ถ้าพูดถึงธุรกิจ E-commerce ชื่อดังใน US ทุกคนเคยได้ยินคำว่า Wish บ้างไหมครับ..?
รู้ไหมครับว่าเพียงแค่ 7 ปี สตาร์ทอัพม้ามืดตัวนี้สามารถเข้ามาเทียบเคียงกับ Amazon ได้
ด้วยคอนเซปต์ที่ตรงข้ามสุดกู่กับ Amazon ในการเน้น “ราคามากกว่าคุณภาพ” จนในวันนี้ Wish มีมูลค่าทางธุรกิจเกินกว่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไปแล้ว
ในตอนนี้ผมก็จะมาแนะนำให้รู้จักกับธุรกิจนิรนามม้ามืดนี้สักหน่อย รวมถึงการบอกเล่าเรื่องราวที่ทำให้เข้าก้าวมาใกลจนถึงเพียงนี้ สำหรับเพื่อนๆที่สนใจอย่ารอช้า เชิญติดตามต่อได้เลยครับผม 💸 💸
Wish ถูกก่อตั้งขึ้นเริ่มแรกในปี 2010 โดย Peter Szulczewski อดีต Software Engineer ของ Google ในชื่อว่า ContextLogic แต่ภายหลังจากได้รับเงินทุนจาก Yelp (แอปรีวิวชื่อดังเหมือน Wongnai ของไทย) ในเดือน พ.ค. ปี 2011 Peter และเพื่อนของเขา Danny Zhang ได้ร่วมกันเปลี่ยนชื่อธุรกิจกลายเป็น Wish และนั่นเป็นวันเริ่มต้นการเดินอย่างเป็นทางการของพวกเขา
Wish ไม่ได้เป็นธุรกิจ E-commerce รายแรกใน US!! ธุรกิจนี้มีคู่แข่งรายใหญ่หน้าเก่าในตลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Amazon หรือ AliExpress ซึ่งธุรกิจพวกนี้ต่างก็ได้มีการลงทุนเป็นหมื่นๆล้านมาก่อนหน้า การที่จะเปิดธุรกิจใหม่มาแข่งคงได้คงพูดได้ว่ามันเหมือนแค่ฝัน ถ้าเป็นธุรกิจทั่วไปมาเปิดแข่งคงไร้อนาคตแน่นอน แต่สิ่งที่ทำให้ Wish แตกต่าง คือ แนวคิดที่ฉีกไปจากทุกๆ E-commerce แทนที่จะทำเหมือนแบบ Amazon ในการเน้นไปเพิ่มฟีเจอร์หรือเพิ่มพวกคุณภาพบริการการขนส่งที่ธุรกิจในตลาดเขาทำกัน Wish ได้ทำการตีลังกากลับหลังทำสิ่งตรงกันข้ามแทน นั้นคือเน้นขายสินค้า “ราคาถูก” โดยไม่สนอะไรทั้งสิ้น
Wish เป็นแอปช๊อปปิ้งออนไลน์ที่ใช้ Big Data ในการทำ Personalization เพื่อให้ได้สินค้าที่ตรงความต้องการต่อลูกค้าและถูกที่สุด ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ของ Wish เป็นสินค้าที่ไม่มีแบรนด์อย่างพวกสินค้าที่ธุรกิจรายย่อยชอบขายโดยไม่ผ่านตัวกลาง หรือพวกจากโรงงานจีน ซึ่งพวกการดีไซน์ตัวแอปหรือหน้าเว็บก็ดีไซน์ออกมาเรียบๆ ไม่ได้มีความสวยงามอะไร สิ่งที่พิเศษอย่างเดียว คือ ราคา ล้วนๆ
และนี่คือสถิติเพื่อให้เพื่อนๆมั่นใจจริงๆว่าคอนเซปต์แบบนี้ก็เวิร์กได้
- อันดับ #1 แอปช๊อปปิ้งใน 42 ประเทศ
- อันดับ #1 ยอดดาวน์โหลดแอปช๊อปปิ้งทั่วโลกปี 2019
- มูลค่าธุรกิจ 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยยอดขายในปี 2018 กว่า 1.9 พันล้าน
ส่วนนี้คือเว็ปของเขาครับ หรือถ้าอยากเปิดบนแอป เพื่อนๆก็สามารถไปหาโหลดใน App Store หรือ Play Store ได้เลย
และนี่คือบทเรียน 5 ข้อ ที่ทำให้ Wish สำเร็จ
- หาตลาดให้ถูก : Wish สำเร็จเพราะได้ไปเลือกตลาดที่ E-commerce อื่นเขายังไม่ได้แตะกัน ด้วยการไปเจาะตลาดสินค้าราคาถูก ทำให้ Wish มีโอกาสสามารถเติบโตในตลาดใหม่ โดยที่ไม่ต้องไปห้ำหั่นกับจ้าวเก๋าๆมากนัก
- ราคามีผลมาก : แอปของ Wish ดาวน์โหลดฟรี และสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูก เนื่องจากไม่ต้องไปผ่านตัวกลาง มีแบรนด์ หรืออื่นๆ ทำรายได้เน้นจากปริมาณของคนใช้ มากกว่ายอดที่คนซื้อ ถ้า Wish ยังคงขายสินค้าราคาทั่วไปเหมือนจ้าวอื่นๆ ก็คงไม่มีอะไรน่าดึงดูดใจจนสำเร็จเหมือนทุกวันนี้
- พยายามสร้างการกระตุ้นในการซื้อสินค้า : หน้าจอการดีไซน์ในเว็บและแอปมีไว้เพื่อกระตุ้นคนให้ซื้อให้เร็วที่สุดอย่างเดียว เมื่อมีการเข้ามาในเว็บ ตัวเว็บจะแนะนำดีลที่เหมาะสมและถูกที่สุดแก่ลูกค้า ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าเว็บมาเพื่อมาซื้อดีลถูกๆรวดเดียว แทนที่จะมานั่งเลือกสินค้าทีละอัน ด้วยสินค้าที่ถูกและมีความหลากหลาย ถ้าจะให้เปรียบเทียบการเข้ามาซื้อใน Wish ก็เหมือนกับการดู TV Direct ในโลกออนไลน์ ที่ดึงดูดใจ ทำให้คนอยากซื้อเดี๋ยวนั้นทันที
- เรียน เรียน แล้วก็เรียน : ยิ่งเรารู้จักลูกค้ามากขึ้นเท่าไร ยิ่งขายง่าย โดย Wish ได้ทำการเก็บ Data จากพฤติกรรมลูกค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการ Search, ข้อมูลประวัติใน Social Media, ข้อมูลการดูโฆษณา และอื่นๆ รวบรวมมาใช้ในการวิเคราะห์และแนะนำสินค้าที่ลูกค้าคิดว่าจะซื้อ ซึ่งมันเป็นอะไรที่สำคัญมากในโมเดลธุรกิจนี้ เนื่องจากสินค้าราคาถูก การตัดสินใจซื้อเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบของลูกค้าล้วนๆ
- เดินไปในทางของเรา : Wish ได้เข้าตลาดด้วยการที่ขัดกับหลักการของธุรกิจแนวทั่วไปจาก Silicon Valley มากๆ ด้วยความเด็ดเดี่ยว และความเชื่อมั่นในความต้องการของลูกค้า จนสุดท้าย Wish สามารถกลายเป็นผู้นำตลาดได้
เป็นการเดินทางตรงกันข้ามที่ไม่ว่าจะเป็น Amzaon หรือชาว Silicon Valley ยังงง ที่ Wish เน้นแต่ในด้านราคา และการใช้เทคโนโลยีจาก Data ที่เก็บจากลูกค้า จนมีคนเคยกล่าวว่า “สิ่งที่ Peter โฟกัส คือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่ Silicon Valley บอกมาว่าควรทำเช่นนี้”
“Peter focused on building something its customers wanted, not what Silicon Valley thought they should want
แต่เหรียญมี 2 ด้านเสมอ โมเดลธุรกิจของ Wish ก็ไม่ได้เพอร์เฟค ด้วยที่ Wish เน้นแต่ในด้านราคา ไม่ได้เน้นคุณภาพ ทำให้ Wish ก็ต้องพบปัญหาเหมือนกัน เช่น พวกสินค้าปลอมหรือคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ Wish ก็พบการรีวิวเชิงลบจากเว็บรีวิวมากมาย ทั้งในเรื่อง Customer Service, แม่ค้าไม่ส่งของ, สินค้าห่วย หรืออื่นๆ ซึ่ง Peter ก็ไม่ได้หวั่นไหวอะไร โดยเขาได้จ้าง Connie Chang อดีต Community Manager ของ Facebook และเธอก็มาช่วยแก้ปัญหาด้วยการขอความช่วยเหลือจากผู้ใช้ Wish กว่า 10,000 คน ในการคัดกรองพ่อค้าแม่ค้าที่ไร้คุณภาพ ด้วยกับการแลกเปลี่ยนกับส่วนลดและสินค้าฟรี ซึ่งผลลัพธ์ก็ถือว่าออกมาได้อย่างดีเยี่ยม
สรุปส่งท้าย
ทุกตลาดย่อมมีโอกาสในการเข้าเสมอ ขอให้เราเล็งเห็นโอกาส และยอมที่จะแตกต่าง เหมือนกับ Wish ที่สุดท้ายก็สามารถตีตลาด E-commerce สู้กับจ้าวใหญ่ได้ ดังนั้นสำหรับเพื่อนๆที่กำลังคิดหาโอกาสทำอะไรใหม่ๆ ลองพยายามศึกษาหาข้อมูลดีๆครับ ในตลาดไทย ถ้าเทียบกับอเมริกา ยังมีช่องว่างอีกเยอะ ขอให้กล้าคิด และมีความเด็ดเดี่ยวในการกล้าลงมือทำ ผมเชื่อว่าความสำเร็จจะตามมาครับ ขอบคุณครับ