกมากเท่าไร
- Sustainable Investing & Crowdfunding >> ธุรกิจที่นำเงินลงทุนของตัวเองไปลงทุน หรือทำแพลตฟอร์มระดมทุนแบบ Crowdfunding ในโครงการรักษ์โลก เช่น Unergy
- Sustainable Banking >> ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่ออก Product ทางการเงินที่มุ่งเน้นเรื่องรักษ์โลกโดยเฉพาะ เช่น TreeCard ทำ Debit Card ที่เมื่อรูดบัตรซื้อของที่รักษ์โลก หรือเดินแล้วมีจำนวนก้าวทดแทนการนั่งรถ จะได้ Point มาแลกของ
ส่วนธุรกิจที่เหลือก็พอมีอัตราการเติบโตที่พอใช้ได้
- ESG Data, Analytics & Rating >> ธุรกิจที่ทำแพลตฟอร์มรวบรวม ESG Data ของบริษัทต่างๆ และมาสร้าง Rating เพื่อใช้ในการวางแผนดีลทางธุรกิจ หรือทำการลงทุน เช่น ESG Book
- Portfolio Carbon Footprinting >> ธุรกิจที่ทำแพลตฟอร์มรวบรวม Carbon Emission Data ของบริษัทต่างๆ เช่น Kayrros
- Corporate ESG Reporting & Monitoring >> ธุรกิจที่ทำระบบในเรื่องของรายงาน ESG ของบริษัทโดยเฉพาะ เช่น Diginex
- Carbon Managment & Accounting >> ธุรกิจที่ทำระบบในเรื่องของรายงานและการจัดการ Carbon Footprint และ Carbon Credit โดยเฉพาะ เช่น Net0
- Carbon Credit & Offset Marketplaces >> ธุรกิจที่ทำแพลตฟอร์มเทรด Carbon Credit เช่น Xpansiv
- Climate Risk Analysis >> ธุรกิจที่ใช้ AI ในการพยาการณ์ความเสี่ยงภัยธรรมชาติที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศ เช่น Jupiter Intelligence
แหล่งศึกษาเรื่อง ESG และ Carbon Credit เพิ่มเติม
ถ้าของไทยแนะนำให้เข้าไปศึกษาในเว็บของ อปก. (TGO) ได้เลย หรืออีกที่นึงที่น่าสนใจก็จะเป็น Carbon Markets Club
หรือถ้าอยากใครอ่านแนว Research ไทย สดๆร้อนวันที่ 23 ก.ค. ผมเพิ่งได้ไปฟังงานแถลงข่าว “ผลสำเร็จตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจไทย” ของ TGO ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย แล้วเขาแชร์ไฟล์มาให้ เผื่อใครสนใจครับ
ส่วนถ้าเป็นระดับ Global ผมแนะนำเว็บของ UNFCCC ครับ
สรุปส่งท้าย
ถึงแม้ถ้าเราดูข้อมูลอดีตจากเพื่อนบ้านในการทำธุรกิจ ESG แล้วผลลัพธ์ที่ออกมาดูแล้วไม่ค่อยน่าลงทุนในไทยเท่าไร พร้อมทั้งไทยดันยังมีติดปัญหาเรื่องนโยบายที่จะมาผลักดันทำให้ธุรกิจเหล่านี้โต แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่ข้อสรุปว่าการลงทุนในกลุ่ม ESG ไปจะไม่มีวันไปได้ เพราะ Timing ของอดีต มันไม่ใช่สิ่งที่สามารถตัดสิน Timing ของโอกาสในปัจจุบันหรืออนาคตได้หมด ดังนั้นใครจะไปรู้ว่าวันข้างหน้าโอกาสจะมาเมื่อไร ซึ่งอันนี้ผมก็ตอบให้ไม่ได้ แค่พูดได้ว่า ถ้า Timing มันใช่ และโอกาสมันมา ใครเริ่มก่อนได้เปรียบ ถ้าเทรนด์มันมาแล้ว แต่เราไม่มีของก็เป็นอันการตกขบวนในโอกาสทางธุรกิจ เพราะ Life Cycle ของธุรกิจเดี๋ยวนี้มันสั้นมากเหลือแค่หลักเดือน ก็สุดท้ายนี้ผมขอฝากประโยคนี้ไว้
Now or Never
ถ้าได้ทำอะไรสักอย่างอย่างน้อยก็เท่าทุน แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยสิ่งที่ได้เป็น 0 แน่นอน
สำหรับใครที่ติดตามมาจนจบก็อย่าลืมกด Follow เพื่อรับบทความดีๆแบบนี้อีกนะฮะ หรือถ้าใครมีคำถามเรื่องนี้อะไรเพิ่มเติม ก็ทักมาคุยเล่นกับผมก็ได้ครับ วันนี้ผมก็ขอจบเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ 😊😊